โครงการลดปริมาณสาหร่ายด้วยสารส้มเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำและทัศนียภาพของอ่างแก้ว

โครงการลดปริมาณสาหร่ายด้วยสารส้มเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำและทัศนียภาพของอ่างแก้ว

สีที่เปลี่ยนแปลงไปจากสาหร่ายปริมาณมากในอ่างแก้วยังส่งกระทบโดยตรงต่อการจัดการน้ำภายในมหาวิทยาลัยเนื่องจากอ่างแก้วเป็นแหล่งน้ำดิบหลักที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาให้กับนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณภาพของแหล่งน้ำดิบที่ด้อยลง (มีปริมาณสารอินทรีย์จากสาหร่ายจำนวนมาก) อาจเป็นอันตรายต่อระบบการผลิตน้ำประปา ดังนั้นการกำจัดสาหร่ายออกจากระบบผลิตน้ำประปาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการควบคุมคุณภาพน้ำประปา ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ERDI-CMU) ได้ดำเนินการวิจัยโดยใช้สารส้มในการตกตะกอนเซลล์สาหร่าย พบว่ามีประสิทธิภาพดี โดยสามารถกำจัดสาหร่ายได้ถึงร้อยละ 98.27 เมื่อเทียบกับจำนวนสาหร่ายในน้ำดิบที่ไม่ผ่านการเติมสารสร้างตะกอน ดังนั้นการใช้สารส้มในกระบวนการตกตะกอนสาหร่ายน้ำทำได้ง่ายและสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับแหล่งน้ำอ่างแก้ว เพื่อเพิ่มทัศนียภาพหรือสุนทรียภาพให้กับอ่างแก้ว รวมถึงยังเป็นการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันได้แก่ คุณภาพของแหล่งน้ำดิบมีความเหมาะสมสำหรับการผลิตน้ำประปาให้กับนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกทั้งยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้ในการขยายผลกับชุมชนหรือพื้นที่อื่นในจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับผลกระทบจากสาหร่าย จึงเป็นการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของชุมชนในภาคเหนือให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องที่น่าสนใจ

โครงการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ชายขอบอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ชายขอบอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการควบคุมไซยาโนแบคทีเรีย เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำและภูมิทัศน์ของอ่างแก้ว

โครงการควบคุมไซยาโนแบคทีเรีย เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำและภูมิทัศน์ของอ่างแก้ว

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่