การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญของการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ของประเทศไทย ซึ่งแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนี้มีเป้าประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง และการใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน ครอบคลุมภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง
โดยแนวทางที่สำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย การพัฒนาโครงข่ายระบบท่อสำหรับเชื้อเพลิงผสม ครอบคลุม ประเมินความเป็นไปได้ด้านเทคนิค ความคุ้มค่า และผลกระทบของการนำไฮโดรเจนผสมในระบบท่อก๊าซฯ จัดทำมาตรฐานด้านวิศวกรรม ความปลอดภัย และคุณภาพบริการ จัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายท่อสำหรับเชื้อเพลิงผสมพัฒนาระบบติดตามเฝ้าระวังด้านความปลอดภัย และมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อชุมชน
การพัฒนาระบบจัดเก็บ ขนส่ง และสถานีเติมไฮโดรเจน ครอบคลุมประเมินความเป็นไปได้ด้านเทคนิค ความคุ้มค่าและการเงินของธุรกิจจัดเก็บและขนส่งไฮโดรเจน รวมถึงธุรกิจสถานีเติมไฮโดรเจนจัดทำมาตรฐานด้านวิศวกรรม ความปลอดภัย และคุณภาพบริการจัดทำแผนการพัฒนาระบบจัดเก็บ ขนส่ง และสถานีเติมไฮโดรเจนให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายจัดทำกฎหมายและกฎระเบียบในการกำกับ และส่งเสริมการแข่งขันในกิจการจัดเก็บและขนส่งไฮโดรเจน รวมถึงกิจการสถานีบริการไฮโดรเจน
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับไฮโดรเจนสีเขียว ครอบคลุมประเมินความเป็นไปได้ด้านเทคนิค ความคุ้มค่าและการเงินของการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้ารองรับไฮโดรเจนสีเขียว จัดทำแผนและพัฒนาโครงข่ายระบบไฟฟ้ารองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ จะมีการประเมินผลกระทบจากการก่อสร้างและดำเนินงาน (เช่น EIA, EHIA) รวมถึงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ควบคู่ไปกับแนวทางที่สำคัญดังกล่าวด้วย