แนวทางการสนับสนุนการนำไฮโดรเจนไปใช้ภาคการผลิตไฟฟ้าในระยะสั้น (ค.ศ. 2023 – 2030) ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย สอดคล้องตาม 4 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาตลาดและสร้างจูงใจให้กับผู้ใช้
- สนับสนุนด้านการเงินและการลงทุน แก่ผู้ผลิตไฟฟ้า เพื่อช่วยให้พิจารณาทางเลือกเทคโนโลยีด้านการใช้ ศักยภาพ ความคุ้มค่า และ โดยจะต้องมีการพิจารณากรอบวงเงินการสนับสนุนที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุงอุปกรณ์ และระบบต่างๆ เพื่อรองรับการนำไฮโดรเจนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วม รวมทั้งการพิจารณา ศักยภาพและความคุ้มค่า
- พัฒนาโครงการนำร่อง โดยส่งเสริมให้ผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีความพร้อมสำหรับโครงการนำร่อง ในด้านการเงินและการลงทุน ส่งเสริมการทดลอง ทดสอบของระบบไฟฟ้า และเพิ่มเติมการศึกษาให้มีการขยายผลการทดสอบให้ครอบคลุม เพื่อที่จะเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ และความมั่นใจการใช้งานไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงร่วม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม
- สนับสนุนด้านการเงินและการลงทุน แก่ผู้จัดหา ในการพิจารณารูปแบบธุรกิจใหม่สำหรับไฮโดรเจนที่ครอบคลุมการผลิต จัดหา จัดเก็บและขนส่ง
- พัฒนามูลค่าของโครงการเพิ่มจากกลไกสะอาดต่างๆ เช่น CBAM และ i-REC H2
- เตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาบุคลากรให้รองรับรูปแบบธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับไฮโดรเจน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
- เร่งปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงผสมในระบบท่อก๊าซฯ โดยศึกษาผลการทดลอง ทดสอบ และผลกระทบจากการผสมไฮโดรเจน ที่เกิดขึ้นกับทั้งระบบของท่อก๊าซฯ
- มีเกณฑ์คุณสมบัติของเชื้อเพลิงที่เหมาะสม โดยมีการศึกษาและกำหนดอัตราส่วนการเพิ่มไฮโดรเจนผสมที่เหมาะสมต่อระยะเวลา
- ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงสร้างพื้นฐาน CCS/CCUS เพื่อรองรับการผลิต Blue-H2 และพัฒนาไปสู่โครงการนำร่อง CCS/CCUS และ การผลิต Blue-H2 ต่อไป
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐาน
- จัดทำกฎระเบียบและมาตรฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติก๊าซธรรมชาติที่ผสมไฮโดรเจนสำหรับภาคการผลิตไฟฟ้า
- จัดทำกฎระเบียบและมาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยสำหรับการผลิต การจัดเก็บและขนส่ง และการใช้งานไฮโดรเจนโดยเฉพาะ
ที่มา : โครงการจัดทำแผนกลยุทธ์การนำไฮโดรเจนไปใช้ภาคพลังงาน
สนับสนุนโดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
งานวิจัยร่วมระหว่างสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่