บริการของสถาบันฯ

งานบริการด้านพลังงานก๊าซชีวภาพ

ระบบก๊าซชีวภาพ
ระบบก๊าซชีวภาพ คือ ก๊าซที่ได้มาจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ ภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจนโดยมีจุลินทรีย์หลายชนิดทำ หน้าที่ย่อยสลาย ก๊าซชีวภาพเป็นก๊าซผสมระหว่างก๊าซมีเทน(CH4) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังอาจจะมีก๊าซไนโตรเจน ก๊าซไฮโดรเจน และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ปนอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ก๊าซชีวภาพที่เกิดจากกระบวนการหมักจะมีปริมาณที่แตกต่างกันขึ้น กับวัตถุดิบที่ใช้และสภาวะของกระบวนการหมักด้วย โดยทั่วไปแล้วองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพจะประกอบไปด้วย

กิจการประเภทฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานเกษตรอุตสหกรรม และชุมชนที่มีน้ำเสียและของเสีย รวมถึงขยะอินทรีย์ สามารถนำวัตถุดิบเหล่านี้ มาผลิตเป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบก๊าซชีวภาพ เพื่อช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานของกิจการ อีกทั้งยังช่วยให้เพิ่มประสิทธิภารในการกำจัดน้ำเสียและของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพสำหรับฟาร์มปศุสัตว์
“มูลสัตว์ และน้ำเสียจากกิจกรรมเลี้ยงสัตว์ สามารถนำมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ ด้วยเทคโนโลยี CHANNEL DIGESTER, HYBRID DIGESTER” ก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้สามารถนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ภายในฟาร์ม รวมถึงนำไปเป็นเชื้อเพลิงความร้อนทดแทนก๊าซหุงต้ม”

เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพสำหรับโรงงานเกษตรอุตสาหกรรม
“น้ำเสียจากกระบวนการผลิตในโรงงานเกษตรอุตสาหกรรม เช่น โรงงานน้ำมันปาล์ม โรงงานแปรรูปอาหาร โรงงานกลั่นสุรา โรงงานเอทานอล โรงงานชำแหละและแปรรูปอาหาร โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยี CHANNEL DIGESTER, HYBRID DIGESTER, ABR, UASB” ซึ่งปริมาณก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้เป็นจำนวนมากสามารถนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายในรูปแบบ VSPP หรือนำก๊าซชีวภาพไปปรับปรุงคุณภาพในรูปแบบก๊าซ BIOMETHAN”

เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพสำหรับพืชพลังงาน
“การนำพืชมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อรองรับสภาวะการขาดแคลนพลังงานในอนาคต เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เหมาะสมกับประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นฐานด้านเกษตรกรรม การนำพืชพลังงาน เช่น หญ้าเนเปียร์ อ้อย ปาล์ม ข้าวโพด มันสำปะหลัง มาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ โดยใช้เทคโนโลยี CSTR ที่มีคุณสมบัติสามารถรองรับวัตถุดิบที่เป็นทั้งของแข็งและของเหลวที่มีสารแขวนลอยสูง จะได้พลังงานทดแทนในรูปแบบก๊าซชีวภาพที่สามารถนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายในรูปแบบ VSPP, SPP หรือนำก๊าซชีวภาพไปปรับปรุงคุณภาพในรูปแบบก๊าซ CBG สำหรับยานยนต์”

เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพสำหรับขยะมูลฝอย
“ประเทศไทยมีปริมาณขยะสูงขึ้นต่อเนื่องขึ้นทุกปี ระบบผลิตก๊าซชีวภาพ จะใช้ระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบหมักแห้ง DRY-FERMENTATION ซึ่งระบบก๊าซชีวภาพแบบหมักแห้ง ” นอกจากจะสามารถรองรับขยะอินทรีย์ได้แล้ว ยังสามารถรองขยะมูลฝอยจำพวก ถุงพลาสติก ได้ประมาณ 10%”

Pages:Previous | Next

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่