"องค์กรผู้นำด้านก๊าซเรือนกระจก

“ของเสียจากปาล์มน้ำมัน ปั่นไฟฟ้า ลดโลกร้อน”

“ปาล์มน้ำมัน” ถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของพี่น้องเกษตรกรชาวใต้อีกชนิดหนึ่ง รองลงมาจากต้นยางที่เรารู้จักกันดี ส่วนใหญ่ปาล์มน้ำมันจะถูกนำมาสกัดเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เพื่อใช้ในการปรุงอาหาร แต่จากสถานการณ์ราคาพลังงานพุ่งสูง น้ำมันปาล์มดิบจึงมีประโยชน์ด้านพลังงานเพิ่มอีกอย่างหนึ่ง คือถูกนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซลหรือที่รู้จักในชื่อ B5 สำหรับใช้ในเครื่องยนต์ดีเซล


ในกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มก่อให้เกิดของเสียจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่มาของปัญหามลพิษทางน้ำและกลิ่น เนื่องจากของเสียดังกล่าวมีความสกปรกสูงและมีกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้านบริเวณโรงงาน ช่วงฤดูฝนหากฝนตกหนัก น้ำเสียจะเอ่อล้นออกจากบ่อเก็บของโรงงานไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติสร้างความเดือดร้อนต่อชาวบ้านเพิ่มขึ้น ดังนั้นแต่ละโรงงานจึงต้องหาวิธีจัดการน้ำเสียที่ไม่ส่งผลกระทบท่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม


การนำน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เพราะข้อดีของน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มคือมีค่าความสกปรกสูงและมีปริมาณมากในแต่ละวัน จึงมีความเหมาะสมในการนำมาผลิตพลังงานทดแทนในรูปแบบของก๊าซชีวภาพ โดยก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้จะถูกนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้ในโรงงานหรือเพื่อขายให้แก่การไฟฟ้าเพื่อเป็นรายได้ให้แก่โรงงานอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้กากตะกอนที่ได้จากระบบก๊าซชีวภาพนั้นยังสามารถนำมาตากแห้งเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้อีกด้วย ซึ่งการบำบัดน้ำเสียโดดยระบบก๊าซชีวภาพลดค่าความสกปรกของน้ำลงกว่าร้อยละ 80 ลดปัญหาเรื่องกลิ่นรบกวนเพราะระบบก๊าซชีวภาพเป็นระบบปิด จึงไม่สามารถที่กลิ่นเหม็นจะเล็ดลอดออกไปสร้างปัญหาแก่ชุมชนได้ง่ายเหมือนแต่ก่อน ส่วนน้ำเสียที่ผ่านระบบระบบบำบัดจะมีคุณภาพดีพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้ต่อไป


บริษัท ตรังน้ำมันปาล์ม เป็นอีกหนึ่งโรงงานที่สกัดน้ำมันปาล์มมีกำลังการผลิต 45 ตันต่อชั่วโมงของการบีบผลปาล์มดิบ (FFB) มีน้ำเสียจากกระบวนการผลิตประมาณวันละ 500 ลบ.ม. ก่อนก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพโรงงานมีปัญหาเรื่องน้ำเสียส่งผลต่อชุมชนทำให้ประสบปัญหาถูกร้องเรียนอยู่บ่อยครั้ง แต่หลังจากก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพ น้ำเสียวันละ 12,000 ลบ.ม.จากการผลิตน้ำมันปาล์มได้ถูกนำไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าขนาด 2 MWh เพื่อขายให้แก่การไฟฟ้าสร้างรายได้ให้แก่โรงงานอีกทางหนึ่ง ได้ปุ๋ยชีวภาพจากกากที่เหลือจากระบบก๊าซชีวภาพอีกสัปดาห์ละ 5 – 8 ตัน ปัญหาเรื่องน้ำเสียที่เคยมีได้ถูกบรรเทาจนไม่ก่อปัญหาให้แก่โรงงานอีก นอกจากนี้ระบบก๊าซชีวภาพที่ได้ก่อสร้างนั้นยังมีส่วนช่วยลดปัญหาโลกร้อนและส่งผลให้โรงงานมีรายได้ส่วนหนึ่งจากโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย โดยประมาณการว่าในแต่ละปีโรงงานแห่งนี้สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้ไม่น้อยกว่า 30,000 ตัน
ที่สำคัญที่สุดเมื่อโรงงานสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้โดยต่างเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน การประกอบธุรกิจของโรงงานก็สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น โดยมีระบบก๊าซชีวภาพเป็นตัวกลางในการช่วยประสานและแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาทั้งทางสังคมและสิ่งแวดล้อม หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่ดำเนินกิจการฟาร์มปศุสัตว์ ธุรกิจอุตสาหกรรมตลอดจนธุรกิจด้านพลังงาน ที่ให้ความสำคัญในการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อลดปัญหามลภาวะ และเพิ่มปริมาณการผลิตพลังงาน เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนพลังงาน การติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพสามารถช่วยท่านได้ โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-5394-2007-9 ต่อ 310,311 ในวันและเวลาราชการ

