Top 5 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดูดเงินในกระเป๋าคุณ แบบร้องไห้หนักมาก

Top 5 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดูดเงินในกระเป๋าคุณ แบบร้องไห้หนักมาก

หลายๆท่าน ที่เห็น #บิลค่าไฟ ตอนสิ้นเดือน อาจจะร้องไห้หนักมากเนื่องจากเห็นตัวเลขที่สูงปรี๊ด เรามาดู #Top5#เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องสงสัย#ที่ดูดเงินในกระเป๋าอย่างไม่ปราณี กันเลยดีกว่า

1.เครื่องปรับอากาศเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟอันดับ 1 ภายในบ้านที่กินไฟเปลืองมาก และยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศ เครื่องปรับอากาศ 1 เครื่อง จะกินไฟ ประมาณ 680 – 3,330 วัตต์ บวกกับสภาพอากาศบ้านเราเป็นเมืองร้อน ทำให้บ้านหลายหลังต้องเปิดเครื่องปรับอากาศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำค่าไฟในบ้านเลยสูงปรี๊ดเลยทีเดียว

2.เครื่องทำน้ำอุ่น ถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราใช้งานไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน แต่มีอัตราการกินไฟสูงไม่ใช่เล่น เครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่อง กินไฟประมาณ 900 – 4,800 วัตต์ อัตราการกินไฟเยอะขนาดนี้ เรามากลั้นใจอาบน้ำเย็นกันดีกว่า

3.ตู้เย็น 2 – 12 คิว ตู้เย็น ขนาด 2 – 12 คิว จะกินไฟประมาณ 53 – 194 วัตต์ ถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟไม่มาก แต่เพราะเราเสียบปลั๊กตู้เย็นไว้ 24 ชั่วโมง จึงเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดูดเงินในกระเป๋าคุณออกไปมากจนแทบอยากร้องไห้

4. เครื่องซักผ้า เหตุผลที่คุณแม่บ้าน ต้องซักผ้าครั้งละมากๆ ก็เพราะ เครื่องซักผ้า 1 เครื่อง กินไฟประมาณ 250 – 2,000 วัตต์ หากซักผ้าน้อยชิ้น แต่ซักบ่อยๆ คุณแม่บ้านอาจจะกระเป๋าตังค์ฉีกไม่รู้ตัวนะ

5. เตารีด และก็เช่นเดียวกับการซักผ้าครั้งละมากๆ คุณแม่บ้าน ก็ควรจะรีดผ้าครั้งละมากๆด้วยเหมือนกัน เพราะเตารีด 1 เครื่อง จะกินไฟประมาณ 430 – 1,600 ทั้งนี้ เทคนิคการรีดผ้า การเลือกใช้อุณหภูมิให้เหมาะสมกับเนื้อผ้า ก็สามารรถช่วยคุณแม่บ้าน ประหยัดขึ้นได้นะคะ

#ERDI#มีวิธีคำนวณอัตราการกินไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบง่ายๆ มาฝาก เพื่อคุณจะได้รู้ว่าจะต้องเตรียมเงินค่าไฟให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านประมาณเท่าไหร่บ้านมีหลอดไฟจำนวน 100 วัตต์ 10 หลอด เท่ากับ 100 x 10 = 1,000 วัตต์ (1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง)ถ้าเปิดไฟทั้ง 10 ดวง นาน 2 ชั่วโมง เท่ากับ 1,000 x 2 = 2,000 วัตต์ (2 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง)ดังนั้น 2 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง = 2 ยูนิต หรือ 2 หน่วย ค่าไฟฟ้าหน่วยละประมาณ 4 บาท = 2 x 4 = 8 บาท

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่