ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุก ด้านนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน  มุ่งเน้นให้มีการจัดการขยะที่ยั่งยืน เพื่อผลิตเป็นพลังงานทดแทน เป็นต้นแบบการจัดการขยะให้กับชุมชน

กระบวนการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มต้นจากบุคลากรและนักศึกษาแยกทิ้งขยะ จากต้นทางให้ถูกต้อง โดยการแยกขยะภายในมหาวิทยาลัย จะแบ่งเป็น 6 ประเภทได้แก่

ขยะทั่วไป

ขยะรีไซเคิล

ขยะอินทรีย์

ขยะชีวมวล

ขยะอันตราย

ขยะเศษวัสดุก่อสร้างและโฟม

จากนั้นคณะและหน่วยงานรวบรวมขยะไปยังจุดพักขยะ เพื่อนำมาคัดแยกซ้ำก่อนส่ง กำจัดตามประเภท

ขยะติดเชื้อ จะถูกส่งไปยังคณะแพทย์ เพื่อทำการเผา

ขยะอันตราย คณะหรือหน่วยงาน จะส่งไปกำจัดยังบริษัทหรือหน่วยงานที่ได้รับอนุญาต ในการกำจัดขยะ

ขยะรีไซเคิล คณะหรือหน่วยงาน จะนำเข้าโครงการธนาคารขยะหรือจำหน่ายเอง

ขยะอินทรีย์ ทางศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร รับจัดเก็บจากแหล่งกำเนิดขยะ

และขยะทั่วไป รถเทศบาลนครเชียงใหม่ จะทำการขนส่ง มายังศูนย์เพื่อผลิตเป็นพลังงานทดแทน

โดยศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร มีเทคโนโลยีการจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงานทดแทน

ขยะทั่วไปจะถูกคัดแยกซ้ำ เพื่อแยกเป็น ขยะอินทรีย์ อาทิเช่น เศษอาหารเศษพืชผักมูลสัตว์ ถูกนำเข้าสู่กระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพหมักย่อยแบบแห้ง เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในศูนย์และผลิตเป็นก๊าซไบโอมีเทน เพื่อใช้เติมรถขนส่งมวลชนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนกากไขมันจะถูกนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซล

ขยะอนินทรีย์ เช่น เศษถุงพลาสติก ถูกนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะ RDF และใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตยางมะตอย

ขยะชีวมวล เช่น เศษกิ่งไม้ จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการไพโรไลซิส เพื่อแปลงเป็นถ่านชีวภาพ ใช้บำรุงดิน หรือนำมาอัดแท่ง ใช้เป็นเชื้อเพลิงเขียว

ปัจจุบันการดำเนินงานของศูนย์ สามารถผลิตก๊าซชีวภาพสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้วันละกว่า 600 ลูกบาศก์เมตร

โดยนำไปปรับปรุงคุณภาพและนำไปผลิตเป็นไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในศูนย์ ได้กว่า 26,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี

ผลิตเป็นก๊าซไบโอมีเทนอัดสำหรับยานยนต์  เพื่อใช้ในระบบขนส่ง ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เฉลี่ยปีละ 18,000 บาท กิโลกรัมต่อปี

สามารถ ลดปริมาณการกำจัดขยะจากการกำจัดทิ้งแบบฝังกลบ และแบบเผาได้ 4,500 ตันต่อปี

ลดปริมาณอาหารจากการฝังกลบได้ 500 ตันต่อปี

ลดปริมาณกากไขมันจากการฝังกลบได้ 125 ตันต่อปี

สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 10,900 ตันคาร์บอนต่อปี

และนี่คือหนึ่งในยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จาก 3 ยุทธศาสตร์เชิงรุก ที่ดำเนินการได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้นแบบให้ภาคประชาสังคม ในการบริหารจัดการ ชีวิตหรือเมืองได้อย่างยั่งยืน

ฐานข้อมูลของศูนย์บริหารการจัดการชีวมวล : คลิ๊กที่นี่

ข่าวศูนย์ชีวมวล

อ่านข่าวชีวมวลทั้งหมด คลิ๊ก

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่