บริษัท ศรีวิโรจน์ฟาร์ม จำกัด อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น บริษัทฯที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่อย่างครบวงจร โดยต่อยอดธุรกิจออกไปในอีกหลาย ได้แก่ เกษตรอาหารแปรรูป เกษตรบริการ เกษตรท่องเที่ยว ครัวอีสาน และที่พิเศษสุดที่ เกษตรพลังงาน
ด้วยแนวคิดที่ว่าจะทำอย่างไรให้ได้มากกว่ากำไร ทำให้ของเสียที่ได้จากธุรกิจต่างๆของเป็นศูนย์ (Zero waste) จนกระทั้งบริษัทได้เข้าร่วมในโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงไก่ระยะที่ 1 ปี 2554 เพื่อติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงไก่ ด้วยเทคโนโลยีและที่ปรึกษาจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน นั่นจึงเป็นเสมือนจุดต่อยอดในส่วนของเกษตรพลังงานของบริษัทฯ โดยปัจจุบัน ศรีวิโรจน์ฟาร์มมีระบบก๊าซชีวภาพขนาด 8,000 ลูกบาศก์เมตร ในการรองรับมูลไก่เพื่อปั่นกระแสไฟฟ้าในฟาร์ม
นอกจากระบบก๊าซชีวภาพแบบเดิมแล้ว ทางบริษัทฯยังได้ต่อยอดการพัฒนาพลังงานในส่วนของฟาร์ม โดยได้ดำเนินการติดตั้งระบบ CSTR (ก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงาน) โดยทาง บริษัทฯได้ทำการเพาะปลูกหญ้าเนเปียร์ภายในฟาร์ม ซึ่งเป็นพืชพลังงานมากมูลค่า และใช้กวนผสมกับมูลไก่ให้ก๊าซชีวภาพเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี CMU-CBG (ระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด) ซึ่งเป็นระบบที่นำก๊าซชีวภาพมาปรับปรุงคุณภาพ โดยการลดปริมาณก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟ และความชื้นออกจนมีปริมาณก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้น มีคุณสมบัติเทียบเท่าก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ หรือ NGV แล้วอัดลงถังที่แรงดัน 200 บาร์เกจ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ที่ทดแทนด้วยก๊าซ NGV โดย CBG ที่ได้จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ที่ใช้งานภายในฟาร์ม
จะเห็นได้ว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัท เอส เอฟ จำกัด นั้น คำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของกระบวนการมากที่สุด แม้แต่ของเสียจากทุกธุรกิจของบริษัทก็ไม่ปล่อยให้สูญเปล่า เพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ (Full Value) ควบคู่กับการทำให้สูญเปล่าน้อยที่สุด (Zero Waste)
หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่ดำเนินกิจการฟาร์มปศุสัตว์ ธุรกิจอุตสาหกรรมตลอดจนธุรกิจด้านพลังงาน ที่ให้ความสำคัญในการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อลดปัญหามลภาวะ และเพิ่มปริมาณการผลิตพลังงาน เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนพลังงาน สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายการตลาดและลูกค้าสัมพันธ์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0-5394-2007-9 ต่อ 311,314 หรือศึกษารายละเอียดโครงการที่ www. erdi.cmu. ac.th โดยทางสถาบัน ฯ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มปศุสัตว์ ก๊าซชีวภาพจากจากพืชพลังงาน (CMU-CSTR) ระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด (CMU-CBG) ตลอดจนพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานในรูปแบบต่างๆอีกด้วย.