หญ้าเนเปียร์ วัตถุดิบสำหรับผลิตพลังงานทดแทน

หญ้าเนเปียร์ วัตถุดิบสำหรับผลิตพลังงานทดแทน

พลังงานชีวมวล ถือเป็นพลังงานแห่งอนาคตของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมโดยพื้นฐาน ดังนั้นวัตถุดิบด้านการเกษตรจึงมีอยู่มากมาย

หญ้าเนเปียร์เองก็จัดเป็นพืชพลังงานในกลุ่มเชื้อเพลิงชีวภาพมีโครงสร้างสารอาหารเหมาะต่อการเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดก๊าซ มีศักยภาพนำมาผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับผลิตไฟฟ้า

ย้อนไปในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการผลักดัน หญ้าเนเปียร์ เพื่อเป็นวัตดุดิบสำหรับผลิตพลังงานทดแทนเทียบเท่าประมาณ 10,000 MW เนื่องจากคุณสมบัติเฉพาะตัวที่โดดเด่น เพราะสามารถปลูกและให้ผลผลิตได้ในพื้นที่แห้งแล้ง หรือในดินเลวที่ไม่สามารถปลูกพืชไร่เศรษฐกิจชนิดอื่นๆ ได้ดี อย่างไรก็ตามธรรมชาติของหญ้าชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดีให้ได้ผลผลิตที่สูงเต็มศักยภาพในดินที่อุดมสมบูรณ์ และได้รับน้ำเพียงพอ

คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จึงได้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำการโซนนิ่งเพื่อนำร่องการปลูกหญ้าเนเปียร์ไว้ใน 3 พื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ พื้นที่แล้งน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่ปลูกข้าวได้ผลผลิตต่ำ เนื่องจากพื้นที่ดังมีลักษณะพื้นที่ค่อนข้างเสื่อมโทรมไม่เหมาะต่อการเพาะปลูกอาหารทั่วไป ซึ่งวิธีการปรับปรุงสภาพดินเหล่านี้ให้ดีขึ้นสามารถทำโดยการใช้ชุดเทคโนโลยีเพื่อจัดการเขตกรรม (Cultural practices) พื้นที่ทั้ง 3 แห่งอย่างเหมาะสม เนื่องจากวิธีการเขตกรรมเป็นวิธีที่เหมาะสมกับพืชในเขตร้อนที่ใช้เพิ่มผลผลิตและคุณภาพ ที่ เหมาะสมกับพันธุกรรมพืช สภาพแวดล้อม และเงื่อนไขของเกษตรกร ร่วมกับการจัดการน้ำ และวิธีการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมกับพันธุกรรมของพืช

ผศ.ดร.นรุณ วรามิตร

ซึ่งจากการศึกษาในโครงการวิจัย “การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพชีวมวลของหญ้าเนเปียร์เชิงพื้นที่เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า” ซึ่งมี ผศ.ดร.นรุณ วรามิตร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย พบว่า ผลการผลิตและการเจริญเติบโตของหญ้าเนเปียร์ในแต่ละพันธุ์จะตอบสนองต่อสภาพอากาศและดินที่ต่างกัน โดยมีปัจจัยหลักมาจากปริมาณของน้ำต่อปีที่เป็นน้ำฝนที่ถือเป็นปัจจัยหลักต่อผลผลิตของหญ้าเนเปียร์ทุกพันธุ์ ซึ่งจากผลวิจัยหญ้า 9 ชนิด นั่นคือ เกษตรศาสตร์ สุราษฎ์ มวกเหล็ก ยักษ์ ธรรมดา บาน่า ทิฟตัน ปากช่อง 11 และจักรพรรดิ ในพื้นที่นำร่อง 3 แห่ง พบว่า พันธุ์ธรรมดาและพันธุ์เกษตรศาสตร์ทนสภาพแห้งจัดได้ดีที่สุด ส่วนพันธุ์ปากช่อง 11 ทนสภาพดินน้ำขังได้ดีที่สุด โดยหญ้าที่ปลูกในพื้นที่เสื่อมโทรมนั้นควรเก็บเกี่ยวไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี

หากพิจารณาจากพื้นที่หารปลูกที่ทำการศึกษา พบว่า ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม พันธุ์จักพรรดิ พันธุ์บาน่า และพันธุ์ยักษ์ ให้ผลผลิตสูงสุด 16.279 กิโลกรัมน้ำหนักแห่ง/ไร่ ขณะที่พื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา และ จังหวัดกาญจนบุรี พันธุ์บาน่าให้ผลผลิตสูงสุด 11.099 และ 10.831 กิโลกรัมน้ำหนนักแห้ง/ไร่ ตามลำดับ

การปลูกหญ้าเนเปียร์ในพื้นที่ทำการศึกษาวิจัย

โดยแนวทางในการผลิตหญ้าเนเปียร์เพื่อผลิตพลังงานทดแทนทั้งในระดับชุมชนและอุตสาหกรรมให้ได้ผลผลิตตลอดปีในสภาพดินเสื่อมโทรม ควรมีการศึกษาการจัดการชลประทานและจัดการดินอย่างแม่นยำเหมาะสมต่อไป เพื่อใช้หญ้าเนเปียร์สำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าและพลังงานทดแทนของประเทศต่อไป

ปัจจุบัน กระทรวงพลังงาน ได้บรรจุโครงการผลิตไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ เอาไว้ในส่วนของไฟฟ้าที่มาจากก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) ลงในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หรือแผน AEDP2018 ที่มีการปรับปรุงใหม่ มีเป้าหมายให้โรงไฟฟ้าชุมชนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

ที่มา https://researchcafe.org/napier-grass-biogas-power/

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่