โครงการส่งเสริมและสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลไก่แกลบโดยใช้เทคโนโลยีการหมักย่อยแบบแห้ง (Dry-fermentation) เพื่อลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ

โครงการส่งเสริมและสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลไก่แกลบโดยใช้เทคโนโลยีการหมักย่อยแบบแห้ง (Dry-fermentation) เพื่อลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ

การเลี้ยงไก่เนื้อในประเทศไทยมักใช้แกลบเป็นวัสดุปูพื้น มีการประมาณการว่าจำนวนไก่เนื้อเหล่านี้ มีไม่น้อยกว่า 1,300 ล้านตัวต่อปี ทำให้เกิดมูลไก่แกลบราว 14.5 ล้านตันต่อปี โดยไม่มีวิธีการจัดการมูลไก่แกลบอย่างเหมาะสม สร้างปัญหาให้ผู้ประกอบการและความรำคาญให้กับชุมชน

สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน ส่วนหนึ่งแล้วสมทบกับการลงทุนของฟาร์มไก่ที่สมัครใจและผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของโครงการ ซึ่งได้แก่ ลาวัลย์ฟาร์มในตำบลห้วยทุ่ง อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมและสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลไก่แกลบโดยใช้เทคโนโลยีการหมักย่อยแบบแห้ง (Dry-fermentation) เพื่อลดการใช้น้ำ

ในกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ โดยติดตั้งชุดต้นแบบระบบผลิตก๊าซชีวภาพที่สามารถรองรับมูลไก่แกลบได้ประมาณวันละ 3 ตัน หรือ 162 ตันต่อรอบการหมัก (60 วัน) ที่ความชื้นร้อยละ 50 (มูลไก่แกลบที่ผ่านกระบวนการเตรียมวัสดุก่อนนำไปหมักมีความชื้นประมาณร้อยละ 50-70) เทียบเท่าปริมาณมูลไก่แกลบที่ความชื้นร้อยละ 10 ประมาณวันละ 1.86 ตัน หรือ 100.28 ตันต่อรอบการหมัก (มูลไก่แกลบที่ออกจากโรงเรือนมีความชื้นประมาณร้อยละ 10-15) ภายใต้การควบคุมอุณหภูมิของถังหมักไว้ที่ 33 องศาเซลเซียส

ระบบสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้วันละ 282.61 ลบ.ม. หรือไม่น้อยกว่า 15,779.35 ลบ.ม. ต่อรอบการหมักประกอบด้วยก๊าซมีเทน (CH4) ร้อยละ 61.44 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ร้อยละ 34.8 ก๊าซออกซิเจน (O2)ร้อยละ 0.1 และก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟด์(H2S) 31.5 ppm โดยก๊าซชีวภาพที่ได้จะนำไปผ่านชุดทำความสะอาดก่อนส่งไปผลิตไฟฟ้าด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 75 kW ที่มีอยู่ 1 ชุด ผลิตไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์มได้ประมาณ142,440 kWhต่อปีหรือ 12 toe ต่อปี ช่วยให้ฟาร์มลดค่าไฟฟ้าลงได้ประมาณ 497,400 บาทต่อปี

นอกจากนี้ยังนำก๊าซชีวภาพที่ได้ไปเผาซากไก่อีกด้วย ผลลัพธ์จากโครงการสร้างความพึงพอใจให้กับฟาร์มจนมีแผนที่จะติดตั้งอีกระบบในลาวัลย์ฟาร์มแห่งที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลสากเหล็ก อำเภอเดียวกันด้วยงบประมาณของตนเองโครงการนี้ไม่เพียงส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและใช้พลังงานทางเลือกแล้ว ยังเป็นแบบอย่างที่ดีในการบูรณาการศักยภาพที่มีอยู่ของแต่ละภาคส่วนประกอบด้วย กองทุนที่มีเงินสามารถอุดหนุนให้ได้ เจ้าของฟาร์มที่สมทบค่าก่อสร้างส่วนที่นอกเหนือจากการอุดหนุนและให้สถานที่ติดตั้งระบบสาธิต

และสุดท้ายคือสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพทางด้านเทคนิค วิชาการผลกระทบด้านเศรษฐกิจ-สังคม จากการดำเนินโครงการยังก่อให้เกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจ-สังคม

ดีขึ้น เนื่องจากเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางด้านธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ ลดต้นทุนในการผลิตและสามารถแก้ไขปัญหาการจัดการมูลไก่แกลบได้อย่างถูกวิธีประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ประกอบการและชุมชนลดปัญหาข้อขัดแย้ง เหตุพิพาท ระหว่างผู้ประกอบการและชุมชน

ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินโครงการยังไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ลดการปนเปื้อนของสิ่งปฏิกูลในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งเกิดการจัดการมูลไก่แกลบโดยไม่ถูกวิธีของเกษตรกร ช่วยลดการปล่อยก๊าซก๊าซเรือนกระจกซึ่งเกิดจากมูลไก่แกลบออกสู่ชั้นบรรยากาศ ลดปริมาณการใช้น้ำในกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่