โครงการควบคุมไซยาโนแบคทีเรีย เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำและภูมิทัศน์ของอ่างแก้ว

โครงการควบคุมไซยาโนแบคทีเรีย เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำและภูมิทัศน์ของอ่างแก้ว

Eutrophication เป็นกระบวนการที่ส่งผลทำให้คุณภาพน้ำในอ่างแก้วเปลี่ยนไป เนื่องจากสารอาหาร (nutrients) โดยเฉพาะฟอสฟอรัส (P) และไนโตรเจน (N) ในแหล่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการเกิด algal bloom เกิดการเจริญอย่างรวดเร็วของสาหร่ายและไซยาโนแบคทีเรียในแหล่งน้ำ และก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งน้ำมีคุณภาพเสื่อมโทรม ลดปริมาณแสง และระดับออกซิเจนในชั้นน้ำ เกิดกลิ่น และรสที่ไม่พึงประสงค์ของน้ำ และทำให้ความสวยงามของแหล่งน้ำลดลงอีกด้วย นอกจากนี้ไซยาโนแบคทีเรียบางชนิดสามารถปลดปล่อยสารพิษลงสู่แหล่งน้ำซึ่งสามารถถ่ายทอดทางห่วงโซ่อาหาร หรืออาจตกค้างในระบบการผลิตน้ำประปาหรือน้ำดื่ม รวมไปถึงการนำน้ำที่มีสารพิษเจือปนมาใช้ในการอุปโภค หากไม่มีการแก้ไข คุณภาพน้ำในอ่างแก้วอาจไม่เหมาะสมต่อการนำไปผลิตน้ำประปาอีกต่อไป ดังนั้นการกำจัดไซยาโนแบคทีเรียด้วยวิธีการทางกายภาพ และเคมี สามารถกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มักจะทำให้เซลล์ของไซยาโนแบคทีเรียแตกออก และปลดปล่อยสารพิษลงสู่แหล่งน้ำได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตต่อไป นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง และอาจส่งผลข้างเคียงต่อสิ่งแวดล้อมได้ จึงได้เลือกวิธีการทางชีวภาพมาใช้ควบคุมไซยาโนแบคทีเรีย จุลินทรีย์หลายชนิดสามารถควบคุมการเจริญและกำจัดสารพิษจากไซยาโนแบคทีเรียได้ ซึ่งวิธีการนี้มีประสิทธิภาพสูง มีความจำเพาะต่อชนิดของไซยาโนแบคทีเรีย และมีต้นทุนต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ แต่ยังขาดการศึกษาประสิทธิภาพของแบคทีเรียดังกล่าวในการควบคุมไซยาโนแบคทีเรียในแหล่งน้ำธรรมชาติ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจปัจจัยต่างๆ ในระบบนิเวศแหล่งน้ำของอ่างแก้วและติดตามการปรากฏของไซยาโนแบคทีเรียอย่างต่อเนื่อง

คลิกอ่านเอกสารที่มาโครงการ ที่นี่

เรื่องที่น่าสนใจ

โครงการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ชายขอบอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ชายขอบอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการลดปริมาณสาหร่ายด้วยสารส้มเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำและทัศนียภาพของอ่างแก้ว

โครงการลดปริมาณสาหร่ายด้วยสารส้มเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำและทัศนียภาพของอ่างแก้ว

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่