"องค์กรผู้นำด้านก๊าซเรือนกระจก

เปลี่ยน “ขยะพลาสติก” เป็น “โครงสร้างพื้นฐาน” ในการสร้างทางหลวงและอาคาร

ในการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ Michael Lepech และ Zhiye Li ทีมวิศวกรจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา หารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการใช้และผสมผสาน “พอลิเมอร์คอมโพสิตเสริมใยแก้วรีไซเคิล” ซึ่งเป็นพลาสติกที่ใช้กันทั่วไปในชิ้นส่วนรถยนต์ เรือ และเครื่องบิน เข้ากับ “โครงสร้างพื้นฐาน” ต่างๆ รวมทั้งทางหลวงและอาคาร ซึ่งนี่อาจเป็นตัวเปลี่ยนเกมในอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยี เนื่องจากในแต่ละปีมีขยะพลาสติกน้อยกว่า 10% ที่ถูกรีไซเคิล จากขยะพลาสติกจำนวน 7 พันล้านตันที่เกิดขึ้นทั่วโลก

โดยทั้งสองคนศึกษาสถานะปัจจุบัน ความท้าทาย และความต้องการในการรีไซเคิลพลาสติกในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมตรวจสอบความทนทานในระยะยาวและสิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าวเพื่อใช้ในโครงสร้างพื้นฐาน การใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ข้อมูลการทดลองและข้อมูลภาคสนาม ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมรีไซเคิล

Michael Lepech ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่าการรีไซเคิลขยะพลาสติกเพื่อใช้สำหรับวัตถุประสงค์ด้านโครงสร้างพื้นฐานนั้นถือว่ามีความก้าวหน้า เนื่องจากปริมาณของวัสดุพร้อมกับองค์ประกอบที่น่าจะเหมือนกันของมัน จะทำให้การรีไซเคิลเป็นโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ง่ายขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ความท้าทายยังคงเกิดขึ้น และอาจเป็นเพียงความฝันที่ยังไม่เป็นจริง จนกว่าจะได้รับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการรีไซเคิลขยะพลาสติกเพื่อเปลี่ยนเป็นอาคาร ทางหลวง และโครงสร้างพื้นฐานประเภทอื่นๆ
ด้าน Zhiye Li นักวิจัยหลังปริญญาเอกด้านวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม เน้นย้ำว่าความยากคือประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และโลจิสติกส์ในการจัดการขยะพลาสติกจากขยะมูลฝอยในชุมชน โดยชี้ว่าการไหลของวัสดุขยะพลาสติกมีความผันแปรสูง มวลของมันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละเดือน เช่นเดียวกับประเภทของพลาสติก เช่น บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายหลายรูปแบบ หากไม่มีระบบการคัดแยกขยะที่เหมาะสมและนวัตกรรมการรีไซเคิลขยะอย่างแข็งขัน
SFMOMA
SFMOMA ที่ออกแบบโดย Snøhetta
การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของขยะที่กองพะเนินเทินทึกจึงถือเป็นเรื่องท้าทายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากวัสดุของพลาสติก แม้จะเป็นขยะเหมือนกันแต่ก็อาจมีความแตกต่างกัน และมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่สามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะนี้ได้
ทีมวิศวกรของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดระบุว่า การนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบของวัสดุของโครงสร้างพื้นฐานนั้นมีประโยชน์ แต่ในขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องบรรลุข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพบางประการ ในขณะที่ยังคงรักษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับต่ำเมื่อเทียบกับวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิม
ในการศึกษานี้ พวกเขาดูตัวอย่างที่ขยะพลาสติกถูกนำมาใช้กับอาคารและถนน รวมถึงแผงด้านหน้าอาคารในพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ซานฟรานซิสโก (SFMOMA) และทางเท้าในโครงการถนนของกรมการขนส่งแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย (Caltrans)
การปูทางเท้าด้วยขยะพลาสติก
SFMOMA ที่ออกแบบโดย Snøhetta บริษัทสถาปนิกจากนอร์เวย์ได้รับการขยายส่วนหน้าอาคาร โดยทีมออกแบบใช้พลาสติกเสริมแรงด้วยไฟเบอร์กลาสสำหรับพื้นผิวภายนอกที่กระเพื่อม ขณะที่ Caltrans ได้ปรับปรุงส่วนของทางหลวงหมายเลข 162 ด้วยทางเท้ายางมะตอยรีไซเคิลและพลาสติกเหลวที่ทำจากขวดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในปี 2020 นี่เป็นครั้งแรกที่ทำการปูทางเท้าโดยใช้วัสดุรีไซเคิล 100% อ้างอิงจากสมุดปกขาวล่าสุดของรัฐบาลไบเดนที่จัดทำโดย National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine (NASEM)
กล่าวคือท่ามกลางผลลัพธ์อื่นๆ การค้นพบของพวกเขาบ่งชี้ว่าคอมโพสิตพอลิเมอร์เสริมใยแก้วรีไซเคิล ซึ่งเป็นพลาสติกที่ใช้กันทั่วไปในชิ้นส่วนรถยนต์ เรือ และเครื่องบิน เป็นวัสดุที่มีแนวโน้มว่าจะนำมาใช้ซ้ำในอาคารและโครงสร้างพื้นฐานอย่างทางเท้า

ฝันเป็นจริงได้ แต่จำเป็นต้องมีการจัดการคัดแยกขยะพลาสติกที่ดีขึ้น

สำหรับอนาคตของขยะพลาสติกสำหรับโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตมีโอกาสเป็นจริงได้ แต่ทั้งสองคนเตือนว่าในขณะที่มีหลายวิธีในการนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่เพื่อการใช้งานที่หลากหลาย แต่ก็ไม่ใช่ว่าพลาสติกทุกชนิดจะอยู่ได้นานหรือสามารถรวมเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานได้ ตัวอย่างเช่น มากกว่า 60% ของพลาสติกรีไซเคิลทั่วโลกถูกใช้ในบรรจุภัณฑ์ต่างๆ แต่มีอายุการใช้งานสั้น และชิ้นส่วนรถยนต์บางชิ้นสามารถทำขึ้นจากพลาสติกรีไซเคิลได้ แต่ต้องใช้พลาสติกเพียงเล็กน้อยในการผลิต เป็นต้น
“สิ่งสำคัญคือปรับปรุงการคัดแยกขยะ ส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรมการรีไซเคิลพลาสติก ตั้งค่าฐานข้อมูลประสิทธิภาพของการผสมพลาสติกบางประเภท และสร้างแบบจำลองที่คาดการณ์ได้สำหรับความทนทานของวัสดุเหล่านี้ภายใต้เงื่อนไขการใช้งานที่แตกต่างกัน”
ทั้งนี้ ขยะพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่สุดที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน โดยมีผลกระทบในวงกว้าง สามารถก่อมลพิษบนภูเขาที่สูงที่สุดไปจนถึงร่องลึกสุดของมหาสมุทร และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ทำลายระบบนิเวศ และเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์ทะเล ปัญหาขยะพลาสติกทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากการบริโภควัสดุอเนกประสงค์นี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการผลิตพลาสติกทั่วโลกเพิ่มขึ้นสองเท่าตั้งแต่ต้นศตวรรษ เป็นเกือบ 400 ล้านตันต่อปีในปี 2564 แม้ว่าอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์พลาสติกจะเฉลี่ยประมาณ 10 ปี แต่พลาสติกอาจใช้เวลาถึง 500 ปีในการย่อยสลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและการกำจัด

ที่มา :

สาระน่ารู้ที่น่าสในใจ

เข้าสู่ระบบ

แจ้งเบาะแส "ทุจริต หรือ มิชอบ"

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน

แจ้งข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ

ข้อแนะนำในการใช้งาน


ข้อตกลงการใช้ระบบ
1.ระบบ VOC หรือ Voice of Customer นี้เป็นช่องทางหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อรับฟังเสียงจากนักศึกษา บุคลากร นักศึกษาเก่า และบุคคลทั่วไป โดยจะรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากผู้รับบริการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาบริการของสำนักให้มีคุณภาพมาตรฐานที่ดี และตรงตามความต้องการของผู้รับบริการให้มากยิ่งขึ้น
2. การแจ้งข้อร้องเรียนหรือพบปัญหาการใช้บริการ มีความจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเบื้องต้น เช่น ชื่อนามสกุล อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ข้อเท็จจริงที่พบปัญหา วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ ข้อมูลของระบบที่ใช้ และรูปภาพที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับ และเพื่อให้การตรวจสอบหรือแก้ไขปัญหาแก่ผู้รับบริการทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3. ข้อความที่ใช้ควรเป็นถ้อยคำที่สุภาพ เป็นไปตามทำนองคลองธรรม และถูกต้องตามกฎหมาย
4. การนำความอันเป็นเท็จมาร้องเรียน หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น ผู้ร้องอาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางวินัยและทางอาญา
5. เป็นเรื่องที่ผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรือขอให้แก้ไข อันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยหรือจากส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. กรณีที่ผู้แจ้งไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอหรือไม่เปิดเผยตัวตน และสำนักฯ ไม่สามารถติดต่อประสานขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ สำนักฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาเรื่องดังกล่าว แต่หากเป็นข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ สำนักฯ มีความยินดีจะรับเรื่องดังกล่าวไปพัฒนาการให้บริการของสำนักให้ดีที่สุดต่อไป
7. เรื่องที่ไม่ปรากฏตัวตนผู้ร้องหรือตรวจสอบตัวตนของผู้ร้องไม่ได้ หรือมีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์ อาจรับไว้พิจารณาก็ได้ ถ้าหากระบุหลักฐานกรณีแวดล้อมปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอน สามารถสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไปได้และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
8. หลังจากที่ระบบได้รับเรื่องจากผู้แจ้งแล้ว หากผู้แจ้งได้ให้อีเมล (email) ไว้ ระบบจะมีการติดตามความคืบหน้าโดยอัตโนมัติ และรายงานผลการพิจารณาหรือข้อสรุปการดำเนินการที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้แจ้งทราบโดยเร็วผ่านทางอีเมล์ของผู้แจ้ง

* ข้าพเจ้าได้อ่านข้อตกลงเป็นอย่างดีแล้ว และยอมรับตามข้อตกลงนี้
* โปรดระบุ Email และเบอร์โทรศัพท์ของท่าน เพื่อใช้ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการให้ทราบผ่านทาง Email

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน