ไฮโดรเจนเป็นทางเลือกหนึ่งที่สำคัญสำหรับการลดการปล่อยเรือนกระจกระยะยาว เพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2065
เป้าหมายการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ระยะสั้นและระยะกลาง สรุปได้ดังนี้
เป้าหมายในระยะสั้น และระยะกลาง
“ประเทศไทยมีความพร้อม สามารถเริ่มมีการใช้ไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ในภาคพลังงานตั้งแต่ปี ค.ศ. 2030 และ
เติบโตอย่างยั่งยืนจนเป็นหนึ่งในทางเลือกที่สำคัญสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050
ภายใต้เป้าหมายดังกล่าว สามารถสรุปแนวทางการพัฒนาเพื่อผลักดันให้บรรลุเป้าหมายเป็นยุทธศาสตร์ 4 ด้านประกอบไปด้วย
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาตลาดและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้
เป้าประสงค์ เพื่อส่งเสริมการใช้ไฮโดรเจนสำหรับกลุ่มเป้าหมาย (โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และ ยานยนต์) ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม
เป้าประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตไฮโดรเจนในประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้า
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง การใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน รวมถึงการซื้อขายไฮโดรเจนระหว่างประเทศ
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐาน
เป้าประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านกฎหมาย มาตรฐาน และข้อกำหนดต่างๆรองรับการจัดหาและการใช้งานไฮโดรเจนตลอดห่วงโซ่คุณค่า