"องค์กรผู้นำด้านก๊าซเรือนกระจก

ประวัติ

สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ (สวพ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Energy Research and Development Institute – Nakornping, Chiang Mai University

    เป็นองค์กรในกำกับมหาวิทยาลัยที่ดำเนินงานสนับสนุนการวิจัยและงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบัน ตามมติการประชุมของสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 1/2550 โดยมีผลตั้งแต่ 6 มีนาคม 2550 (ปัจจุบันถือว่าวันที่ 6 มีนาคม เป็นวันสถาปณาสถาบัน) โดยการหลอมรวมสถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการวิจัย พัฒนา และจัดการด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสถานเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการวิจัย พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไร้ออกซิเจน เพื่อการจัดการของเสียควบคู่ไปกับการผลิตและใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทน จัดตั้งเป็นหน่วยงานใหม่ภายใต้ชื่อ “สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ต่อมา สถาบันฯ ได้รับพระราชทานชื่อใหม่จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น “สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาองค์การให้เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางด้านพลังงาน มีระบบการบริหารจัดการที่เป็นอิสระจากระบบราชการ สามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นแหล่งวิจัย ค้นคว้า และให้บริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน เพื่อสร้างประโยชน์ต่อประเทศ

วิสัยทัศน์

Vision

“ มุ่งสู่การเป็นสถาบันชั้นนำด้านพลังงานสะอาด
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”

พันธกิจ

Mission

การดำเนินงาน

       สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินงานด้านพลังงานทั้งโครงการทางด้านพลังงานทดแทน ด้านอนุรักษ์พลังงาน ด้านงานวิจัย และด้านการให้บริการวิชาการ ดังนี้

  1. งานพลังงานทดแทน ดำเนินงานด้านการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานทดแทนทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานจากก๊าซชีวภาพ ไบโอดีเซล และพลังงานชีวมวล โดยการมุ่งเน้นงานพัฒนา และการวิจัย การให้บริการวิชาการทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
  2. งานอนุรักษ์พลังงาน ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานทุกแขนง เช่น การจัดการการอนุรักษ์พลังงาน การตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงาน การอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์การลงทุนด้านพลังงาน การศึกษาผลกระทบจากการใช้พลังงาน รวมถึงงานบริการการศึกษา การวิจัย พัฒนา และ บริการวิชาการแก่ภาครัฐและเอกชน
  3. งานวิจัย ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงงานวิจัยของสถาบันไปสู่งานการศึกษาในทุกระดับ นำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพของสถาบันสู่สังคม ทั้งงานวิจัยในระดับงานสัมมนาวิชาการไปจนถึงงานวิจัยเพื่อชุมชน รวมถึงการสร้างเครือข่ายวิจัยและวิชาการกับหน่วยงานที่มีศักยภาพทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ
  4. งานบริการวิชาการ ให้บริการวิชาการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานทดแทน และการจัดการระบบพลังงานของประเทศและนานาชาติ โดยส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงงานวิจัยของสถาบัน ไปสู่การให้บริการทางวิชาการในภาคอุตสาหกรรมและภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับนานาชาติ

โครงสร้าง

ภารกิจ

       วิสัยทัศน์ถูกนำมากำหนดเป็นภารกิจหลัก ในการดำเนินงานของสถาบัน พร้อมทั้งมีการตรวจสอบภายในและภายนอกองค์กร ทั้งนี้มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้องค์กรก้าวไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ในระยะ สั้นที่ชัดเจนและระยะยาวตามที่ได้วางแผนไว้ และยึดถือหลักการดำเนินงานตามภารกิจอย่างเคร่งครัด ภารกิจที่สำคัญขององค์กรประกอบไปด้วย

