“ระบบเผาก๊าซชีวภาพส่วนเกิน” (Biogas Flare) ลดโลกร้อน

“ระบบเผาก๊าซชีวภาพส่วนเกิน” (Biogas Flare) ลดโลกร้อน

        สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ในการส่งเสริมและผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์  ได้ออกแบบระบบ “Biogas Flare” ทั้ง Biogas Open Flare และ Biogas Enclosed Flare ซึ่งนักวิจัยและวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ มุ่งเน้นผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ และอ้างอิงมาตรฐานความปลอดภัยของกระทรวงอุตสาหกรรม
           ในพื้นที่ที่ติดตั้งระบบ Biogas ไม่ว่าจะเป็นฟาร์มปศุสัตว์ หรือโรงงานอุตสาหกรรม ในบางครั้งก๊าซชีวภาพที่ถูกผลิตขึ้น มีการสะสมในปริมาณมากเกินที่จะนำไปใช้ประโยชน์ จึงจำเป็นต้องระบายก๊าซส่วนเกินทิ้ง เพื่อรักษาความปลอดภัยของระบบ  Biogas ไม่ให้ผ้าใบที่ใช้คุมบ่อก๊าซชีวภาพมีการฉีกขาดเสียหาย ทั้งนี้ “การระบายก๊าซชีวภาพส่วนเกินทิ้งนั้น จำเป็นต้องใช้ “ระบบเผาก๊าซชีวภาพส่วนเกิน” หรือ “Biogas Flare” เข้ามาเป็นตัวช่วย
        ก๊าซชีวภาพ หากถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ โดยปราศจาก “Biogas Flare” จะเป็นอันตรายต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากก๊าซชีวภาพ ประกอบด้วยก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ (H2S) และ ก๊าซอื่นๆ ซึ่งหากได้สัมผัส หรือสูดดม จะทำให้เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา และทำให้หมดสติหรือเสียชีวิตได้หากสูดดมในปริมาณที่มากเกินขนาด นอกจากนี้การระบายก๊าซชีวภาพส่วนเกินทิ้ง โดยปราศจาก“Biogas Flare” จะทำลายชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อน
        “Biogas Flare” มี 2 รูปแบบ คือ Biogas Open Flare system และ Biogas Enclosed Flare System ลักษณะการทำงานของ “Biogas Flare” จะมีหลักการทำงานด้วยระบบท่อที่จะเชื่อมต่อเข้ากับระบบเผาทิ้ง ซึ่งประกอบด้วย วาล์วแยก (Isolating valve) เป็นวาล์วเปิด-ปิดด้วยมือ วาล์วตัดก๊าซฉุกเฉิน (Emergency shut-off valve)เพื่อ ป้องกันการปล่อยก๊าซเข้าระบบเผาทิ้งโดยตรง ซึ่งวาล์วนี้จะเปิดก็ต่อเมื่อมีคำสั่งให้เผาก๊าซทิ้งจากระบบควบคุมการเผา ทิ้งแบบอัตโนมัติ หรือกึ่งอัตโนมัติ  และมีอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ (Flame arrester) เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัย ระบบจุดหัวเผาประกอบด้วย ระบบควบคุมการจุดหัวเผาแบบอัตโนมัติ (Burner controller) หัวล่อไฟ (Pilot lamp) เขี้ยวสปาร์ก หม้อแปลงไฟแรงดันสูงสำหรับจุดสปาร์ก (Ignition transformer) อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame detector) เพื่อความปลอดภัยในการติดตั้งบนพื้นที่โล่ง ปล่องของหัวเผาทิ้งควรมีอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า โดยในการออกแบบระบบ Biogas Flare จะต้องคำนวณถึงขนาดของท่อ และความสูงของอุปกรณ์เผาก๊าซทิ้ง รวมถึงพื้นที่ในการติดตั้งให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม
        สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พัฒนาระบบ “Biogas Flare” ทั้ง Biogas Open Flareและ Biogas Enclosed Flare ซึ่ง ออกแบบโดยนักวิจัยและวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ และผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพและอ้างอิงมาตรฐานความปลอดภัยของกระทรวง อุตสาหกรรม 
ผู้สนใจระบบ “Biogas Flare”  สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร. 0-5394-2007-9 ต่อ 310,311 หรือศึกษารายละเอียดโครงการที่www.erdi.cmu.ac.th

"ระบบเผาก๊าซชีวภาพส่วนเกิน" (Biogas Flare) ลดโลกร้อน
“ระบบเผาก๊าซชีวภาพส่วนเกิน” (Biogas Flare) ลดโลกร้อน

เรื่องที่น่าสนใจ

สบายกาย สบายกระเป๋า            แค่รู้จักโหมดการทำงานแอร์

สบายกาย สบายกระเป๋า แค่รู้จักโหมดการทำงานแอร์

หลังคาบ้านที่เหมาะในการติดตั้งแผง Solar Cell

หลังคาบ้านที่เหมาะในการติดตั้งแผง Solar Cell

ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์

ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์

การติดตั้งโซล่าเซลล์ ออนกริด เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า ต้องขออนุญาตหรือไม่?

การติดตั้งโซล่าเซลล์ ออนกริด เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า ต้องขออนุญาตหรือไม่?

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่