หมวดหมู่: รักษ์อ่างแก้ว สายน้ำแห่ง มช.

โครงการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ชายขอบอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ชายขอบอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความรู้ในด้านการบำบัดน้ำด้วยพืชกำลังเติบโต และการประยุกต์ใช้ระบบนิเวศของอ่างแก้วเพื่อการบำบัดยังมีความไม่แน่นอน จากปัจจัยเชิงภูมิศาสตร์และบริบทของบริเวณโดยรอบ จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจและพัฒนาข้อมูลด้านพื้นที่รอบบริเวณอ่างแก้ว เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการออกแบบและประยุกต์ใช้พื้นที่ในบริเวณดังกล่าวเพื่อการบำบัดน้ำและลดอัตราการเกิดปรากฎการณ์สาหร่ายสะพรั่งต่อไปในอนาคต

Read More
โครงการควบคุมไซยาโนแบคทีเรีย เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำและภูมิทัศน์ของอ่างแก้ว

โครงการควบคุมไซยาโนแบคทีเรีย เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำและภูมิทัศน์ของอ่างแก้ว

การกำจัดไซยาโนแบคทีเรียด้วยวิธีการทางกายภาพ และเคมี สามารถกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มักจะทำให้เซลล์ของไซยาโนแบคทีเรียแตกออก และปลดปล่อยสารพิษลงสู่แหล่งน้ำได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตต่อไป นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง และอาจส่งผลข้างเคียงต่อสิ่งแวดล้อมได้ จึงได้เลือกวิธีการทางชีวภาพมาใช้ควบคุมไซยาโนแบคทีเรีย จุลินทรีย์หลายชนิดสามารถควบคุมการเจริญและกำจัดสารพิษจากไซยาโนแบคทีเรียได้ ซึ่งวิธีการนี้มีประสิทธิภาพสูง

Read More
โครงการลดปริมาณสาหร่ายด้วยสารส้มเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำและทัศนียภาพของอ่างแก้ว

โครงการลดปริมาณสาหร่ายด้วยสารส้มเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำและทัศนียภาพของอ่างแก้ว

สีที่เปลี่ยนแปลงไปจากสาหร่ายปริมาณมากในอ่างแก้วยังส่งกระทบโดยตรงต่อการจัดการน้ำภายในมหาวิทยาลัยเนื่องจากอ่างแก้วเป็นแหล่งน้ำดิบหลักที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาให้กับนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณภาพของแหล่งน้ำดิบที่ด้อยลง (มีปริมาณสารอินทรีย์จากสาหร่ายจำนวนมาก) อาจเป็นอันตรายต่อระบบการผลิตน้ำประปา ดังนั้นการกำจัดสาหร่ายออกจากระบบผลิตน้ำประปาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการควบคุมคุณภาพน้ำประปา ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ERDI-CMU) ได้ดำเนินการวิจัยโดยใช้สารส้มในการตกตะกอนเซลล์สาหร่าย

Read More

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่