ลดฝุ่น PM2.5 กับสถานีอัดประจุไฟฟ้าพลังงานสะอาด(Charging Station)มช.

ลดฝุ่น PM2.5 กับสถานีอัดประจุไฟฟ้าพลังงานสะอาด(Charging Station)มช.

ฝุ่น PM2.5 ที่มาเยือนในช่วงฤดูหนาวยาวไปถึงต้นฤดูร้อนของทุกปี สาเหตุหนึ่งนอกจากการเผาเศษวัสดุกาเกษตร และการก่อสร้าง ก็คือ การใช้ยายนยนต์ที่ก่อให้มลพิษและฝุ่นควันสถานีอัดประจุไฟฟ้าพลังงานสะอาด(Charging Station)จากพลังงานโซลาร์เซลล์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นตัวเลือกหนึ่งของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากประหยัดแล้วยังช่วยลดฝุ่นควันอีกด้วย

สถานีอัดประจุไฟฟ้าสถานีอัดประจุไฟฟ้าพลังงานสะอาด(Charging Station)มช.ให้บริการผ่านบริการผ่านแอพลิเคชั่น EleXA ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต อัตราค่าบริการ6.50บาท/kWh

สถานีอัดประจุไฟฟ้าพลังงานสะอาด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Charging Station)ได้ถูกออกแบบและติดตั้งให้สามารถรองรับรองรับยานยนต์ได้ทั้งรถแบบ Hybrid ที่มีการใช้ไฟฟ้าร่วมกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน Plugin Hybrid (PHEV) และรถไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้า 100% (All Electric Car)

เครื่องอัดประจุไฟฟ้าเป็นแบบที่มีหลายหัวจ่ายไฟฟ้าในชุดเดียว โดยมีหัวอัดประจุดแบบ CHAdeMO, CCS Combo2 และ AC Type2 ซึ่งรองรับทั้งการอัดประจุดแบบปกติ (Normal Charge และ Quick Charge) เป็นไปตามมาตรฐานนานาชาติ รองรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ติดตั้งหัวจ่ายกระแสไฟฟ้าตามมาตรฐานยุโรปและญี่ปุ่น ใช้เวลาในการชาร์จแต่ละครั้งประมาณ 30-40 นาที สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 5 ที่นั่ง วิ่งได้ระยะทางมากกว่า 150 กิโลเมตรต่อครั้ง

ยานยนต์ไฟฟ้าลดฝุ่น PM2.5

ทำความรู้จักยานยนต์ไฟฟ้า 4 ประเภท - สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มช.

รถยนต์ไฟฟ้ามีหลายประเภท มีตั้งแต่รถ BEV (battery electric vehicles) ที่ไม่มีการปล่อยไอเสียเลยเนื่องจากเป็นการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และใช้พลังงานแบตเตอรี่ซึ่งมาจากการเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าอย่างเดียว ส่วนรถ PHEV (plug-in hybrid electric vehicles) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ 2 ระบบ คือ ทั้งเครื่องยนต์สันดาปภายใน (internal combustion engine : ICE) และมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนร่วมกัน สามารถเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าได้เหมือนรถ BEV

และอีกประเภทคือรถ HEV (hybrid electric vehicles) เป็นรถยนต์ใช้เครื่องยนต์สลับกับมอเตอร์ไฟฟ้าเช่นกัน แต่ไม่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้า ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 3 ประเภทนี้มีการปล่อยมลพิษน้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เพียงอย่างเดียว

หากเราใช้อัตราการปล่อยก๊าซ CO2 ซึ่งสามารถดูได้จาก ecosticker โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของรถยนต์แต่ละคัน เป็นตัววัดการปล่อยมลพิษจากไอเสีย (ecosticker ไม่ได้ระบุอัตราการเกิดฝุ่น) จะพบว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เพียงอย่างเดียวจะมีอัตราการปล่อยก๊าซ CO2 ที่ราว 100 กรัมต่อกิโลเมตร (g/km) สำหรับรถขนาดเล็ก (ecocar) และสูงได้ถึงราว 200 g/km สำหรับรถกระบะที่ใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งขึ้นอยู่กับมาตรฐานของเครื่องยนต์และน้ำมันที่ใช้เติม

ในขณะที่รถ BEV จะมีอัตราการปล่อยก๊าซ CO2 เป็นศูนย์ ส่วนรถ PHEV จะอยู่ที่ราว 50-60 g/km และรถ HEV จะอยู่ที่ราว 90-100 g/km

อย่างไรก็ดี ตัวเลขการปล่อยก๊าซ CO2 จากท่อไอเสียยังไม่ใช่มลพิษทั้งหมดของรถยนต์เหล่านี้ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งต้องรวมมลพิษทางอากาศจากการผลิตไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของ “ต้นทุน” ด้านมลพิษของการขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน

จากการศึกษาของคณะนักวิจัยจาก TDRI ในปี 2016 พบว่าอัตราการปล่อยก๊าซ CO2 เมื่อรวมการผลิตไฟฟ้าในการใช้รถ BEV จะอยู่ที่ประมาณ 100 g/km ใกล้เคียงกับรถขนาดเล็ก ecocar แต่ก็ยังต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ทั่วไปอยู่มาก แหล่งที่มาของไฟฟ้าจึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การลดมลพิษโดยการหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น

แผนการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2561-2580 (PDP 2018)

จากแผนการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2561-2580 (PDP 2018) ที่เพิ่งผ่านการเห็นชอบในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา การผลิตพลังงานไฟฟ้าในช่วง 20 ปีข้างหน้าจะลดการใช้ถ่านหินลงจาก 21% ในปัจจุบันเหลือประมาณ 12% แต่ก็ยังพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิง อาทิ ก๊าซธรรมชาติ/LNG และชีวมวลในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง

ดังนั้น ด้วยแผนพลังงานไฟฟ้าของประเทศในระยะ 20 ปีข้างหน้า แนวทางการลดมลพิษทางอากาศในเมืองโดยการหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ประโยชน์สูงสุด จำเป็นต้องเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าของไทย ให้ได้ปริมาณไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากปริมาณเชื้อเพลิงเท่าเดิม และปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีให้มีการปล่อยมลพิษจากเชื้อเพลิงเดิมให้น้อยลงกว่าในปัจจุบัน

นอกจากนี้ อีกปัจจัยที่ควรต้องนำมาพิจารณา คือ มลพิษที่เกิดจากการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเอง ซึ่งแม้ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องกังวลในขณะนี้รถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ยังมาจากการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก แต่หลายค่ายรถยนต์ก็มีแผนที่จะผลิตแบตเตอรี่ในประเทศในอนาคตตามแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตของรัฐบาล

ขอบคุณข้อมูลประกอบ จาก ประชาชาติธุรกิจ

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่