ระบบแก๊สชีวภาพที่เหมาะสมในระดับชุมชน มีหลากหลายรูปแบบ เช่น แบบพลาสติก PE แบบไฟเบอร์กลาส แบบโอ่ง แบบฝาครอบลอย แบบถุงดำ PVC แบบถุงผ้าเส้นใยไนล่อน PE ระบบบ่อหมักแก๊สชีวภาพแบบโอ่งขนาด 2 ลบม.
เมื่อเติมมูลสัตว์ 1 กก./วัน ทำให้เกิดก๊าซชีวภาพในปริมาตรเฉลี่ย 0.5 ลบม./วัน สามารถทดแทนแก๊ส LPG ได้ 0.23 กก./วัน ประหยัดเงิน 5.4 บาท/วัน เมื่อนำไปใช้งานในครัวเรือนทำให้ภาคครัวเรือนสามารถประหยัดค่าแก๊ส LPG ได้ 1,971 บาทต่อปี และหากเพิ่มความจุเป็นขนาด 4 ลบม. ก็จะทำให้สามารถประหยัดค่าแก๊ส LPG ขนาดถัง 15 กก. ได้ถึง 3,942 บาท/ปี หรือ 12 ถัง/ปี (คิดที่การใช้ 1 ถัง/เดือน)
การนำระบบบ่อหมักแก๊สชีวภาพขนาด 2 ลบ.ม. ไปใช้งานในครัวเรือน ทำให้ภาคครัวเรือนสามารถประหยัดค่าแก๊ส LPG ได้ แต่ยังคงต้องใช้แก๊ส LPG ร่วมกับแก๊สชีวภาพอยู่ ถ้ามีการส่งเสริมให้ภาคครัวเรือนมีระบบบ่อแก๊สชีวภาพไว้ใช้งานมากกว่า 1 ระบบขึ้นไป จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของแก๊ส LPG ได้มากขึ้น
โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้แก๊สชีวภาพในพื้นที่ต้นแบบ คือ การสร้างทีมอาสาสมัครพลังงานชุมชน ให้มีศักยภาพในเชิงความรู้เชิงทฤษฎี การใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ และความปลอดภัยในการใช้แก๊สชีวภาพ ซึ่งปัจจุบันอาสาสมัครพลังงานชุมชนมีความสามารถก่อสร้างระบบแก๊สชีวภาพได้ด้วยตน เอง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปขยายผลการก่อสร้างระบบแก๊สชีวภาพและแนะนำแนวทางการดูแลบำรุงรักษา เพื่อการพึ่งพาตนเองของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
ข้อมูล : ppp.energy