ขยะ(ที่ผ่านการคัดแยก)ถูกนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิง
ที่ “ศูนย์บริหารจัดการขยะชีวมวลแบบครบวงจร”มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรานำขยะที่ผ่านการคัดแยกมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงพลังงาน ด้วยกระบวนการเดินระบบและติดตามผล (operation & monitoring) การผลิตก๊าซชีวภาพจากชีวมวลเหลือใช้ของ เพื่อการผลิตไฟฟ้าและก๊าซไบโอมีเทนอัด
จับต้องได้ในเชิงปริมาณ
1) ขยะมูลฝอย และชีวมวลได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องไม่น้อยกว่าปีละ 3,300 ตัน
2) มูลสัตว์, เศษกิ่งไม้-ใบไม้ และเศษวัสดุชีวมวล ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องไม่น้อยกว่า 2,400 ตันต่อปี
3) ผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด เพื่อนำไปใช้ในระบบขนส่งมวลชนของมหาวิทยาลัยได้ 13,200 กก.ต่อปี
4) สามารถผลิตสารบำรุงดิน จากตะกอนชีวภาพได้ไม่น้อยกว่า 1,100 ตันต่อปี
วัดผลได้ในเชิงคุณภาพ
1) ปริมาณขยะมูลฝอยและชีวมวลภายในมหาวิทยาลัย ทั้งในอาคาร, และพื้นที่ส่วนกลาง ที่ได้รับการจัดการอย่างถูกสุขลักษณะและถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยไม่เหลือตกค้าง มากกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณขยะมูลฝอยและชีวมวลทั้งหมด
2) มีการบูรณการการจัดการชีวมวล ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน และมีกระบวนการจัดการในพื้นที่ส่วนกลาง อย่างมีส่วนร่วม โดยผู้รับบริการ/หน่วยงาน ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
3) ระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด มีประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด ที่กำลังการผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด 24 Nm3/hr หรือ 19.2 kg/hr (หรือ 460 kg/day เมื่อเดินระบบต่อเนื่อง 24 hr)