บ่อหมักไร้ออกซิเจนแบบเร็วและแบบช้า

บ่อหมักไร้ออกซิเจนแบบเร็วและแบบช้า

ERDICMU ชวนศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับบ่อหมักไร้ออกซิเจนทั้งแบบเร็วและแบบช้า เหมือนหรือต่างกันยังไงไปดูกันค่ะ

สำหรับบ่อหมักไร้ออกซิเจนแบบเร็ว เหมาะที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับน้ำเสียอุตสาหกรรมที่มีสารอินทรีย์สูง ก๊าซชีวภาพที่ได้สามารถทดแทนเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิต ลดค่าใช้จ่ายการบำบัดให้ต่ำลง และยังลดการใช้เชื้อเพลิงอีกด้วย


โดยบ่อหมักแบบไร้ออกซิเจนแบบเร็วในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ


#แบบที่1 Up-Flow Anaerobic Sludge Blanket (UASB) บ่อนี้น้ำเสียจะสูบเข้าก้นถังที่แบ่งออกเป็น 2 ชั้นครับ โดยชั้นล่าง (Sludge bed) คือตะกอนเม็ด (granular bacteria) ขนาด 2 – 5 มม. เป็นแบคทีเรียใยขาวเกาะกันมี ความหนาแน่นสูง ส่วนชั้นบนเรียกว่า Sludge blanket โดยบนบ่อหมัก UASB จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Gas Solid Separator ทำหน้าที่แยกก๊าซและป้องกันมิให้ตะกอนแบคทีเรียหลุดออกไปกับน้ำเสียครับ
.
#แบบที่2 High suspension solid Up-Flow Anaerobic Sludge Blanket (H-UASB) ถูกพัฒนาขึ้นจาก UASB แก้ไขการอุดตันในระบบหัวจ่ายน้ำเนื่องจากตะกอนของมูลสัตว์ โดยมี Buffer Tank แยกตะกอนแขวนออกจากน้ำเสียและมูลสัตว์ให้มีปริมาณน้อยที่สุด
.
และนี่ก็คือบ่อหมักแบบไร้ออกซิเจนที่ถูกพัฒนาการออกมา เพื่อให้ผู้ใช้งานได้เลือกสรรได้เหมาะสมนั่นเองครับ
.
ขอขอบคุณที่มาจาก http://webkc.dede.go.th/testmax/node/188
#พพ#พลังงานDEDE

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่