Loading

สาระน่ารู้ที่น่าสในใจ

เข้าสู่ระบบ

แจ้งเบาะแส "ทุจริต หรือ มิชอบ"

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน

แจ้งข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ

ข้อแนะนำในการใช้งาน


ข้อตกลงการใช้ระบบ
1.ระบบ VOC หรือ Voice of Customer นี้เป็นช่องทางหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อรับฟังเสียงจากนักศึกษา บุคลากร นักศึกษาเก่า และบุคคลทั่วไป โดยจะรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากผู้รับบริการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาบริการของสำนักให้มีคุณภาพมาตรฐานที่ดี และตรงตามความต้องการของผู้รับบริการให้มากยิ่งขึ้น
2. การแจ้งข้อร้องเรียนหรือพบปัญหาการใช้บริการ มีความจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเบื้องต้น เช่น ชื่อนามสกุล อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ข้อเท็จจริงที่พบปัญหา วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ ข้อมูลของระบบที่ใช้ และรูปภาพที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับ และเพื่อให้การตรวจสอบหรือแก้ไขปัญหาแก่ผู้รับบริการทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3. ข้อความที่ใช้ควรเป็นถ้อยคำที่สุภาพ เป็นไปตามทำนองคลองธรรม และถูกต้องตามกฎหมาย
4. การนำความอันเป็นเท็จมาร้องเรียน หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น ผู้ร้องอาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางวินัยและทางอาญา
5. เป็นเรื่องที่ผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรือขอให้แก้ไข อันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยหรือจากส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. กรณีที่ผู้แจ้งไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอหรือไม่เปิดเผยตัวตน และสำนักฯ ไม่สามารถติดต่อประสานขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ สำนักฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาเรื่องดังกล่าว แต่หากเป็นข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ สำนักฯ มีความยินดีจะรับเรื่องดังกล่าวไปพัฒนาการให้บริการของสำนักให้ดีที่สุดต่อไป
7. เรื่องที่ไม่ปรากฏตัวตนผู้ร้องหรือตรวจสอบตัวตนของผู้ร้องไม่ได้ หรือมีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์ อาจรับไว้พิจารณาก็ได้ ถ้าหากระบุหลักฐานกรณีแวดล้อมปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอน สามารถสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไปได้และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
8. หลังจากที่ระบบได้รับเรื่องจากผู้แจ้งแล้ว หากผู้แจ้งได้ให้อีเมล (email) ไว้ ระบบจะมีการติดตามความคืบหน้าโดยอัตโนมัติ และรายงานผลการพิจารณาหรือข้อสรุปการดำเนินการที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้แจ้งทราบโดยเร็วผ่านทางอีเมล์ของผู้แจ้ง

* ข้าพเจ้าได้อ่านข้อตกลงเป็นอย่างดีแล้ว และยอมรับตามข้อตกลงนี้
* โปรดระบุ Email และเบอร์โทรศัพท์ของท่าน เพื่อใช้ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการให้ทราบผ่านทาง Email

การกรอกข้อมูลสำหรับการร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัวของท่าน  ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ เป็นช่องทางในการติดต่อกลับและรายงานการดำเนินการให้ท่านรับทราบ
* หมายเหตุ : การร้องเรียนการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว จะรายงานส่งไปยังผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน