BioPlastic จากเกล็ดปลาและสาหร่ายทะเลช่วยลดขยะพลาสติก

BioPlastic จากเกล็ดปลาและสาหร่ายทะเลช่วยลดขยะพลาสติก

ลูซี่ ฮิวจ์ (Lucy Hughe) นักศึกษาจากอังกฤษ วัย 24 ปี สร้างพลาสติกชีวภาพ “MarinaTex” ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรซึ่งสร้างความสูญเสียต่อชีวิตของสัตว์ทะเลจากการทิ้งขยะอินทรีย์ของอุตสาหกรรมอาหาร (organic waste)

ซึ่งหลังจากศึกษาของเสียจากโรงงานนี้ ทำให้พบว่าหนังปลาและเกล็ดปลามีศักยภาพมากที่สุด รวมไปถึงสาหร่ายแดง เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและความแข็งแรงเหมาะสำหรับนำมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตพลาสติกชีวภาพที่มีความคงทนสูง


โดยไบโอพลาสติก “MarinaTex” ที่มีลักษณะโปร่งแสง มีความยืดหยุ่น และแข็งแรงกว่าพลาสติกชนิด LDPE ซึ่งเป็นพลาสติกที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งมีข้อดีคือ สามารถย่อยสลายได้ภายใน 1-2 เดือนเท่านั้นและสามารถทดแทนพลาสติกในการใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง จนถึงใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น พลาสติกใสในกล่องทิชชู่ ใช้รองอาหาร หรือบรรจุอาหารอย่าง แซนวิช ฯลฯ ได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อทั้งมนุษย์และสัตว์

นอกจากช่วยลดการทิ้งวัสดุชีวภาพจากอุตสาหกรรมอาหารได้แล้ว ยังเป็นการสร้างวัสดุใหม่ที่สามารถนำมาใช้ทดแทนพลาสติก ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งได้อีกด้วย


ข้อมูล : greennetworkthailand

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่