"องค์กรผู้นำด้านก๊าซเรือนกระจก

โครงการติดตามดูแลสิ่งแวดล้อม

อ่างแก้ว มช.

    จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำและสาหร่ายในอ่างแก้ว ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน พบว่าเมื่อพิจารณาคุณภาพน้ำจากการแบ่งประเภทแหล่งน้ำตามมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน อ่างแก้วจัดอยู่ในแหล่งน้ำประเภทที่ 3 สามารถเป็นประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อน และใช้ในการเกษตรได้ แม้ว่าอ่างแก้วจะพบการปรากฏของไซยาโนแบคทีเรีย (cyanobacteria) ที่สร้างสารพิษได้เป็นระยะๆ แต่เมื่อตรวจสอบปริมาณสารพิษไมโครซิสติน (microcystins) ซึ่งสร้างโดยไซยาโนแบคทีเรียดังกล่าว พบว่าน้ำจากอ่างแก้วที่ผ่านระบบการผลิตน้ำประปา ตรวจไม่พบสารพิษไมโครซินติน (not detectable) ซึ่งตามค่ากำหนดขององค์การอนามัยโลกได้ระบุไว้ว่า น้ำดื่มเพื่อการบริโภคควรมีค่าสารพิษไมโครซิสตินไม่เกิน 0.1 ไมโครกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร

“เมื่ออ่างแก้วเผชิญกับปรากฏการณ์สาหร่ายเจริญเติบโตเป็นจำนวนมาก”

    อ่างแก้วในปัจจุบัน เผชิญกับปรากฏการณ์สาหร่ายเจริญเติบโตเป็นจำนวนมาก ทำให้น้ำอ่างแก้วเปลี่ยนเป็นสีเขียว และส่งผลต่อทัศนียภาพอันสวยงาม การเจริญเติบโตของสาหร่ายจำนวนมากในน้ำอ่างแก้วเกิดจากปริมาณธาตุอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วของแหล่งน้ำ เนื่องจากการรับน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเข้าสู่อ่างแก้ว จนทำให้เกิดสภาวะยูโทรฟิเคชั่น อาจส่งผลให้สัตว์น้ำลอยตายเป็นจำนวนมากจากการขาดออกซิเจน

    นอกจากนี้การอพยพย้ายถิ่นของนกแขวก ในช่วงฤดูฝน เพื่อวางไข่และอนุบาลลูกนกเป็นจำนวนมาก และเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ยังอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีธาตุอาหารจากสิ่งขับถ่ายเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในอ่างแก้ว อย่างไรก็ดีการมีประชากรนกแขวกถือเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม ทั้งยังก่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่ประเมินค่ามิได้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและมีเจตนารมณ์ในการอนุรักษ์ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ และต้องการรักษาระบบนิเวศนี้ไว้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำในอ่างแก้ว

นกแขวก ณ อ่างแก้ว

     หลายๆ คนที่ชอบมาเดินเล่น อ่างแก้วตอนเย็นๆ จะสังเกตเห็น นกขนาดใหญ่บินไปมาเป็นฝูง หลายคน อาจอยากทราบ มันคือนกอะไร ทำไมมาอยู่ตรงนี้ แล้วทำไมใกล้มืดค่ำแล้ว แทนที่จะหลับนอน นกพวกนี้กลับดูกระปรี่กระเปร่า สบายปีก ออกบินกัน ขวักไขว่ ยิ่งใกล้มืด ยิ่งออกมาบินกัน เป็นจำนวนมาก นกนี้คือ นกแขวก หรือ Black-crowned Night Heron ชื่อ แขวก ก็มาจากเสียงร้อง แขวกๆๆ ของมันนั่นเอง

     นกแขวกสามารถพบได้ทั่วโลก ยกเว้น ทวีปออสเตรเลีย กับแอนตาร์คติกา นกแขวกเป็นนกกลุ่มนกยาง (heron) ที่วิวัฒนาการ หันมาใช้ชีวิตกลางคืน การออกหากินกลางคืน พวกมันออกไปหากินในพื้นที่ชุมน้ำรอบชานเมืองเชียงใหม่ พอใกล้ฟ้าสาง ก็ชวนพวกมันออกไปหากินในพื้นที่ชุ่มน้ำรอบชานเมืองเชียงใหม่ พอใกล้ฟ้าสาง ก็ชวนกันบินกลับมาพักนอนที่เกาะเล็ก 2 เกาะ กลางอ่างแก้วเมื่อ 10 กว่าปีก่อนนี้ ยังมีจำนวนไม่มาก แต่วันนี้พวกมันชวนกันมารวมฝูงพักนอนที่อ่างแก้วนับพันตัว จนตอนนี้ กิ่งไม้ว่างให้เกาะพัก แทบไม่มีเหลือ ต้องแก่งแย่งกันมาอยู่ร่วมกันมากมายแบบนี้ ปัญหาก็ตามมา มูลนก ทำให้มีแร่ธาตุไนโตรเจนจำนวนมากไหลทะลักลงอ่างแก้ว ทำให้สาหร่ายเซลเดียวเติบโตสะพรั่ง (algae bloom) จนมีผลต่อคุณภาพน้ำ ทาง มช. กำลังเร่งหาทางออก ที่จะป้องกันปัญหานี้ โดยไม่กระทบกับนก เพราะการรวมฝูงนกแขวก นับพันตัว กลางมหาวิทยาลัยนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่น่าภูมิใจ เป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ทั้งในแง่กายภาพและคุณธรรมนกแขวกไว้ใจ และเลือกที่อยู่กับพวกเรา พวกมันหวังมาพึ่งพิงความปลอดภัย เลี้ยงลูก สืบพันธ์ ภายในรั่วมหาวิทยาลัยแห่งนี้

ผลกระทบจากปัญหาปริมาณสาหร่ายที่เพิ่มขึ้นในอ่างแก้ว

   นอกจากสีที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วสาหร่ายปริมาณมากในอ่างแก้วยังส่งกระทบโดยตรงต่อการจัดการน้ำภายในมหาวิทยาลัยเนื่องจากอ่างแก้วเป็นแหล่งน้ำดิบหลักที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาให้กับนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณภาพของแหล่งน้ำดิบที่ด้อยลง (มีปริมาณสารอินทรีย์จากสาหร่ายจำนวนมาก) ทำให้เป็นอันตรายต่อระบบการผลิตน้ำประปา โดยสารอินทรีย์จะสามารถทำปฏิกิริยากับคลอรีนในกระบวนการฆ่าเชื้อโรคเกิดเป็นสารประกอบกลุ่มไตรฮาโลมีเทน (Trihalomethanes, THMs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง การกำจัดสาหร่ายออกจากระบบผลิตน้ำประปาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการควบคุมคุณภาพน้ำประปา

  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) โดยได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) โดยมียุทธศาสตร์ที่ 1 เชิงรุก : นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศที่สำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน โดยกำหนดเป้าหมายในการเป็นผู้นำการสร้าง การจัดการ สร้างเสริมสมรรถนะและแบ่งปันด้านองค์ความรู้ เทคโนโลยีนวัตกรรมสีเขียวที่ยั่งยืน นำไปสู่การออกแบบ “แผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Smart City-Clean Energy)” โดยหนึ่งในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอีกโจทย์หนึ่ง ก็คือ การลดปริมาณสาหร่ายในอ่างแก้ว

โครงการเพื่อลดปริมาณสาหร่ายในอ่างแก้ว

   โครงการเพื่อเร่งฟื้นฟูและลดปริมาณสาหร่ายในอ่างแก้ว คืนทัศนียภาพที่สวยงาม และน้ำสะอาดเพื่อนักศึกษา

    สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ERDI-CMU), คณะวิทยาศาสตร์ และคณะเกษตรศาสตร์ 3หน่วยงาน กับโครงการ เพื่อลดการเจริญเติบโตของสาหร่ายจำนวนมากในน้ำอ่างแก้ว

เข้าสู่ระบบ

แจ้งเบาะแส "ทุจริต หรือ มิชอบ"

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน

แจ้งข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ

ข้อแนะนำในการใช้งาน


ข้อตกลงการใช้ระบบ
1.ระบบ VOC หรือ Voice of Customer นี้เป็นช่องทางหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อรับฟังเสียงจากนักศึกษา บุคลากร นักศึกษาเก่า และบุคคลทั่วไป โดยจะรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากผู้รับบริการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาบริการของสำนักให้มีคุณภาพมาตรฐานที่ดี และตรงตามความต้องการของผู้รับบริการให้มากยิ่งขึ้น
2. การแจ้งข้อร้องเรียนหรือพบปัญหาการใช้บริการ มีความจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเบื้องต้น เช่น ชื่อนามสกุล อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ข้อเท็จจริงที่พบปัญหา วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ ข้อมูลของระบบที่ใช้ และรูปภาพที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับ และเพื่อให้การตรวจสอบหรือแก้ไขปัญหาแก่ผู้รับบริการทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3. ข้อความที่ใช้ควรเป็นถ้อยคำที่สุภาพ เป็นไปตามทำนองคลองธรรม และถูกต้องตามกฎหมาย
4. การนำความอันเป็นเท็จมาร้องเรียน หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น ผู้ร้องอาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางวินัยและทางอาญา
5. เป็นเรื่องที่ผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรือขอให้แก้ไข อันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยหรือจากส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. กรณีที่ผู้แจ้งไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอหรือไม่เปิดเผยตัวตน และสำนักฯ ไม่สามารถติดต่อประสานขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ สำนักฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาเรื่องดังกล่าว แต่หากเป็นข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ สำนักฯ มีความยินดีจะรับเรื่องดังกล่าวไปพัฒนาการให้บริการของสำนักให้ดีที่สุดต่อไป
7. เรื่องที่ไม่ปรากฏตัวตนผู้ร้องหรือตรวจสอบตัวตนของผู้ร้องไม่ได้ หรือมีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์ อาจรับไว้พิจารณาก็ได้ ถ้าหากระบุหลักฐานกรณีแวดล้อมปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอน สามารถสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไปได้และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
8. หลังจากที่ระบบได้รับเรื่องจากผู้แจ้งแล้ว หากผู้แจ้งได้ให้อีเมล (email) ไว้ ระบบจะมีการติดตามความคืบหน้าโดยอัตโนมัติ และรายงานผลการพิจารณาหรือข้อสรุปการดำเนินการที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้แจ้งทราบโดยเร็วผ่านทางอีเมล์ของผู้แจ้ง

* ข้าพเจ้าได้อ่านข้อตกลงเป็นอย่างดีแล้ว และยอมรับตามข้อตกลงนี้
* โปรดระบุ Email และเบอร์โทรศัพท์ของท่าน เพื่อใช้ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการให้ทราบผ่านทาง Email

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน