โรงไฟฟ้าจากขยะ ที่ไม่ต้องเผาเพื่อให้ได้พลังงานไฟฟ้า ด้วยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพแบบหมักแห้ง ของERDI-CMU ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โดยผลงานที่ผ่านมา สถาบันฯได้สนองนโยบายตามยุทธศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุก ภายในช่วงเวลา 5-10 ปี สถาบันฯได้รับมอบหมายให้ดูแล ออกแบบและบริหารการจัดการในส่วนของ ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร มช. เพื่อเป็นต้นแบบให้กับชุมชนในการผลิตไฟฟ้าและพลังงานทดแทนจากขยะ
ปัจจุบันการดำเนินงานของศูนย์ สามารถผลิตก๊าซชีวภาพสได้วันละกว่า 600 ลูกบาศก์เมตร
โดยนำไปปรับปรุงคุณภาพและนำไปผลิตเป็นไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในศูนย์ ได้กว่า 26,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี
- ผลิตเป็นก๊าซไบโอมีเทนอัดสำหรับยานยนต์ เพื่อใช้ในระบบขนส่ง ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เฉลี่ยปีละ 18,000 บาท กิโลกรัมต่อปี
- สามารถลดปริมาณการกำจัดขยะจากการกำจัดทิ้งแบบฝังกลบ และแบบเผาได้ 4,500 ตันต่อปี
- ลดปริมาณอาหารจากการฝังกลบได้ 500 ตันต่อปี
- ลดปริมาณกากไขมันจากการฝังกลบได้ 125 ตันต่อปี
- สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 10,900 ตันคาร์บอนต่อปี
และนี่คือหนึ่งในยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จาก 3 ยุทธศาสตร์เชิงรุก ที่ดำเนินการได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้นแบบให้ภาคประชาสังคม ในการบริหารจัดการ ชีวิตหรือเมืองได้อย่างยั่งยืน