รู้จักถุงพลาสติกชีวภาพ หรือ ไบโอพลาสติก(BioPlastic)

รู้จักถุงพลาสติกชีวภาพ หรือ ไบโอพลาสติก(BioPlastic)

อย่างที่เรารู้กันว่ายิ่งจำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้น ปริมาณการใช้พลาสติกก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงก่อให้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เพราะพลาสติกย่อยสลายยากและใช้เวลานาน เมื่อนำไปฝังกลบจะทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ หากเผาทำลายก็ทำให้เกิดมลพิษในอากาศ จนกระทั่งในช่วงสิบปีที่ผ่านมาเริ่มมีการนำพลาสติกชีวภาพมาทดแทนพลาสติกอีกครั้ง

พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) หรือพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ (Biodegradable plastic) ผลิตขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืช สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ (biodegradable) ช่วยลดปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม 

โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พลาสติกที่สลายตัวได้ทางชีวภาพซึ่งจะย่อยสลายเองได้ (Biodegradable plastic) เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ส่วนอีกประเภทหนึ่งเป็นพลาสติกที่ผลิตมาจากพืชหรือวัตุดิบที่สามารถปลูกทดแทนได้ (Renewable resources) ถึงแม้จะผลิตจากวัตถุดิบชีวภาพ แต่ไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้

กลับมาที่เรื่องพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพในปัจจุบันจะมีกลไกที่ย่อยสลายแตกต่างกัน 3 อย่าง

ได้แก่

• Compostable plastic​ คือ พลาสติกที่สลายตัวได้ตามธรรมชาติ โดยจะสามารถสลายตัวกลายเป็นสารชีวมวล น้ำและ คาร์บอนไดออกไซด์ได้ในสภาพที่เหมาะสม เช่น ในกองปุ๋ยหมักหรือในดิน โดยไม่ทิ้งสารตกค้างต่อสิ่งแวดล้อม

• Biodegradable plastic คือ พลาสติกที่แตกสลายโดยสิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดด หรือจุลินทรีย์ในดิน กลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จนกลายเป็นสารชีวมวล H2O และ CO2

• OXO-biodegradable plastic คือ พลาสติกจากปิโตรเลียมที่ใส่สารเติมแต่งจำพวก OXO หรือ Metal Salts เข้าไปทำให้เกิดการแตกตัวเมื่อเจอกับแสงแดด แสงยูวี หรือ ความร้อน ซึ่งทำให้เกิดเป็นไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมเร็วกว่าพลาสติกธรรมดากว่า 100 เท่า 

โมเลกุลของพลาสติกชีวภาพเหล่านั้นจะสามารถสลายตัวได้ในธรรมชาติจนกลายเป็นสารชีวมวล H2O และ CO2 ใช้เวลาที่สั้นลงกว่าพลาสติกธรรมดา  โดยไม่ทิ้งสารตกค้างต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามการใช้พลาสติกชีวภาพถือเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน แต่ควรใช้ให้เหมาะสม  เช่นใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับการใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง 

ในอีก 10 ปี มูลค่าของตลาดพลาสติกชีวภาพ  จะมีราคาสูงขึ้น แต่หากพิจารณาเรื่องข้อดีด้านสิ่งแวดล้อม นับว่าคุ้มค่ากว่า โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมาณการ กว่าร้อยละ 70 ของตลาดพลาสติกชีวภาพ ในปี 2573 จะ เป็นผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม

อ้างอิงบทความ
– งานวิจัยการพัฒนากลุ่มจุลินทรีย์เพื่อการย่อยสลายผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพชนิดพอลิแลกติกแอซิด

https://www.thainam.co.th/th/topic/BioPlastic

https://doitgreennow.wordpress.com/2018/10/03/biodegradableplastic1/

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่