"องค์กรผู้นำด้านก๊าซเรือนกระจก

ก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียเต้าหู้ถั่วเหลือง

เต้าหู้…ผลิตภัณฑ์จาก ‘ถั่วเหลือง’ ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนเส้นใยสูง และมีคุณค่าทางอาหารไม่แพ้โปรตีนจากเนื้อสัตว์ สามารถนำมาดัดแปลงทำเป็นเมนูอาหารได้หลากหลาย ถือเป็นอาหารสารพัดประโยชน์เพื่อสุขภาพ แต่ในกระบวนการผลิตกว่าจะได้มาซึ่งเต้าหู้นั้น จะมีใครรู้บ้างว่า เต้าหู้ที่ผลิตได้จากถั่วเหลืองเพียง 1 กิโลกรัม ต้องใช้น้ำในการผลิตมากถึง 10 ลิตร และผลจากน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการผลิตนั้นหากไม่ได้มีการบำบัด จะก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

นายเจตพงศ์ วิภาวีราษฎร์ ผู้ผลิต “เต้าหู้คุณประเสริฐอุตสาหกรรมอาหาร” จากไข่ไก่ และถั่วเหลือง ในตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การผลิตเต้าหู้จากถั่วเหลืองของโรงงานต้องใช้ถั่วเหลืองในการผลิตไม่ต่ำกว่า 300 กิโลกรัมต่อวัน จำเป็นต้องใช้น้ำในปริมาณมาก ทำให้ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละวันค่อนข้างสูงกว่า 20 ลูกบาศก์เมตร ปัญหาตามมาคือ น้ำเสียที่ปล่อยทิ้งโดยไม่ผ่านการบำบัดได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นรบกวนชุมชน ทำให้โรงงานถูกร้องเรียนบ่อยๆ จนต้องย้ายโรงงานผลิตมาแล้วถึง 3 แห่ง ต่อมาได้ตัดสินใจซื้อพื้นที่ในตำบลดอนเปา อ.แม่วาง เพื่อก่อสร้างเป็นโรงงานแห่งใหม่ และตัดสินใจที่จะไม่ย้ายโรงงานอีกต่อไป

ดังนั้น เพื่อให้โรงงานที่ก่อตั้งขึ้นใหม่นี้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ จึงต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นจากน้ำเสียดังกล่าว และเห็นว่าโรงงานต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย จึงได้ขอเข้ารับการสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย(iTAP) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี(TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เครือข่ายภาคเหนือ ใน “ โครงการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียที่ให้ก๊าซชีวภาพสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากโปรตีนถั่วเหลืองขนาดเล็ก ”
โดยทำการวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่ทางโครงการ iTAP จัดส่งเข้ามาเป็นที่ปรึกษาจากสถาบันพัฒนาและวิจัยพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนางสาวสุวิมล สวยสม เป็นหัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญฯ เข้ามาช่วยเหลือในการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ โดยเข้าร่วมโครงการเมื่อเดือนเมษายนปี 2549 จนถึงเดือนมีนาคมปี 2550


สำหรับระบบบำบัดน้ำเสียที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมกับน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์สูง นอกจากนี้ในการเดินระบบยังใช้พลังงานต่ำ รักษาและดูแลง่าย ช่วยลดกลิ่นเหม็นจากน้ำเสียและสามารถผลิตก๊าซชีวภาพซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตเต้าหู้ถั่วเหลืองมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในกระบวนการผลิตได้ใหม่


ผลที่ได้จากการดำเนินงานโครงการ พบว่า โรงงานมีระบบการบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมกับกำลังการผลิตที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงาน ขนาด 20 ลูกบาศก์เมตร/วัน นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นแล้ว ยังสามารถผลิตก๊าซชีวภาพนำมาใช้ประโยชน์ในการต้มน้ำในหม้อต้มไอน้ำ ( Boiler ) ของโรงงานได้บางส่วนสลับกับการใช้ขี้เลื่อย ทำให้ลดต้นทุนเชื้อเพลิงลง และน้ำทิ้งจากระบบบำบัดยังสามารถนำกลับมาใช้หมุนเวียนสำหรับการลดน้ำต้นไม้ภายในโรงงานได้ ทำให้ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า นอกจากนี้ระบบบำบัดน้ำเสียดังกล่าวยังเป็นต้นแบบให้กับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กอื่นๆ ได้


นายเจตพงศ์ กล่าวว่า ปัจจุบัน โรงงานมีกำลังการผลิตเต้าหู้จากถั่วเหลืองประมาณ 300 กิโลกรัมต่อวัน สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้เฉลี่ยวันละ 30 กิโลกรัม หรือ เท่ากับก๊าซหุงต้มขนาด 30 กิโลกรัม 1 ถัง แม้จะยังไม่เพียงพอหากนำมาใช้กับกระบวนการผลิตในโรงงานได้ทั้งหมด แต่ก็พอสำหรับการนำมาใช้หุงต้มในครัวเรือนซึ่งปัจจุบันโรงงานเลิกซื้อก๊าซสำหรับการหุงต้มแล้ว และปัญหาเรื่องกลิ่นก็หายไป ชุมชนไม่ต้องเดือดร้อนจากปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป นับว่าคุ้มค่ากับการลงทุน

 

Loading

สาระน่ารู้ที่น่าสในใจ

เข้าสู่ระบบ

แจ้งเบาะแส "ทุจริต หรือ มิชอบ"

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน

แจ้งข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ

ข้อแนะนำในการใช้งาน


ข้อตกลงการใช้ระบบ
1.ระบบ VOC หรือ Voice of Customer นี้เป็นช่องทางหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อรับฟังเสียงจากนักศึกษา บุคลากร นักศึกษาเก่า และบุคคลทั่วไป โดยจะรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากผู้รับบริการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาบริการของสำนักให้มีคุณภาพมาตรฐานที่ดี และตรงตามความต้องการของผู้รับบริการให้มากยิ่งขึ้น
2. การแจ้งข้อร้องเรียนหรือพบปัญหาการใช้บริการ มีความจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเบื้องต้น เช่น ชื่อนามสกุล อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ข้อเท็จจริงที่พบปัญหา วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ ข้อมูลของระบบที่ใช้ และรูปภาพที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับ และเพื่อให้การตรวจสอบหรือแก้ไขปัญหาแก่ผู้รับบริการทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3. ข้อความที่ใช้ควรเป็นถ้อยคำที่สุภาพ เป็นไปตามทำนองคลองธรรม และถูกต้องตามกฎหมาย
4. การนำความอันเป็นเท็จมาร้องเรียน หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น ผู้ร้องอาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางวินัยและทางอาญา
5. เป็นเรื่องที่ผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรือขอให้แก้ไข อันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยหรือจากส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. กรณีที่ผู้แจ้งไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอหรือไม่เปิดเผยตัวตน และสำนักฯ ไม่สามารถติดต่อประสานขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ สำนักฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาเรื่องดังกล่าว แต่หากเป็นข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ สำนักฯ มีความยินดีจะรับเรื่องดังกล่าวไปพัฒนาการให้บริการของสำนักให้ดีที่สุดต่อไป
7. เรื่องที่ไม่ปรากฏตัวตนผู้ร้องหรือตรวจสอบตัวตนของผู้ร้องไม่ได้ หรือมีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์ อาจรับไว้พิจารณาก็ได้ ถ้าหากระบุหลักฐานกรณีแวดล้อมปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอน สามารถสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไปได้และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
8. หลังจากที่ระบบได้รับเรื่องจากผู้แจ้งแล้ว หากผู้แจ้งได้ให้อีเมล (email) ไว้ ระบบจะมีการติดตามความคืบหน้าโดยอัตโนมัติ และรายงานผลการพิจารณาหรือข้อสรุปการดำเนินการที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้แจ้งทราบโดยเร็วผ่านทางอีเมล์ของผู้แจ้ง

* ข้าพเจ้าได้อ่านข้อตกลงเป็นอย่างดีแล้ว และยอมรับตามข้อตกลงนี้
* โปรดระบุ Email และเบอร์โทรศัพท์ของท่าน เพื่อใช้ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการให้ทราบผ่านทาง Email

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน