CBG งานวิจัยเก่าแต่เก๋าเพื่อชุมชน สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน (#SDGs)

CBG งานวิจัยเก่าแต่เก๋าเพื่อชุมชน สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน (#SDGs)

งานวิจัยที่ดีต้องสามารถนำไปใช้ได้จริงเพื่อคนในชุมชนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG )หนึ่งในงานวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ งานวิจัยเพื่อชุมชนตลอดกว่า9ปีที่ผ่านมา สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (SDGs) ให้กับชุมชน

SDG13 ก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG ) แก้ปัญหาโลกร้อน

ก๊าซ CBG เกิดจาก การนำก๊าซชีวภาพจากฟาร์มปศุสัตว์ หรือโรงงานอุตสาหกรรม มาปรับปรุงคุณภาพ โดยการกำจัด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และความชื้นให้หมดไป ไม่ให้หลุดออกไปทำลายชั้นบรรยากาศ และจะเหลือแต่ก๊าซมีเทน (CH4) ที่มีคุณสมบัติให้ความร้อนสูง สามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ทดแทนก๊าซ NGV และก๊าซหุงต้ม (LPG) ในครัวเรือนได้ ซึ่งหากนำก๊าซ CBG มาใช้ในรถยนต์เครื่องดีเซล (รถกระบะทั่วไป) สามารถลดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ถึง 3.71 kgCO2eq./km และนำก๊าซ CBG มาใช้ในรถยนต์เครื่องเบนซิน (รถเก๋งทั่วไป) สามารถลดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ถึง 3.62 kgCO2eq./km

หมู่บ้านโรงวัว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เป็นหนึ่งตัวอย่างชุมชนที่ได้ใช้ CBG ทดแทนก๊าซหุงเลือก โดยมีสถานีผลิตและจ่ายก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) ตั้งอยู่ที่ บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับชุมชน โดยรสนับสนุนงบประมาณภายใต้ “โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานเพื่อทดแทนก๊าซปิโตรเลียมเหลวในเชิงพาณิชย์” กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน โดยใช้งานจริงมาตั้งแต่ปี 2557

SDG7 พลังงานสะอาดราคาถูก ทันสมัย ยั่งยืน เสถียร และราคาไม่แพงสำหรับคนในชุมชน

ก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซหุงต้ม (LPG) และนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างพอเพียง สร้างความยั่งยืนในชุมชน ลดการพึ่งพาการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศ

สถานีผลิตและจ่ายก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) ที่ บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด เป็นการนำก๊าซชีวภาพซึ่งเกิดจากมูลไก่ของฟาร์ม มาผ่านกระบวนการของเทคโนโลยี Water Scrubbing หรือแบบวิธีดูดซึมด้วยน้ำที่ความดัน 4 barg สามารถผลิต CBG ได้ถึง 420 กิโลกรัม/วัน หรือ 153,300 กิโลกรัม/ปี โดยมีราคาต้นทุน 12 บาทต่อกิโลกรัม สามารถมาทดแทนก๊าซหุงต้มได้ถึง 133,000 กิโลกรัม/ปี คิดเป็นมูลค่าถึง 3,308,000 บาท/ปี (คิดที่ราคา LPG 24.82 บาทต่อกิโลกรัม) และจากการทดสอบก๊าซ CBG พบว่ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับก๊าซ LPG สามารถใช้ทดแทนกันได้ ซึ่งปัจจุบันได้นำก๊าซชีวภาพไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์มได้ประมาณ 25,200 กิโลวัตต์/เดือน คิดเป็นมูลค่า 100,800 บาท และแจกจ่ายให้ชุมชนบ้านโรงวัวใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 82 ครัวเรือน


SDG11 การวางแผนของบริหารจัดการการเมืองและชุมชนอย่างมีส่วนร่วม บูรณาการและยั่งยืน

หมู่บ้านโรงวัวจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการบริหารจัดการสถานีผลิตและจ่ายก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG)

จากผลการดำเนินการดังกล่าว ชาวบ้านจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์จากก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) จึงร่วมกันดำเนินการสานต่อโครงการฯ ดังกล่าวต่อจากสถาบันฯ โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการบริหารจัดการสถานีผลิตและจ่ายก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) โดยเรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการจัดการบริหารทั้งกระบวนการ มีการกำหนดกฏระเบียบสำหรับผู้ใช้ก๊าซ มีทีมบริหารจัดการดูแลระบบ มีการจัดตั้งกองทุนบริหารก๊าซ CBG อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนับเป็นการก้าวสู่การเป็นชุมชนที่มีการจัดการ บริหารพลังงานทดแทนด้วยตนเองอย่างยั่งยืน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในสภาวะที่เศรษฐกิจยังไม่มั่นคงในขณะนี้ ทำให้ชาวบ้านมีพลังงานทดแทนที่สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใช้ นำร่องเป็นหมู่บ้านปลอด LPG แห่งแรกของประเทศไทย

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่