"องค์กรผู้นำด้านก๊าซเรือนกระจก

CBG งานวิจัยเก่าแต่เก๋าเพื่อชุมชน สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน (#SDGs)

งานวิจัยที่ดีต้องสามารถนำไปใช้ได้จริงเพื่อคนในชุมชนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG )หนึ่งในงานวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ งานวิจัยเพื่อชุมชนตลอดกว่า9ปีที่ผ่านมา สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (SDGs) ให้กับชุมชน

SDG13 ก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG ) แก้ปัญหาโลกร้อน

ก๊าซ CBG เกิดจาก การนำก๊าซชีวภาพจากฟาร์มปศุสัตว์ หรือโรงงานอุตสาหกรรม มาปรับปรุงคุณภาพ โดยการกำจัด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และความชื้นให้หมดไป ไม่ให้หลุดออกไปทำลายชั้นบรรยากาศ และจะเหลือแต่ก๊าซมีเทน (CH4) ที่มีคุณสมบัติให้ความร้อนสูง สามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ทดแทนก๊าซ NGV และก๊าซหุงต้ม (LPG) ในครัวเรือนได้ ซึ่งหากนำก๊าซ CBG มาใช้ในรถยนต์เครื่องดีเซล (รถกระบะทั่วไป) สามารถลดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ถึง 3.71 kgCO2eq./km และนำก๊าซ CBG มาใช้ในรถยนต์เครื่องเบนซิน (รถเก๋งทั่วไป) สามารถลดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ถึง 3.62 kgCO2eq./km

หมู่บ้านโรงวัว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เป็นหนึ่งตัวอย่างชุมชนที่ได้ใช้ CBG ทดแทนก๊าซหุงเลือก โดยมีสถานีผลิตและจ่ายก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) ตั้งอยู่ที่ บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับชุมชน โดยรสนับสนุนงบประมาณภายใต้ “โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานเพื่อทดแทนก๊าซปิโตรเลียมเหลวในเชิงพาณิชย์” กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน โดยใช้งานจริงมาตั้งแต่ปี 2557

SDG7 พลังงานสะอาดราคาถูก ทันสมัย ยั่งยืน เสถียร และราคาไม่แพงสำหรับคนในชุมชน

ก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซหุงต้ม (LPG) และนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างพอเพียง สร้างความยั่งยืนในชุมชน ลดการพึ่งพาการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศ

สถานีผลิตและจ่ายก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) ที่ บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด เป็นการนำก๊าซชีวภาพซึ่งเกิดจากมูลไก่ของฟาร์ม มาผ่านกระบวนการของเทคโนโลยี Water Scrubbing หรือแบบวิธีดูดซึมด้วยน้ำที่ความดัน 4 barg สามารถผลิต CBG ได้ถึง 420 กิโลกรัม/วัน หรือ 153,300 กิโลกรัม/ปี โดยมีราคาต้นทุน 12 บาทต่อกิโลกรัม สามารถมาทดแทนก๊าซหุงต้มได้ถึง 133,000 กิโลกรัม/ปี คิดเป็นมูลค่าถึง 3,308,000 บาท/ปี (คิดที่ราคา LPG 24.82 บาทต่อกิโลกรัม) และจากการทดสอบก๊าซ CBG พบว่ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับก๊าซ LPG สามารถใช้ทดแทนกันได้ ซึ่งปัจจุบันได้นำก๊าซชีวภาพไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์มได้ประมาณ 25,200 กิโลวัตต์/เดือน คิดเป็นมูลค่า 100,800 บาท และแจกจ่ายให้ชุมชนบ้านโรงวัวใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 82 ครัวเรือน


SDG11 การวางแผนของบริหารจัดการการเมืองและชุมชนอย่างมีส่วนร่วม บูรณาการและยั่งยืน

หมู่บ้านโรงวัวจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการบริหารจัดการสถานีผลิตและจ่ายก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG)

จากผลการดำเนินการดังกล่าว ชาวบ้านจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์จากก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) จึงร่วมกันดำเนินการสานต่อโครงการฯ ดังกล่าวต่อจากสถาบันฯ โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการบริหารจัดการสถานีผลิตและจ่ายก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) โดยเรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการจัดการบริหารทั้งกระบวนการ มีการกำหนดกฏระเบียบสำหรับผู้ใช้ก๊าซ มีทีมบริหารจัดการดูแลระบบ มีการจัดตั้งกองทุนบริหารก๊าซ CBG อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนับเป็นการก้าวสู่การเป็นชุมชนที่มีการจัดการ บริหารพลังงานทดแทนด้วยตนเองอย่างยั่งยืน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในสภาวะที่เศรษฐกิจยังไม่มั่นคงในขณะนี้ ทำให้ชาวบ้านมีพลังงานทดแทนที่สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใช้ นำร่องเป็นหมู่บ้านปลอด LPG แห่งแรกของประเทศไทย

https://youtu.be/T9ObSP246us

สาระน่ารู้ที่น่าสในใจ

เข้าสู่ระบบ

แจ้งเบาะแส "ทุจริต หรือ มิชอบ"

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน

แจ้งข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ

ข้อแนะนำในการใช้งาน


ข้อตกลงการใช้ระบบ
1.ระบบ VOC หรือ Voice of Customer นี้เป็นช่องทางหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อรับฟังเสียงจากนักศึกษา บุคลากร นักศึกษาเก่า และบุคคลทั่วไป โดยจะรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากผู้รับบริการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาบริการของสำนักให้มีคุณภาพมาตรฐานที่ดี และตรงตามความต้องการของผู้รับบริการให้มากยิ่งขึ้น
2. การแจ้งข้อร้องเรียนหรือพบปัญหาการใช้บริการ มีความจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเบื้องต้น เช่น ชื่อนามสกุล อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ข้อเท็จจริงที่พบปัญหา วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ ข้อมูลของระบบที่ใช้ และรูปภาพที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับ และเพื่อให้การตรวจสอบหรือแก้ไขปัญหาแก่ผู้รับบริการทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3. ข้อความที่ใช้ควรเป็นถ้อยคำที่สุภาพ เป็นไปตามทำนองคลองธรรม และถูกต้องตามกฎหมาย
4. การนำความอันเป็นเท็จมาร้องเรียน หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น ผู้ร้องอาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางวินัยและทางอาญา
5. เป็นเรื่องที่ผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรือขอให้แก้ไข อันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยหรือจากส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. กรณีที่ผู้แจ้งไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอหรือไม่เปิดเผยตัวตน และสำนักฯ ไม่สามารถติดต่อประสานขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ สำนักฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาเรื่องดังกล่าว แต่หากเป็นข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ สำนักฯ มีความยินดีจะรับเรื่องดังกล่าวไปพัฒนาการให้บริการของสำนักให้ดีที่สุดต่อไป
7. เรื่องที่ไม่ปรากฏตัวตนผู้ร้องหรือตรวจสอบตัวตนของผู้ร้องไม่ได้ หรือมีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์ อาจรับไว้พิจารณาก็ได้ ถ้าหากระบุหลักฐานกรณีแวดล้อมปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอน สามารถสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไปได้และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
8. หลังจากที่ระบบได้รับเรื่องจากผู้แจ้งแล้ว หากผู้แจ้งได้ให้อีเมล (email) ไว้ ระบบจะมีการติดตามความคืบหน้าโดยอัตโนมัติ และรายงานผลการพิจารณาหรือข้อสรุปการดำเนินการที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้แจ้งทราบโดยเร็วผ่านทางอีเมล์ของผู้แจ้ง

* ข้าพเจ้าได้อ่านข้อตกลงเป็นอย่างดีแล้ว และยอมรับตามข้อตกลงนี้
* โปรดระบุ Email และเบอร์โทรศัพท์ของท่าน เพื่อใช้ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการให้ทราบผ่านทาง Email

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน