เอกสารเผยแพร่
เอกสารองค์ความรู้พลังงานเพิ่มเติม คลิ๊ก
เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ
ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf) นโยบายคุ…
ขอเวลา 3 นาที ร่วมประเมินเพื่อประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ ERDI CMU
ขอเชิญชวนท่านร่วมตอบแบบวัด ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) เพื่อประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของส่วนงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แสกน QR Code เพื่อประเมินทันที ใช้เวลาเพียง 3 นาทีเท่านั้น
ไฮโดรเจนเป็นทางเลือกหนึ่งที่สำคัญสำหรับการลดการปล่อยเรือนกระจกระยะยาว เพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2065
การกำหนดนโยบาย แผนงาน หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการผลิตและการใช้งานไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์มีเป้าประสงค์เพื่อสนับสนุนการผลิตและการใช้งานไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ ที่คำถึงถึงบริบทด้านพลังงานและความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ ควบคู่กับความจำเป็นในการลดก๊าซเรือนกระจก
แนวทางการกำหนดมาตรการส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพการผลิตไฮโดรเจนในประเทศไทย
การกำหนดมาตรการการส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพการผลิตไฮโดรเจน มีเป้าประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการส่งเสริมการผลิตไฮโดรเจนในเชิงพาณิชย์ของประเทศไทย เพื่อให้เกิดการใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน ครอบคลุมภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง
แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รองรับการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ของประเทศไทย
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญของการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ของประเทศไทย ซึ่งแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนี้มีเป้าประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง และการใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน ครอบคลุมภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มีการดำเนินการดัดแปลงรถยนต์จากเครื่องยนต์มาใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนและใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เป็นพลังงานหลักเพื่อทดสอบการนำไปใช้งานจริงหลังการดัดแปลงรวมถึงการนำไปทดสอบบนเครื่องวัดประสิทธิภาพแบบไดโนเทส เพื่อนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับรถยนต์ก่อนที่จะนำไปดััดแปลง
โครงการศึกษาการลดสีและสารอินทรีย์ในน้ำทิ้งโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซชีวภาพ จากน้ำเสียอุตสาหกรรมเอทานอล
การลดสีและสารอินทรีย์ในน้ำเสียจากกระบวนการผลิตเอทานอลหลังการบำบัดด้วยระบบก๊าซชีวภาพแล้ว ให้มีค่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม (ADMI < 300) ต้องประกอบด้วยกระบวนการทางชีวภาพด้วยเชื้อแบคทีเรียแล้วตามด้วยกระบวนการดูดซับในรูปแบบอนุกรม โดยสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการลดสีและสารอินทรีย์ คือ น้ำเสียความเข้มข้นร้อยละ 25 โดยปริมาตร (หรือเทียบเท่ากับค่าซีโอดีประมาณ 15,000 mg/L) ทำการลดสีด้วยกระบวนการทางชีวภาพด้วยแบคทีเรียเป็นระยะเวลา 6 วัน แล้วตามด้วยกระบวนการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ทางการค้า C-BON ที่ปริมาณสารดูดซับ 15 g/L ระยะเวลาดูดซับ 12 ชั่วโมง ที่พีเอชของน้ำเสียมีค่าเท่ากับ 2 ซึ่งน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการลดสีแล้ว จะมีค่าสีเท่ากับ 224±6 ADMI
ขอเชิญชวนผู้รับบริการ บริษัท และผู้มาติดต่อ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มช. ร่วมตอบแบบวัดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)เพื่อประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของส่วนงาน
“โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนเพื่อส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน”
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ได้มอบหมายให้ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมดำเนินการ “โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนเพื่อส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน” เพื่อศึกษาและรวบรวมงานวิจัย นโยบาย มาตรการ หรือแผนงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่จะกำหนดเป็นแนวทางการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนที่เหมาะสมกับบริบทการใช้พลังงานของประเทศไทย รวมทั้งราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับประเทศไทยในการส่งเสริมพลังงานไฮโดรเจนต่อไป