สัญลักษณ์น่ารู้แสดงความเป็นอันตรายตามระบบ GHS

สัญลักษณ์น่ารู้แสดงความเป็นอันตรายตามระบบ GHS

ปัจจุบันนี้มีการใช้ผลิตภัณฑ์เคมีอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ซึ่งประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์เคมี มีมากมาย แต่ก็สามารถทำให้เกิดโทษได้เช่นกัน ดังนั้นองค์การสหประชาชาติจึงได้จัดระบบสากลเพื่อจำแนกความเป็นอันตราย และการติดฉลากสารเคมีเพื่อให้เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก ซึ่งระบบนี้เรียกว่า ระบบ GHS (Globally Harmonized System for Classification and Labelling of Chemicals)

          โดยประโยชน์ของระบบ GHS นั้น  เป็นระบบที่จะทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการปกป้องสุขภาพมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายของสารเคมี ผ่านระบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเตรียมข้อมูลและการประเมินสารเคมี วางรากฐานให้ประเทศต่าง ๆ มีข้อมูลสารเคมีที่ถูกต้องตรงกัน  และ อำนวยความสะดวกการค้าสารเคมีระหว่างประเทศ โดยมีการระบุความเป็นอันตรายของสารเคมีภายใต้หลักเกณฑ์เดียวกัน

          โดยองค์ประกอบของฉลากตามระบบสากล GHS ได้แก่ 

1. รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย (Hazard pictogram) เป็นสัญลักษณ์สีดำบนพื้นขาวอยู่ภายในกรอบสีแดงรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีทั้งหมด  9 รูปสัญลักษณ์  เพื่อสื่อความหมายของความเป็นอันตรายในแต่ละด้าน และแต่ละประเภท 

2. คำสัญญาณ (Signal word) มี 2 คำสัญญาณ คือ “อันตราย” และ “ระวัง’’ 

3. ข้อความแสดงความเป็นอันตราย (Hazard statement) เป็นการอธิบายความเป็นอันตรายของสารเคมี เช่น ละอองลอยไวไฟ เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรง และทำลายดวงตาเป็นต้น 

4. ข้อความ และรูปสัญลักษณ์แสดงข้อควรระวัง (Precautionary statement and pictogram) ประกอบด้วยคำเตือน และข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตราย เก็บรักษา การกำจัด และจัดการเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน เช่น ใช้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก เก็บให้ห่างจากเด็ก ห้ามนำภาชนะกลับมาใช้อีก หากถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด    เป็นต้น

5. ตัวบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ (Product identifier) ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อสารเคมีที่เป็นสารสำคัญ หรือสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ และปริมาณความเข้มข้น

6. การระบุผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่าย (Supplier identification)  ต้องมีชื่อที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย หรือหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินบนฉลาก

7. ข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ (Supplementary information)

ที่มา

“Oryor Digital Library”

แหล่งรวบรวมข้อมูล และความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพจาก อย.

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่