  • มุ่งเน้นการพัฒนา วิจัย และส่งเสริมด้านก๊าซชีวภาพ
  • สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานที่มีคุณภาพ ทั้งด้านพลังงานทดแทน ด้านอนุรักษ์พลังงาน หรือ ประสิทธิภาพพลังงาน การจัดหาพลังงาน รวมถึงด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นผลกระทบจากพลังงาน
  • ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงงานวิจัยของสถาบันกับการศึกษาในทุกระดับที่ สอดคล้องกับทางมหาวิทยาลัย รวมถึงการเชื่อมโยงงานวิจัยกับภาคอุตสาหกรรมทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ จนถึงระดับนานาชาติ
  • ให้บริการทางวิชาการด้านพลังงาน และด้านที่เกี่ยวข้องหรือเป็นผลกระทบจากพลังงาน รวมถึงให้บริการแหล่งข้อมูลและองค์ความรู้ทางด้านพลังงานในทุกด้านที่สามารถ เผยแพร่สู่สังคม
  • มุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรของสถาบัน เพื่อให้เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในด้านพลังงานมุ่งเน้นการพัฒนา วิจัย และส่งเสริมด้านก๊าซชีวภาพ
  • สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานที่มีคุณภาพ ทั้งด้านพลังงานทดแทน ด้านอนุรักษ์พลังงาน หรือ ประสิทธิภาพพลังงาน การจัดหาพลังงาน รวมถึงด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นผลกระทบจากพลังงาน
  • ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงงานวิจัยของสถาบันกับการศึกษาในทุกระดับที่ สอดคล้องกับทางมหาวิทยาลัย รวมถึงการเชื่อมโยงงานวิจัยกับภาคอุตสาหกรรมทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ จนถึงระดับนานาชาติ
  • ให้บริการทางวิชาการด้านพลังงาน และด้านที่เกี่ยวข้องหรือเป็นผลกระทบจากพลังงาน รวมถึงให้บริการแหล่งข้อมูลและองค์ความรู้ทางด้านพลังงานในทุกด้านที่สามารถ เผยแพร่สู่สังคม
  • มุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรของสถาบัน เพื่อให้เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในด้านพลังงาน

เข้าสู่ระบบ

แจ้งเบาะแส "ทุจริต หรือ มิชอบ"

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน

แจ้งข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ

ข้อแนะนำในการใช้งาน


ข้อตกลงการใช้ระบบ
1.ระบบ VOC หรือ Voice of Customer นี้เป็นช่องทางหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อรับฟังเสียงจากนักศึกษา บุคลากร นักศึกษาเก่า และบุคคลทั่วไป โดยจะรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากผู้รับบริการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาบริการของสำนักให้มีคุณภาพมาตรฐานที่ดี และตรงตามความต้องการของผู้รับบริการให้มากยิ่งขึ้น
2. การแจ้งข้อร้องเรียนหรือพบปัญหาการใช้บริการ มีความจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเบื้องต้น เช่น ชื่อนามสกุล อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ข้อเท็จจริงที่พบปัญหา วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ ข้อมูลของระบบที่ใช้ และรูปภาพที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับ และเพื่อให้การตรวจสอบหรือแก้ไขปัญหาแก่ผู้รับบริการทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3. ข้อความที่ใช้ควรเป็นถ้อยคำที่สุภาพ เป็นไปตามทำนองคลองธรรม และถูกต้องตามกฎหมาย
4. การนำความอันเป็นเท็จมาร้องเรียน หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น ผู้ร้องอาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางวินัยและทางอาญา
5. เป็นเรื่องที่ผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรือขอให้แก้ไข อันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยหรือจากส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. กรณีที่ผู้แจ้งไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอหรือไม่เปิดเผยตัวตน และสำนักฯ ไม่สามารถติดต่อประสานขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ สำนักฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาเรื่องดังกล่าว แต่หากเป็นข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ สำนักฯ มีความยินดีจะรับเรื่องดังกล่าวไปพัฒนาการให้บริการของสำนักให้ดีที่สุดต่อไป
7. เรื่องที่ไม่ปรากฏตัวตนผู้ร้องหรือตรวจสอบตัวตนของผู้ร้องไม่ได้ หรือมีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์ อาจรับไว้พิจารณาก็ได้ ถ้าหากระบุหลักฐานกรณีแวดล้อมปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอน สามารถสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไปได้และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
8. หลังจากที่ระบบได้รับเรื่องจากผู้แจ้งแล้ว หากผู้แจ้งได้ให้อีเมล (email) ไว้ ระบบจะมีการติดตามความคืบหน้าโดยอัตโนมัติ และรายงานผลการพิจารณาหรือข้อสรุปการดำเนินการที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้แจ้งทราบโดยเร็วผ่านทางอีเมล์ของผู้แจ้ง

* ข้าพเจ้าได้อ่านข้อตกลงเป็นอย่างดีแล้ว และยอมรับตามข้อตกลงนี้
* โปรดระบุ Email และเบอร์โทรศัพท์ของท่าน เพื่อใช้ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการให้ทราบผ่านทาง Email

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน