"องค์กรผู้นำด้านก๊าซเรือนกระจก

นโยบาย“รถยนต์ไฟฟ้า” ของไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ

แบ่งปันเรื่องราวนี้ผ่านช่องทาง

รถที่ใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้มักก่อให้เกิดมลพิษอย่าง PM 2.5 ที่ประเทศไทย และอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญ และเริ่มตระหนักถึงปัญหานี้ แต่ละประเทศจึงพยายามผลักดันนโยบายให้มีการใช้ ‘รถยนต์ไฟฟ้า/รถ EV’ (Electric Vehicle) นอกจากจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนแล้ว ยังเป็นเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

ทั้งนี้รถยนต์ไฟฟ้าที่หลายคนคิดว่าคงใช้จริงไม่ได้ วิ่งได้ไม่กี่กิโลฯ เดี๋ยวแบตก็หมด ปัจจุบันบริษัทใหญ่หลายค่ายได้เปลี่ยนและพัฒนามาเปลี่ยนรถยนต์ไฟฟ้าที่เทียบเท่าหรือดีกว่ารถยนต์เชื้อเพลิง และยังมี ‘Fast charge’ ที่ทำให้การชาร์จไฟแต่ละครั้งใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง

แต่การที่จะให้คนยอมเปลี่ยนมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นทั้งรัฐและเอกชนต้องผลักดันนโยบายที่ทั้งพัฒนาเทคโนโลยีให้เหมาะสมพร้อมกับลดราคาที่แพง

ผศ.ดร.ภูรี สิรสุนทร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ขอสังเกตุว่านโยบายของประเทศที่ทำสำเร็จและอยู่ในสถานะ “ผู้นำ Electric Vehicle” เขาผลักดันนโยบายกันอย่างไร มีวิธีการหรือมาตรการอย่างไรให้คนหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

ผศ.ดร.ภูรี สิรสุนทร ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า “เราต้องมีเป้าที่ชัดเจน นโยบายที่เป็นขั้นเป็นตอน แล้วก็ทำให้มันเกิดขึ้นได้จริงๆ ประเทศไทยลงทุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเยอะมากจนตอนนี้มีสถานีชาร์จ แต่ไม่มีรถไปชาร์จ เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าในไทยยังมีราคาค่อนข้างสูง”

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม กระแสการใช้รถ EV ก็จะมาแน่นอน และโลกจะสร้างกระแสกดดันให้เราต้องเปลี่ยนตามกระแสธารแห่งเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นประเทศไทยเองก็ต้องเปลี่ยนด้วยความพร้อม ไม่เอาแบบฉุกละหุก ไม่สะเทือนกระเป๋าตังค์ของพวกเราจนรัฐไม่ยื่นมือมารับผิดชอบอะไร อ้างอิงงานวิจัย โครงการประเมินมาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ต่อการยอมรับของผู้บริโภคและประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคขนส่ง

ประเทศไทย

ในปัจจุบันจำนวนผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในไทยยังมีจำนวนน้อยมาก อาจเป็นเพราะราคาที่สูงเกินไปเมื่อเทียบกับสมรรถนะและความสะดวกสบายที่ได้รับ แถมแบรนด์ที่นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าก็ยังมีให้เลือกไม่มากนัก บวกกับทัศนะคติของคนทั่วไปที่มีความกังวล และไม่เข้าใจเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเพียงพอ

การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในไทยเรียกได้ว่ายังอยู่ในระยะเริ่มต้น มีการจัดซื้อและใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าขนส่งสาธารณะเพื่อเป็นตัวอย่างนำร่อง ส่วนมาตรการทางด้านภาษีได้กำหนดไว้ในอัตราที่ต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง0

ประเทศไทยมีการส่งเสริมการลงทุนในรถยนต์ไฟฟ้าให้แก่ผู้ผลิต ทั้งการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นอากรการนำเข้าพวกชิ้นส่วนและอุปกรณ์ โดยผู้ผลิตต้องยื่นเข้ารับการส่งเสริมแก่ BOI และยังมีมาตรการในการลดภาษีสรรพาสามิต และทำให้ผู้บริโภคหาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้ในราคาที่ถูกลง 

โดยภาครัฐมีเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริดปลั๊กอิน และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่รวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านคันในปี พ.ศ. 2579 แต่จะทำสำเร็จไหมต้องมาคอยลุ้นกันต่อไป

นโยบายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในต่างประเทศ

ประเทศนอร์เวย์

ผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจะได้รับการยกเว้นภาษีจดทะเบียนและภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยรัฐให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการที่ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า และผู้ที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า 

ทุกคนในประเทศสามารถชาร์จไฟฟ้าในแท่นชาร์จสาธารณะได้ ‘โดยไม่มีค่าใช้จ่าย’ มียกเว้นค่าผ่านทางในถนนที่มีการเก็บค่าผ่านทาง และอนุญาตให้รถยนต์ไฟฟ้าใช้ช่องทางสำหรับรถโดยสารประจำทางและรถแท็กซี่ (Bus and taxi lanes) พร้อมทั้งให้จอดรถในพื้นที่สาธารณะทุกแห่งได้โดยไม่เสียค่าจอด

ประเทศเยอรมนี

กำลังมุ่งไปสู่การเป็นผู้นำการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยทุ่มงบประมาณไปกับการวิจัย และทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า

นอกจากนี้ยังมีการใช้มาตรการในการจูงใจให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น อย่างเช่น ยกเว้นการเก็บภาษียานยนต์เป็นระยะเวลา 5-10 ปี ตามช่วงเวลาที่ออกรถตามแผนนโยบายของรัฐที่ตั้งไว้ และสนับสนุนเงินให้แก่ผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า โดยจะให้เงินชดเชยสำหรับการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไว้ใช้ส่วนตัวสูงสุด 5,000 ยูโร หรือหากเป็นรถยนต์ของบริษัทก็จะชดเชยให้ 3,000 ยูโร 

ผู้ใช้ยังได้รับสิทธิพิเศษที่รัฐบาลมอบให้กับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell EV) หากเข้าเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งไม่ต้องเสียค่าที่จอดรถ หรือมีที่จอดรถเฉพาะสาหรับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงสิทธิในการใช้ช่องทางเดินรถพิเศษ สิทธิในการเข้าพื้นที่จำกัดซึ่งเปิดให้เฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า

ประเทศญี่ปุ่น

มาดูในฝั่งเอเชียอย่างประเทศญี่ปุ่น ภาครัฐนั้นให้เงินสนับสนุนในเรื่องของงานวิจัยพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยมุ่งให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆทั้งเรื่องของโมเดลรถและแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และได้มีการทำข้อตกลงร่วมกันตั้งแต่ต้นในเรื่องของ ‘แท่นชาร์จ’ ให้รถทุกยี่ห้อสามารถใช้หัวชาร์จแบบเดียวกันได้ 

รวมถึงยังมีการให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการลดหรือยกเว้นภาษีจากผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีมาตรการนำรถยนต์ทั่วไปคันเก่า มาแลกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่ที่สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่รัฐกำหนดไว้ อีกทั้งมีการจัดตั้ง ‘เมืองยานยนต์ไฟฟ้า EV/PHEV town’ เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบที่มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย

ที่มา https://thematter.co/science-tech/ev-policies/70558?utm_source=LINE&utm_medium=Content%20Discovery&utm_campaign=LINE%20TODAY

รูปภาพ www.freepik.com

สาระน่ารู้ที่น่าสในใจ

เข้าสู่ระบบ

แจ้งเบาะแส "ทุจริต หรือ มิชอบ"

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน

แจ้งข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ

ข้อแนะนำในการใช้งาน


ข้อตกลงการใช้ระบบ
1.ระบบ VOC หรือ Voice of Customer นี้เป็นช่องทางหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อรับฟังเสียงจากนักศึกษา บุคลากร นักศึกษาเก่า และบุคคลทั่วไป โดยจะรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากผู้รับบริการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาบริการของสำนักให้มีคุณภาพมาตรฐานที่ดี และตรงตามความต้องการของผู้รับบริการให้มากยิ่งขึ้น
2. การแจ้งข้อร้องเรียนหรือพบปัญหาการใช้บริการ มีความจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเบื้องต้น เช่น ชื่อนามสกุล อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ข้อเท็จจริงที่พบปัญหา วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ ข้อมูลของระบบที่ใช้ และรูปภาพที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับ และเพื่อให้การตรวจสอบหรือแก้ไขปัญหาแก่ผู้รับบริการทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3. ข้อความที่ใช้ควรเป็นถ้อยคำที่สุภาพ เป็นไปตามทำนองคลองธรรม และถูกต้องตามกฎหมาย
4. การนำความอันเป็นเท็จมาร้องเรียน หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น ผู้ร้องอาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางวินัยและทางอาญา
5. เป็นเรื่องที่ผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรือขอให้แก้ไข อันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยหรือจากส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. กรณีที่ผู้แจ้งไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอหรือไม่เปิดเผยตัวตน และสำนักฯ ไม่สามารถติดต่อประสานขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ สำนักฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาเรื่องดังกล่าว แต่หากเป็นข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ สำนักฯ มีความยินดีจะรับเรื่องดังกล่าวไปพัฒนาการให้บริการของสำนักให้ดีที่สุดต่อไป
7. เรื่องที่ไม่ปรากฏตัวตนผู้ร้องหรือตรวจสอบตัวตนของผู้ร้องไม่ได้ หรือมีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์ อาจรับไว้พิจารณาก็ได้ ถ้าหากระบุหลักฐานกรณีแวดล้อมปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอน สามารถสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไปได้และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
8. หลังจากที่ระบบได้รับเรื่องจากผู้แจ้งแล้ว หากผู้แจ้งได้ให้อีเมล (email) ไว้ ระบบจะมีการติดตามความคืบหน้าโดยอัตโนมัติ และรายงานผลการพิจารณาหรือข้อสรุปการดำเนินการที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้แจ้งทราบโดยเร็วผ่านทางอีเมล์ของผู้แจ้ง

* ข้าพเจ้าได้อ่านข้อตกลงเป็นอย่างดีแล้ว และยอมรับตามข้อตกลงนี้
* โปรดระบุ Email และเบอร์โทรศัพท์ของท่าน เพื่อใช้ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการให้ทราบผ่านทาง Email

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน