เชียงใหม่เฟรชมิลค์ฟาร์ม ต้นแบบGreen Farm

เชียงใหม่เฟรชมิลค์ฟาร์ม ต้นแบบGreen Farm

บริษัท เชียงใหม่เฟรชมิลค์ จำกัด ดำเนินธุรกิจเข้าสู่ปีที่ 30 ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม ส่งเสริมอาชีพของสมาชิกเกษตกร ผู้เลี้ยงโคนม รับซื้อน้ำนมดิบจากสมาชิกเกษตรกรภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ เป็นต้น เพื่อแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์นม อาทิ นมโรงเรียนยูเอชที  นมยูเอชทีชนิดจืดและปรุงแต่ง ตรามาย์ด้า  นมยูเอชที ชนิดจืดและ ชนิดปราศจากน้ำตาลแลคโตส ตรา CHIANGMAI FRESHMILK นมชนิดจืดและปรุงแต่งพาสเจอร์ไรส์ ตราเชียงใหม่เฟรชมิลค์ ผลิตภัณฑ์ไอศกรีม ครีมแท้ เนย และเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มและเบเกอรี่ในร้าน เป็นต้น

นอกจากการรับซื้อน้ำนมดิบจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวนมในภาคเหนือแล้ว ทางบริษัทมีฟาร์มโคนม บริษัทเชียงใหม่เฟรชมิลค์ฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ ตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน  โดย ฟาร์มเชียงใหม่เฟรชมิลค์ มุ่งมั่นพัฒนาไปสู่ระบบ Green Farm เปลี่ยนน้ำเสียและมูลสัตว์เป็นพลังงานทดแทน มีการจัดการฟาร์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ด้วยการนำมูลโคทั้งหมดภายในโรงเรือน ผลิตก๊าซชีวภาพ หรือ Biogas สู่ระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าและสามารถนำก๊าซไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบก๊าซไบโอเทนอัด หรือ compressed bio-methane gas (CBG) 

โดยระบบก๊าซชีวภาพ (เริ่มเดินระบบเมื่อวันที่ 26 เมษนายน 2553)  หรือ Biogas ได้จากมูลวัวภายในฟาร์มจำนวนประมาณ 3,500 ตัว ใช้เทคโนโลยี CMU-CD (Chiang Mai University Channel Digester) จำนวน 2 บ่อ ขนาด 4,000 ลบ.ม.สามารถผลิตก๊าซได้ประมาณวันละกว่า 2,000 ลูกบาศก์เมตร ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 2,550 กิโลวัตต์ชั่วโมง/วัน คิดเป็นเงิน 4.4 ล้านบาทต่อปี ช่วยลดคาร์บอนคิดเป็น39,581 tCO2/ปี  ส่วนกากตะกอนนำมาทำเป็นปุ๋ยอัดเม็ด

ทางฟาร์ม มีอาคารศูนย์สาธิตต้นแบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดสำหรับยานยนต์ เพื่อนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบก๊าซไบโอเทนอัด หรือ compressed bio-methane gas (CBG)  ด้วยวิธีดูดซึมด้วยน้ำ หรือเรียกว่า วอเตอร์ สครับบริ้ง (Water Scrubbing)กำลังการผลิต 20 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เทียบเท่าการผลิตก๊าซเอ็นจีวี หรือก๊าซซีเอ็นจี NGV/CNG จำนวน 16 ถังต่อวัน (15 กก.ต่อถัง) แทนก๊าซ NGV ได้ 200 กิโลกรัม/วัน โดยมีการเดินระบบท่อส่งก๊าซต่อเชื่อมจากบ่อระบบผลิตก๊าซชีวภาพซีเอ็มยู-ซีดี (CMU-CD) โดยก๊าซ CBG นำมาใช้กับรถไถที่ใช้งานในฟาร์ม ติดถังก๊าซขนาด 50 ลิตร จำนวน 1 คัน รถไถใช้งานได้ดี และช่วยลดค่าน้ำมันดีเซลที่ใช้ในฟาร์ม ได้มากถึงร้อยละ 50 ช่วยลดคาร์บอนคิดเป็น CBG = 94.68 tCO2/ปี

โดยการติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพและศูนย์สาธิตต้นแบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดสำหรับยานยนต์ ได้รับงบประมาณสนับสนุนส่วนหนึ่งจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ในช่วงปี 2550-2556 ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เชียงใหม่เฟรชมิลค์ฟาร์ม จึงถือเป็นต้นแบบGreen Farm ให้กับให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม นอกจากเป็นฟาร์มโคนมที่ผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพ แต่ยังสามารถนำของเสียภายในฟาร์มมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหามลพิษ และเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ ด้วยการลดต้นทุนจากการใช้พลังงานทดแทนอีกด้วย

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่