ทะเลไทยกับไมโครพลาสติก

ทะเลไทยกับไมโครพลาสติก

เปิดผลการวิจัยที่ชี้ชัดว่าพลาสติกขนาดเล็กจิ๋วไม่ได้อยู่แค่ในมหาสมุทร แต่อยู่ในร่างกายมนุษย์โดยเฉลี่ยคนละ 10,000 ชิ้น และกำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

ทะเลไทยกับไมโครพลาสติก
ทะเลไทยกับไมโครพลาสติก

ก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่ข่าวที่ระบุว่า มนุษย์กำลังกินพลาสติกหนักราว 5 กรัมใกล้เคียงกับน้ำหนักของบัตรเครดิตทุกสัปดาห์ หรือราว 21 กรัมต่อเดือน และ 250 กรัมต่อปี

แม้ตัวเลขนี้จะแปรผันตามประเภทอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่นๆ แต่จากรายงานของมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศออสเตรเลีย พบว่า ผู้คนทั่วโลกบริโภคไมโครพลาสติกที่มาพร้อมอาหาร เครื่องดื่ม หรือแม้กระทั่งอากาศเข้าสู่ร่างกายราว 2,000 หน่วยต่อสัปดาห์

ถ้ายังนึกไม่ออกว่ามันมากน้อยขนาดไหน รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายให้เห็นภาพว่า “ปัจจุบันจากการที่มีการคำนวณการกินอาหารต่างๆ พบว่าโดยเฉลี่ยคนเราน่าจะมีไมโครพลาสติกอยู่ในกระเพาะอาหารมากกว่า 10,000 ชิ้น”

สอดคล้องกับผลการศึกษา ‘การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในอาหารและมนุษย์’ โดยหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของออสเตรีย (The Environment Agency Austria) ที่ได้นำอุจจาระจากผู้ร่วมการทดลอง 8 คน จาก 8 ประเทศ อาทิ ออสเตรีย อิตาลี ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ญี่ปุ่น รัสเซีย และสหราชอาณาจักร มาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (ผู้ร่วมการทดลองไม่มีใครทานมังสวิรัต และมี 6 คนที่ทานปลาทะเล)

ผลที่ได้คือ ตรวจเจอไมโครพลาสติกจากอุจจาระของผู้ที่ร่วมการทดสอบทุกราย โดยไมโครพลาสติกที่พบมีตั้งแต่ พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (ใช้ทำขวดน้ำดื่ม) โพลีพรอพีลีน (ถุงร้อน, พลาสติกบรรจุอาหาร) ไปจนถึง โพลีไวนิลคลอไรด์ หรือ PVC (ฟิล์มห่ออาหาร) เฉลี่ยแล้วพบว่าในแต่ละ 10 กรัมของอุจจาระจะเจออนุภาคของไมโครพลาสติกจำนวน 20 ชิ้น

ดูเหมือนไมโครพลาสติกเหล่านี้จะรุกคืบเข้าสู่ร่างกายของเราแบบไม่บอกกล่าว คำถามก็คือ แล้วพวกมันมาจากไหน ในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์อย่างไรบ้าง

ที่มา bangkokbiznews

ติดตามเรื่องไมโครพลาสติกในหลากหลายประเด็นได้ ดังนี้

ก่อนหายนะจะมาเยือน…เสียงเตือนจาก “ดร.ธรณ์” เรื่อง “ไมโครพลาสติก” : MGR Exclusive https://mgronline.com/news-clips/P5C92fdNqkA

พบไมโครพลาสติกปริมาณหนาแน่นสูงสุดที่ก้นทะเลเมดิเตอร์เรเนียน https://www.bbc.com/thai/international-52527035

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่