"องค์กรผู้นำด้านก๊าซเรือนกระจก

4 ก๊าซพิษแฝงตัวอยู่ในหมอกควัน

แบ่งปันเรื่องราวนี้ผ่านช่องทาง

การรายงานคุณภาพอากาศด้วยดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) นั้นจะต้องทำการวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 PM2.5 และค่าก๊าซพิษ NO2 SO2 O3 และ CO

เพราะก๊าซพิษ 4 ชนิดนี้ เป็นก๊าซพิษหลักที่แฝงตัวอยู่ในหมอกควันเข้ามาทำร้ายสุขภาพร่างกายของเรา วันนี้มารู้จักแหล่งที่มา กลไกการก่อโรค และผลข้างเคียงกันนะคะ


1.ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen Dioxide,NO2)

  • ลักษณะทางกายภาพ
                  เป็นแก๊สสีน้ำตาลแดง มีกลิ่นเหม็นฉุน
  • คุณสมบัติก่อมะเร็ง
                  ACGIH Carcinogenicity: A4
                  IARC: N/A (ไม่ได้ทำการประเมิน)
  • ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม
                  EPA NAAQS: 53 ppb (Annual), 100 ppb (1 hour)
  • แหล่งที่มา
                  เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ภาวะอุณหภูมิสูง (1000 องศาเซลเซียส) และมีออกซิเจนเพียงพอ
                  โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอุตสาหกรรมแยกหรือแปรรูปก๊าซธรรมชาติถลุงแร่ ปูนซีเมนต โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน เป็นต้น
  • กลไกการก่อโรค 
                  เมื่อหายใจนำไนโตรเจนไดออกไซด์เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะทำปฏิกิริยากับน้ำในทางเดินหายใจและปอด ได้เป็นกรดไนตริก (HNO3) และกรดไนตรัส (HNO2) และเกิดอนุมูลอิสระ ส่งผลทำลายเซลล์ปอด ทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจ เกิดภาวะหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ (pneumonitis)
                  ไนโตรเจนไดออกไซด์ยังมีความสามารถในการจับกับฮีโมโกลบิน ได้ดีกว่าคาร์บอนมอนอกไซด์หลายพันเท่า เมื่อเข้าสู่กระแสโลหิตจะถูกเปลี่ยนเป็นเมทฮีโมโกลบิน (methemoglobin ) ไนไตรต์ (nitrite ) และไนเตรต (nitrate ) ซึ่งขัดขวางการขนส่งออกซิเจนไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • อาการทางคลินิก
                  อาการเฉียบพลัน: ถ้าปริมาณปนเปื้อนในอากาศน้อย จะทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบนเพียงเล็กน้อย ส่วนในกรณีที่ปริมาณปนเปื้อนในอากาศมาก จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบน คือ แสบจมูก ไอ เจ็บคอ และมีอาการแสบตาร่วมด้วยได้
                  อาการสำคัญที่ต้องระวัง: การระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนล่าง เกิดหลังจากหายใจนำสารนี้เข้าไปแล้วประมาณ 24 ชั่วโมง ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)  และร่างกายขาดออกซิเจนรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ถ้ารักษาภาวะปอดบวมน้ำจนดีขึ้น อาจเกิดภาวะหลอดลมฝอยอุดกั้น (Bronchiolitis obliteran) จากการอักเสบเรื้อรังจนผังผืดในหลอดลมฝอย
                   อาการเรื้อรัง: ก่อให้เกิดโรคหอบหืด พังผืดในเนื้อปอด และถุงลมโป่งพองได้

2.ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide,SO2)

  • ลักษณะทางกายภาพ
                  แก๊สไม่มีสี มีกลิ่นแสบฉุน
  • คุณสมบัติก่อมะเร็ง
                  IARC = Group 3 (ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์หรือไม่)
                  ACGIH Carcinogenicity = A4 (ไม่สามารถจัดกลุ่มว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้)
  • ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม 
                  EPA NAAQS: Primary standard = 0.03 ppm (annual arithmetic mean), 0.14 ppm (24-hour), Secondary standard = 0.5 ppm (1,300 ug/m3) (3-hour)
  • แหล่งที่มา
                  อุตสาหกรรมฟอกสีหนังและขนสัตว์ ฆ่าเชื้อโรคในการถนอมอาหาร หมักเบียร์และไวน์ อุตสาหกรรมไม้ โลหะหนัก และการทำแบตเตอรี่ลิเทียม
  • กลไกการก่อโรค 
                  ออกฤทธิ์ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ และเกิดเป็นเนื้อเยื่อพังผืดของปอด ในการรับสัมผัสเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานทำให้เกิด ภาวะหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรังได้
  • อาการทางคลินิก
                  อาการเฉียบพลัน: เข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ หากได้รับเข้าไปปริมาณเล็กน้อยจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบหายใจ มีอาการไอมาก อาจมีภาวะปอดบวมน้ำตามมาได้ และออกฤทธิ์ระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ โดยเฉพาะดวงตา
                  อาการเรื้อรัง: ทำให้การดมกลิ่นเสียไป และทำลายหลอดลมและเนื้อเยื่อปอด เกิดภาวะหลอดลมอักเสบและปอดอักเสบเรื้อรัง

3.โอโซน (Ozone,O3)

  • ลักษณะทางกายภาพ
                  แก๊สสีฟ้าอ่อน มีกลิ่นคล้ายคลอรีน

 

  • คุณสมบัติก่อมะเร็ง
                  IARC Group: N/A
                  ACGIH Carcinogenicity: N/A
  • ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม
                  EPA NAAQS: Primary and secondary standard levels to 0.070 parts per million (ppm)
  • แหล่งที่มา
                  เกิดจากการทำปฎิกิริยาเคมีในบรรยากาศระหว่างสารมลพิษทางอากาศเช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ และสารอินทรีย์ระเหยง่าย โดยมีแสงแดดเป็นแหล่งพลังงาน
  • กลไกการก่อโรค
                  ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจหดตัว หายใจลำบาก และหายใจมีเสียงดังจากหลอดลมตีบ เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มปอด ปอดติดเชื้อได้ง่าย และหากได้รับการสัมผัสต่อเนื่องและยาวนานจะทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองได้
  • อาการทางคลินิก
                  อาการเฉียบพลัน: เข้าสู่ทางกายทางการหายใจ ทำให้เกิดการระคายเคืองคอ เจ็บคอ และไอมาก ในเด็กเล็กส่งผลให้พัฒนาการปอดผิดปกติ กระตุ้นการเกิดภาวะหอบหืดเฉียบพลัน หลอดลมอักเสบ และถุงลมโป่งพอง
                  อาการเรื้อรัง: เกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง และอาจทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

4.คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide,CO)

  • ลักษณะทางกายภาพ
                  แก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น

 

  • คุณสมบัติก่อมะเร็ง
                  IARC Group: N/A (ไม่ได้ทำการประเมิน)
                  ACGIH Carcinogenicity: N/A (ไม่ได้ทำการประเมิน)
  • ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม
                  EPA NAAQS: 9 ppm (8 hours), 35 ppm (1 hour)
  • แหล่งที่พบในธรรมชาติ
                  ควันบุหรี่ และควันไฟไหม้ป่าที่เกิดจากการเผาไหม้สารอินทรีย์อย่างไม่สมบูรณ์
                  อุตสาหกรรมที่สังเคราะห์ทางอินทรีย์ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
                  ควันรถยนต์ รถจักรยานยนต์เครื่องยนต์และเครื่องจักรที่เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
  • กลไกการก่อโรค
                  คาร์บอนมอนอกไซด์จะจับกับสารที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงที่มีชื่อว่า Hemoglobin (Hb) ทำให้เกิดสารประกอบ Carboxyhemoglobin

                      คาร์บอนมอนอกไซด์สามารถจับกับ Hemoglobin ได้ดีกว่า Oxygen 200 – 300 เท่า) ซึ่งจะมีผลทำให้การนำพา Oxygen ไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายลดลง

  • อาการทางคลินิก
                 อาการเฉียบพลัน: หากได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์จากการหายใจในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ กระสับกระส่าย สับสน การมองเห็นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว และมีการหายใจที่เร็วขึ้น กรณีได้รับเป็นปริมาณมากๆ จะทำให้เกิดภาวะหมดสติ ชัก ภาวะช็อก กดการหายใจรวมทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะสมองบวม และอาจเสียชีวิตได้ ถ้าหากไม่เสียชีวิตหลังจากที่ได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ปริมาณมากๆ แล้วก็มักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบประสาทตามมา เช่น ภาวะหลงลืม (dementia) จิตเภท การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ภาวะอารมณ์ผิดปกติ บุคลิกภาพที่เปลี่ยนไป
                 อาการเรื้อรัง: การได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณต่ำๆ เป็นระยะเวลานานจะทำให้มีอาการอาเจียน ถ่ายเหลว ปวดท้อง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ใจสั่นได้ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง แยกได้ยากจากภาวะอาหารเป็นพิษหรือการติดเชื้อไวรัส

Cr. www.holismedicare.com

สาระน่ารู้ที่น่าสในใจ

เข้าสู่ระบบ

แจ้งเบาะแส "ทุจริต หรือ มิชอบ"

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน

แจ้งข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ

ข้อแนะนำในการใช้งาน


ข้อตกลงการใช้ระบบ
1.ระบบ VOC หรือ Voice of Customer นี้เป็นช่องทางหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อรับฟังเสียงจากนักศึกษา บุคลากร นักศึกษาเก่า และบุคคลทั่วไป โดยจะรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากผู้รับบริการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาบริการของสำนักให้มีคุณภาพมาตรฐานที่ดี และตรงตามความต้องการของผู้รับบริการให้มากยิ่งขึ้น
2. การแจ้งข้อร้องเรียนหรือพบปัญหาการใช้บริการ มีความจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเบื้องต้น เช่น ชื่อนามสกุล อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ข้อเท็จจริงที่พบปัญหา วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ ข้อมูลของระบบที่ใช้ และรูปภาพที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับ และเพื่อให้การตรวจสอบหรือแก้ไขปัญหาแก่ผู้รับบริการทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3. ข้อความที่ใช้ควรเป็นถ้อยคำที่สุภาพ เป็นไปตามทำนองคลองธรรม และถูกต้องตามกฎหมาย
4. การนำความอันเป็นเท็จมาร้องเรียน หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น ผู้ร้องอาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางวินัยและทางอาญา
5. เป็นเรื่องที่ผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรือขอให้แก้ไข อันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยหรือจากส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. กรณีที่ผู้แจ้งไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอหรือไม่เปิดเผยตัวตน และสำนักฯ ไม่สามารถติดต่อประสานขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ สำนักฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาเรื่องดังกล่าว แต่หากเป็นข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ สำนักฯ มีความยินดีจะรับเรื่องดังกล่าวไปพัฒนาการให้บริการของสำนักให้ดีที่สุดต่อไป
7. เรื่องที่ไม่ปรากฏตัวตนผู้ร้องหรือตรวจสอบตัวตนของผู้ร้องไม่ได้ หรือมีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์ อาจรับไว้พิจารณาก็ได้ ถ้าหากระบุหลักฐานกรณีแวดล้อมปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอน สามารถสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไปได้และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
8. หลังจากที่ระบบได้รับเรื่องจากผู้แจ้งแล้ว หากผู้แจ้งได้ให้อีเมล (email) ไว้ ระบบจะมีการติดตามความคืบหน้าโดยอัตโนมัติ และรายงานผลการพิจารณาหรือข้อสรุปการดำเนินการที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้แจ้งทราบโดยเร็วผ่านทางอีเมล์ของผู้แจ้ง

* ข้าพเจ้าได้อ่านข้อตกลงเป็นอย่างดีแล้ว และยอมรับตามข้อตกลงนี้
* โปรดระบุ Email และเบอร์โทรศัพท์ของท่าน เพื่อใช้ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการให้ทราบผ่านทาง Email

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน