"องค์กรผู้นำด้านก๊าซเรือนกระจก

10 เทรนด์มาแรงอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ในอีก 5 ปีข้างหน้า

ในช่วง 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า พลังงานหมุนเวียนจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในฐานะแหล่งพลังงานหลักสำหรับการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีความน่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นอนาคตที่สดใสของแวดวงพลังงาน อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่พลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วนของการผลิตพลังงานสูงกว่ายอดการผลิตพลังงานทุกประเภทรวมกัน ฉะนั้น การการันตีความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และการคุ้มค่าของทรัพยากรที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าจึงถือเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุด

หลังจากที่เทคโนโลยี ICT พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น AI คลาวด์ บิ๊กดาต้า หรือ 5G รวมถึงการพิจารณาถึงเทรนด์ใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า หัวเว่ยจึงร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในวงการเพื่อนำเสนอ 10 เทรนด์ที่น่าสนใจในแวดวงเซลล์แสงอาทิตย์อัจฉริยะในปี 2568 ซึ่งประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (LCOE), โรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การหลอมรวมอัจฉริยะ ตลอดจนเรื่องของความมั่นคงและความซื่อสัตย์ โดยเทรนด์เหล่านี้มีจุดมุ่งหมายที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปสู่ระบบอัจฉริยะและโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมมอบความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับนวัตกรรมและการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอุตสาหกรรมพลังงานใหม่

เทรนด์ที่ 1: การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

ในอนาคตโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์กว่า 90% ทั่วโลกจะเข้าสู่ระบบดิจิทัล ปัจจุบันแม้ตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลกจะเติบโตมากขึ้น แต่เครื่องมือที่ใช้ในโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ยังไม่มีความก้าวล้ำมากพอ ตั้งแต่อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าไปจนถึงการสื่อสาร โดยอุปกรณ์เหล่านี้ยังคงไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร อีกทั้งยังอาจแสดงผลลัพธ์ที่ผิดพลาดออกมาได้ ดังนั้น ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างระบบ 5G และคลาวด์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีแนวโน้มว่าโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์กว่า 90% ทั่วโลกจะเข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มตัวภายในปี 2568 ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์มีความสะดวก ฉลาด และมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม

เทรนด์ที่ 2: ยกระดับความอัจฉริยะด้วย AI

โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์กว่า 70% จะหันมาใช้เทคโนโลยี AI การนำ AI เข้ามาใช้กับเซลล์แสงอาทิตย์จะช่วยทำให้การทำงานของระบบตรวจจับและการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างอุปกรณ์เป็นไปอย่างราบรื่น และจะช่วยยกระดับการผลิตพลังงานและประสิทธิภาพของ O&M อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ เทคโนโลยี AI ยังมอบวิธีการทำงานใหม่ๆ ให้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วย การป้องกันโมดูลและระบุความผิดพลาดของเครื่องมือด้วยอัลกอริทึมการวิเคราะห์จาก AI, การติดตามการใช้งานอัลกอริทึมอย่างเหมาะสมด้วยข้อมูลมหาศาลและระบบการเรียนรู้ด้วยตัวเองเพื่อมอบผลตอบแทนที่มากขึ้น และการประสานงานกันของระบบจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ด้วย AI เพื่อสร้างรายได้สูงสุดให้กับโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ ทั้งนี้ ด้วยความที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ลดลง ขณะที่ความซับซ้อนของ O&M มากขึ้น ผู้ประกอบการจึงมีแนวโน้มที่จะเลือกใช้เทคโนโลยี AI กันมากขึ้นในอนาคต

เทรนด์ที่ 3: โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ไร้มนุษย์

ภาระงานในโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์กว่า 80% จะไม่ต้องใช้มนุษย์อีกต่อไป ด้วยความสามารถของ AI และ IoT (Internet of Things) ผลิตภัณฑ์และบริการอัจฉริยะจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับระบบการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมด ด้วยการผสานรวมประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญเข้ากับกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โรงไฟฟ้าต่างๆ จึงมีแนวโน้มที่จะใช้ AI มาแทนที่ผู้เชี่ยวชาญด้าน O&M ในแง่ของการวิเคราะห์และการตัดสินใจ ส่วนโดรนสำรวจและหุ่นยนต์ O&M จะรับหน้าที่ดูแลงานที่อันตรายหรือต้องทำซ้ำๆ ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความแม่นยำสูงเพื่อยกระดับผลิตภาพและความปลอดภัยในโรงไฟฟ้า โดยหัวเว่ยคาดการณ์ว่า โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ในอนาคตจะไม่มีมนุษย์ทำงานเลย

เทรนด์ที่ 4: สนับสนุนโรงงานไฟฟ้าอย่างเต็มกำลัง

โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์จะเปลี่ยนบทบาทจาก “การปรับตัวตามโรงงานไฟฟ้า” สู่ “การสนับสนุนโรงงานไฟฟ้า” การเพิ่มขึ้นของพลังงานแบบ power-electronic-interfaced จะเข้ามาตีตลาดโรงงานไฟฟ้า และขัดขวางไม่ให้ผู้คนใช้งานระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในวงกว้าง ด้วยเหตุนี้ ในอีก 5 ปีข้างหน้า โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์จึงต้องเปลี่ยนตัวเองจากที่เคยปรับตัวตามโรงงานไฟฟ้า ให้กลายมาเป็นผู้สนับสนุนโรงงานไฟฟ้า ด้วยเหตุนี้ อินเวอร์เตอร์จึงต้องขยับขีดความสามารถ อาทิ เพิ่มความสามารถในการปรับอัตราส่วนลัดวงจร (SCR), ความสามารถในการควบคุมกระแสฮาร์มอนิกให้อยู่ในระดับไม่เกิน 1%, ความสามารถในการทนต่อสภาวะแรงดันสูง/ต่ำอย่างต่อเนื่อง และรักษาความถี่ของไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญในการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้า

เทรนด์ที่ 5: เซลล์แสงอาทิตย์ + การจัดเก็บ

สัดส่วนของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่มาคู่กับการกักเก็บพลังงานจะมีมากกว่า 30% การเข้าถึงแหล่งพลังงานใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น จะทำให้กริดพลังงานมีข้อกำหนดที่เข้มงวดขึ้นสำหรับการควบคุมความถี่และลดความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด ในขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีก็จะทำให้แบตเตอรี่มีราคาถูกลง จึงคาดการณ์ได้ว่า การกักเก็บพลังงานจะทำงานสอดคล้องกับระบบเซลล์แสงอาทิตย์และกลายมาเป็นส่วนประกอบสำคัญ โดยคาดว่าภายในปี 2568 สัดส่วนของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่มาคู่การกักเก็บพลังงานจะมีมากกว่า 30%

เทรนด์ที่ 6: โรงไฟฟ้าเสมือน

ระบบที่อยู่อาศัยกว่า 80% จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือน (VPP) ใน 5 ปีข้างหน้าจะมีการนำเทคโนโลยี ICT เช่น 5G บล็อกเชน และบริการคลาวด์ไปใช้กันอย่างกว้างขวางในโรงไฟฟ้าที่กระจายอยู่ทั่วไป จึงต้องมีการสร้าง VPP ขึ้นมาเพื่อดูแลการบริหารจัดการร่วมกัน และช่วยกันกำหนดในเรื่องเวลา การทำธุรกรรม และบริการเสริมสำหรับระบบพลังงาน นอกจากนี้ การพัฒนาขึ้นของเทคโนโลยี VPP ยังจะก่อให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ และดึงดูดผู้เล่นหน้าใหม่เข้าสู่ตลาดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจะกลายมาเป็นกลไกการเติบโตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต่อไป

เทรนด์ที่ 7: ความปลอดภัยในการใช้งาน

เทคโนโลยีตัดวงจรอาร์กฟอลต์ (AFCI) จะกลายเป็นฟีเจอร์ที่ต้องมีในระบบการจำหน่ายไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา และจะกลายมาเป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ การใช้งานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทำให้ความปลอดภัยของตัวอาคารและบุคคลถูกยกมาประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของอาร์กเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีความเสี่ยงจากสัมผัสของโหนดในโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ที่ไม่ดีจากขั้วเซลล์แสงอาทิตย์ รวมถึงการชำรุดแตกหักของสายเคเบิลที่เก่าหรือไม่พร้อมใช้งาน ซึ่งได้กลายเป็นความกังวลสำคัญในอุตสาหกรรม ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว AFCI จึงจะเข้ามาเป็นฟังก์ชันมาตรฐานสำหรับระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา และจะกลายเป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมระหว่างประเทศต่อไป

เทรนด์ที่ 8: ความหนาแน่นของพลังงานที่สูงกว่าเดิม

ความหนาแน่นพลังงานของอินเวอร์เตอร์จะเพิ่มขึ้นกว่า 50% ด้วยแนวโน้มการลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยไฟฟ้าปรับเฉลี่ย (LCOE) ของเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้โมดูลเดี่ยวมีความต้องการพลังงานที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันการซ่อมบำรุงอินเวอร์เตอร์ก็ควรที่จะง่ายขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้เป็นไปตามนั้น พลังงานจึงจำเป็นที่จะต้องถูกพัฒนาให้มีความหนาแน่นมากขึ้น โดยอาศัยความก้าวหน้าในการวิจัยเซมิคอนดักเตอร์แบบ wide-bandgap เช่น SiC และ GaN รวมถึงอัลกอริทึมการควบคุมชั้นสูง ซึ่งคาดว่าจะทำให้อินเวอร์เตอร์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่า 50% ใน 5 ปีข้างหน้า

เทรนด์ที่ 9 : ดีไซน์แบบแยกส่วน

ส่วนประกอบหลัก เช่น อินเวอร์เตอร์, PCS และอุปกรณ์กักเก็บพลังงานได้รับการออกแบบให้สามารถแยกส่วนได้ ซึ่งอินเวอร์เตอร์, PCS และอุปกรณ์กักเก็บพลังงานเป็นส่วนประกอบสำคัญในโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีผลต่อความพร้อมใช้งานของระบบโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เป็นอย่างมาก แต่ด้วยความที่โรงไฟฟ้ามีกำลังผลิตและความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น การบำรุงรักษาแบบเดิมที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการเลยต้องอาศัยค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จึงทำให้การออกแบบโมดูลให้สามารถแยกส่วนได้กลายมาเป็นที่นิยม เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการติดตั้ง สามารถขยายได้อย่างราบรื่น และบำรุงรักษาได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทั้งในแง่ของการดำเนินงาน, การบำรุงรักษา (O&M) และการปรับปรุงระบบเดิมให้ดีขึ้น

เทรนด์ที่ 10: ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ

ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือได้กลายเป็นข้อกำหนดที่จำเป็นสำหรับโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ การเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลก และความซับซ้อนของสถาปัตยกรรมเครือข่ายที่มากขึ้น ได้เข้าไปเพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของเครือข่ายของโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ ในขณะเดียวกัน ก็มีข้อกำหนดที่เข้มงวดขึ้นในส่วนของความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้งานโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่กระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เทรนด์เหล่านี้จึงชี้ให้เห็นว่า โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์จะต้องมีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในแง่ของความไว้วางใจ, ความพร้อมใช้งาน ความปลอดภัย, ความยืดหยุ่น และความเป็นส่วนตัวมากขึ้นกว่าเดิม
ความปรารถนาของมนุษย์ทุกคนที่ต้องการสำรวจสิ่งใหม่ ๆ นั้นไม่มีขีดจำกัด พวกเรามักมองหาหนทางที่ทำให้สามารถทะยานได้สูงขึ้น, ดำดิ่งลงไปได้ลึกกว่าเดิม และค้นหาความจริงใหม่ๆ อยู่เสมอ ในขณะที่การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี 5G คลาวด์ และ AI กำลังสร้างโลกที่ซึ่งทุกอย่างถูกสัมผัส, เชื่อมต่อ และชาญฉลาดด้วยความเร็วที่มากกว่าที่เราคิด หัวเว่ยจึงเปิดเผย 10 อันดับเทรนด์ของอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับปี 2568 นี้ออกมา ด้วยหวังว่าจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการสร้างโลกสีเขียวอัจฉริยะ ที่สามารถแบ่งปันศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดของโซลูชันพลังงานใหม่นี้ให้กับสังคมได้อย่างทั่วถึง

ข้อมูล : ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ บริษัท อินโฟเควสท์ จำกัด

Loading

สาระน่ารู้ที่น่าสในใจ

เข้าสู่ระบบ

แจ้งเบาะแส "ทุจริต หรือ มิชอบ"

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน

แจ้งข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ

ข้อแนะนำในการใช้งาน


ข้อตกลงการใช้ระบบ
1.ระบบ VOC หรือ Voice of Customer นี้เป็นช่องทางหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อรับฟังเสียงจากนักศึกษา บุคลากร นักศึกษาเก่า และบุคคลทั่วไป โดยจะรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากผู้รับบริการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาบริการของสำนักให้มีคุณภาพมาตรฐานที่ดี และตรงตามความต้องการของผู้รับบริการให้มากยิ่งขึ้น
2. การแจ้งข้อร้องเรียนหรือพบปัญหาการใช้บริการ มีความจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเบื้องต้น เช่น ชื่อนามสกุล อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ข้อเท็จจริงที่พบปัญหา วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ ข้อมูลของระบบที่ใช้ และรูปภาพที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับ และเพื่อให้การตรวจสอบหรือแก้ไขปัญหาแก่ผู้รับบริการทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3. ข้อความที่ใช้ควรเป็นถ้อยคำที่สุภาพ เป็นไปตามทำนองคลองธรรม และถูกต้องตามกฎหมาย
4. การนำความอันเป็นเท็จมาร้องเรียน หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น ผู้ร้องอาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางวินัยและทางอาญา
5. เป็นเรื่องที่ผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรือขอให้แก้ไข อันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยหรือจากส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. กรณีที่ผู้แจ้งไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอหรือไม่เปิดเผยตัวตน และสำนักฯ ไม่สามารถติดต่อประสานขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ สำนักฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาเรื่องดังกล่าว แต่หากเป็นข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ สำนักฯ มีความยินดีจะรับเรื่องดังกล่าวไปพัฒนาการให้บริการของสำนักให้ดีที่สุดต่อไป
7. เรื่องที่ไม่ปรากฏตัวตนผู้ร้องหรือตรวจสอบตัวตนของผู้ร้องไม่ได้ หรือมีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์ อาจรับไว้พิจารณาก็ได้ ถ้าหากระบุหลักฐานกรณีแวดล้อมปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอน สามารถสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไปได้และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
8. หลังจากที่ระบบได้รับเรื่องจากผู้แจ้งแล้ว หากผู้แจ้งได้ให้อีเมล (email) ไว้ ระบบจะมีการติดตามความคืบหน้าโดยอัตโนมัติ และรายงานผลการพิจารณาหรือข้อสรุปการดำเนินการที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้แจ้งทราบโดยเร็วผ่านทางอีเมล์ของผู้แจ้ง

* ข้าพเจ้าได้อ่านข้อตกลงเป็นอย่างดีแล้ว และยอมรับตามข้อตกลงนี้
* โปรดระบุ Email และเบอร์โทรศัพท์ของท่าน เพื่อใช้ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการให้ทราบผ่านทาง Email

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน