สถาบันเพื่อสุขภาพโลกแห่งบาร์เซโลนา (ISGlobal) จากประเทศสเปน โดยด็อกเตอร์ Otavio T. Ranzani เผยว่าพบความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง PM2.5 และ ผงฝุ่นเขม่าคาร์บอนดำ (Black Carbon) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของฝุ่นละออง PM 2.5 ต่อกระดูกของมนุษย์ โดยทำการเก็บตัวอย่างจากชาวอินเดียกว่า 3,700 คน อายุเฉลี่ยราว 35.7 ปี ในเขตรอบเมืองไฮเดอราบัดของอินเดีย เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีฝุ่นละอองสูงกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกถึง 3 เท่า
โดยทีมวิจัยได้ได้ถ่ายภาพรังสี เพื่อตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งผลที่ได้พบว่า ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ที่เพิ่มทุกๆ 3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร ทั้งเพศชายและเพศหญิง ความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกสันหลังจะลดลง 0.011 กรัมต่อตารางเซนติเมตร และกระดูกสะโพกจะลดลง 0.004 กรัมต่อตารางเซนติเมตร อันนำมาสู่โรคกระดูกพรุน (osteoporosis)
ทั้งนี้ยังมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2017 พบว่ามลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 จากเมืองบอสตัน สหรัฐฯ อาจเป็นตัวการที่ทำให้มีผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนราว 86,000 ราย
ขอบคุณข้อมูลจาก https://stem.in.th/