ข้อควรระวังในขณะช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูด

ข้อควรระวังในขณะช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูด

ไฟฟ้านั้น ถึงแม้จะให้คุณประโยชน์มหาศาล แต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้เช่นกัน เพราะหากประมาท ขาดความระมัดระวัง ไฟฟ้าที่มีคุณอนันต์ ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของเราได้

ข้อควรระวังในขณะช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูด

1. อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ประสบภัยเด็ดขาด

2. รีบหาทางตัดกระแสไฟฟ้าโดยเร็ว

3. หากมีน้ำขัง ห้ามลงไปยืนในน้ำเด็ดขาด

4. ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้แห้ง เชือกแห้ง สายยาง พลาสติกแห้งสนิท เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวผู้ประสบภัย

5. สวมถุงมือยางหรือพันมือด้วยผ้าแห้งให้หนา ผลัก ดัน ฉุด ให้ผู้ประสบภัยหลุดออกมาโดยเร็ว

การช่วยเหลือเบื้องต้นโดยวิธีปฐมพยาบาล

1. หากหัวใจหยุดเต้นให้ใช้วิธีนวดหัวใจภายนอกด้วยเอามือ กดตรงหัวใจให้ยุบลงไป 3-4 เซนติเมตร เป็นจังหวะเท่าจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้ใหญ่วินาทีละ 1 ครั้ง เด็กเล็กวินาทีละ 2 ครั้ง นวด 10-15 ครั้งเอาหูแนบฟังครั้งหนึ่ง

2. หากไม่หายใจให้ใช้วิธีเป่าลมเข้าทางปากหรือจมูกของผู้ป่วยดังนี้

         การเป่าปาก จับผู้ป่วยนอนหงาย ใช้หัวแม่มือง้างปลายคางให้ผู้ป่วยให้ปากอ้าออก หากมีเศษอาหารหรือวัสดุใดๆให้ล้วงออกให้หมด แล้วจับศีรษะให้เงยหน้ามากๆ ประกบปากกับผู้ป่วยให้สนิทแล้วเป่าลมเข้าไปอย่างแรง จนปอดผู้ป่วยขยายออก แล้วปล่อยให้ลมหายใจของผู้ป่วยออกเอง แล้วเป่าอีกที ทำเช่นนี้เป็นจังหวะ เท่ากับจังหวะหายใจปกติ ผู้ใหญ่นาทีละ 12 ถึง 15 ครั้ง เด็กเล็กนาทีละ 20 ถึง 30 ครั้ง ถ้าเป่าปากไม่ได้ให้ปิดปากผู้ป่วยแล้วเปล่าเข้าทางจมูกแทน

         ถ้าผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นและไม่หายใจด้วย ให้นวดหัวใจสลับกับการเป่าปาก ถ้ามีผู้ช่วยเหลือเพียงคนเดียวก็ให้เป่าปาก 2 ครั้งสลับกับการนวดหัวใจ 15 ครั้ง ถ้ามีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ให้นวดหัวใจสลับกับการเป่าปาก เป่าปาก 1 ครั้งนวดหัวใจ 5 ครั้ง การปฐมพยาบาลช่วยให้ฟื้นนี้ ต้องรีบทำทันที หากช้าเกินกว่า 4-6 นาที โอกาสที่ฟื้นจะมีน้อย ขณะพาไปส่งแพทย์ก็ควรทำการปฐมพยาบาลไปด้วยตลอดเวลา

          ในการใช้ไฟฟ้า ขอให้ทุกคนคำนึงถึงความปลอดภัยและอย่าประมาทโดยเด็ดขาด ติดตั้งและแก้ไขระบบไฟฟ้าโดยผู้ที่มีชำนาญ ศึกษาการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม ตรวจเช็คอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพดีก่อนการใช้งาน เพราะพลาดเพียงครั้งเดียว อาจไม่มีโอกาสแก้ตัวเป็นครั้งที่ 2

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่