จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำและสาหร่ายในอ่างแก้ว ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน พบว่าเมื่อพิจารณาคุณภาพน้ำจากการแบ่งประเภทแหล่งน้ำตามมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน อ่างแก้วจัดอยู่ในแหล่งน้ำประเภทที่ 3 สามารถเป็นประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อน และใช้ในการเกษตรได้ แม้ว่าอ่างแก้วจะพบการปรากฏของไซยาโนแบคทีเรีย (cyanobacteria) ที่สร้างสารพิษได้เป็นระยะๆ แต่เมื่อตรวจสอบปริมาณสารพิษไมโครซิสติน (microcystins) ซึ่งสร้างโดยไซยาโนแบคทีเรียดังกล่าว พบว่าน้ำจากอ่างแก้วที่ผ่านระบบการผลิตน้ำประปา ตรวจไม่พบสารพิษไมโครซินติน (not detectable) ซึ่งตามค่ากำหนดขององค์การอนามัยโลกได้ระบุไว้ว่า น้ำดื่มเพื่อการบริโภคควรมีค่าสารพิษไมโครซิสตินไม่เกิน 0.1 ไมโครกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
“เมื่ออ่างแก้วเผชิญกับปรากฏการณ์สาหร่ายเจริญเติบโตเป็นจำนวนมาก”
อ่างแก้วในปัจจุบัน เผชิญกับปรากฏการณ์สาหร่ายเจริญเติบโตเป็นจำนวนมาก ทำให้น้ำอ่างแก้วเปลี่ยนเป็นสีเขียว และส่งผลต่อทัศนียภาพอันสวยงาม การเจริญเติบโตของสาหร่ายจำนวนมากในน้ำอ่างแก้วเกิดจากปริมาณธาตุอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วของแหล่งน้ำ เนื่องจากการรับน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเข้าสู่อ่างแก้ว จนทำให้เกิดสภาวะยูโทรฟิเคชั่น อาจส่งผลให้สัตว์น้ำลอยตายเป็นจำนวนมากจากการขาดออกซิเจน
นอกจากนี้การอพยพย้ายถิ่นของนกแขวก ในช่วงฤดูฝน เพื่อวางไข่และอนุบาลลูกนกเป็นจำนวนมาก และเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ยังอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีธาตุอาหารจากสิ่งขับถ่ายเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในอ่างแก้ว อย่างไรก็ดีการมีประชากรนกแขวกถือเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม ทั้งยังก่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่ประเมินค่ามิได้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและมีเจตนารมณ์ในการอนุรักษ์ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ และต้องการรักษาระบบนิเวศนี้ไว้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำในอ่างแก้ว
หลายๆ คนที่ชอบมาเดินเล่น อ่างแก้วตอนเย็นๆ จะสังเกตเห็น นกขนาดใหญ่บินไปมาเป็นฝูง หลายคน อาจอยากทราบ มันคือนกอะไร ทำไมมาอยู่ตรงนี้ แล้วทำไมใกล้มืดค่ำแล้ว แทนที่จะหลับนอน นกพวกนี้กลับดูกระปรี่กระเปร่า สบายปีก ออกบินกัน ขวักไขว่ ยิ่งใกล้มืด ยิ่งออกมาบินกัน เป็นจำนวนมาก นกนี้คือ นกแขวก หรือ Black-crowned Night Heron ชื่อ แขวก ก็มาจากเสียงร้อง แขวกๆๆ ของมันนั่นเอง
นกแขวกสามารถพบได้ทั่วโลก ยกเว้น ทวีปออสเตรเลีย กับแอนตาร์คติกา นกแขวกเป็นนกกลุ่มนกยาง (heron) ที่วิวัฒนาการ หันมาใช้ชีวิตกลางคืน การออกหากินกลางคืน พวกมันออกไปหากินในพื้นที่ชุมน้ำรอบชานเมืองเชียงใหม่ พอใกล้ฟ้าสาง ก็ชวนพวกมันออกไปหากินในพื้นที่ชุ่มน้ำรอบชานเมืองเชียงใหม่ พอใกล้ฟ้าสาง ก็ชวนกันบินกลับมาพักนอนที่เกาะเล็ก 2 เกาะ กลางอ่างแก้วเมื่อ 10 กว่าปีก่อนนี้ ยังมีจำนวนไม่มาก แต่วันนี้พวกมันชวนกันมารวมฝูงพักนอนที่อ่างแก้วนับพันตัว จนตอนนี้ กิ่งไม้ว่างให้เกาะพัก แทบไม่มีเหลือ ต้องแก่งแย่งกันมาอยู่ร่วมกันมากมายแบบนี้ ปัญหาก็ตามมา มูลนก ทำให้มีแร่ธาตุไนโตรเจนจำนวนมากไหลทะลักลงอ่างแก้ว ทำให้สาหร่ายเซลเดียวเติบโตสะพรั่ง (algae bloom) จนมีผลต่อคุณภาพน้ำ ทาง มช. กำลังเร่งหาทางออก ที่จะป้องกันปัญหานี้ โดยไม่กระทบกับนก เพราะการรวมฝูงนกแขวก นับพันตัว กลางมหาวิทยาลัยนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่น่าภูมิใจ เป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ทั้งในแง่กายภาพและคุณธรรมนกแขวกไว้ใจ และเลือกที่อยู่กับพวกเรา พวกมันหวังมาพึ่งพิงความปลอดภัย เลี้ยงลูก สืบพันธ์ ภายในรั่วมหาวิทยาลัยแห่งนี้
นอกจากสีที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วสาหร่ายปริมาณมากในอ่างแก้วยังส่งกระทบโดยตรงต่อการจัดการน้ำภายในมหาวิทยาลัยเนื่องจากอ่างแก้วเป็นแหล่งน้ำดิบหลักที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาให้กับนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณภาพของแหล่งน้ำดิบที่ด้อยลง (มีปริมาณสารอินทรีย์จากสาหร่ายจำนวนมาก) ทำให้เป็นอันตรายต่อระบบการผลิตน้ำประปา โดยสารอินทรีย์จะสามารถทำปฏิกิริยากับคลอรีนในกระบวนการฆ่าเชื้อโรคเกิดเป็นสารประกอบกลุ่มไตรฮาโลมีเทน (Trihalomethanes, THMs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง การกำจัดสาหร่ายออกจากระบบผลิตน้ำประปาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการควบคุมคุณภาพน้ำประปา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) โดยได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) โดยมียุทธศาสตร์ที่ 1 เชิงรุก : นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศที่สำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน โดยกำหนดเป้าหมายในการเป็นผู้นำการสร้าง การจัดการ สร้างเสริมสมรรถนะและแบ่งปันด้านองค์ความรู้ เทคโนโลยีนวัตกรรมสีเขียวที่ยั่งยืน นำไปสู่การออกแบบ “แผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Smart City-Clean Energy)” โดยหนึ่งในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอีกโจทย์หนึ่ง ก็คือ การลดปริมาณสาหร่ายในอ่างแก้ว
โครงการเพื่อเร่งฟื้นฟูและลดปริมาณสาหร่ายในอ่างแก้ว คืนทัศนียภาพที่สวยงาม และน้ำสะอาดเพื่อนักศึกษา
สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ERDI-CMU), คณะวิทยาศาสตร์ และคณะเกษตรศาสตร์ 3หน่วยงาน กับโครงการ เพื่อลดการเจริญเติบโตของสาหร่ายจำนวนมากในน้ำอ่างแก้ว
การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน
การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน