พลังงานไฟฟ้าและพลังงานทดแทนจากขยะ
โรงไฟฟ้าจากขยะ ที่ไม่ต้องเผาเพื่อให้ได้พลังงานไฟฟ้า ด้วยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพแบบหมักแห้ง ของERDI-CMU ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ตามนโยบาย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดินหน้าสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำ ด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ที่มุ่งสร้างสังคมที่ยั่งยืนและเป็นสุข
โดยผลงานที่ผ่านมา สถาบันฯได้สนองนโยบายตามยุทธศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุก ภายในช่วงเวลา 5-10 ปี สถาบันฯได้รับมอบหมายให้ดูแล ออกแบบและบริหารการจัดการในส่วนของ ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร มช. เพื่อเป็นต้นแบบให้กับชุมชนในการผลิตไฟฟ้าและพลังงานทดแทนจากขยะ
ภายในศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร มช. สถาบันฯได้ออกแบบให้มีโรงงานคัดแยกขยะที่รับมาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่(โดยต้นทางนักศึกษา บุคลากรมีการคัดแยกประเภทขยะก่อนทิ้ง) โรงงานจะมีเครื่องจักรในการคัดแยก เพื่อเอาสารอินทรีย์ที่เรียกว่าเศษอาหารหรือขยะเปียก คัดแยกออกจากขยะแห้งให้ได้มากที่สุด เพื่อนำไปหมักเป็นก๊าซชีวภาพแปลงเป็นไฟฟ้า 4,550.22 TonCO2/ปี ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้และใช้ในศูนย์ชีวมวล 5,200 kWh/ปี และก๊าซชีวภาพยังแปลงเป็นก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) เพื่อใช้เติมรถตู้ขสมช. ที่วิ่งบริการรับส่งนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ในส่วนของขยะที่เหลือจากขยะอินทรีย์ เมื่อแห้งแล้วจะมีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์น้อยลง เป็นวัสดุที่สามารถเอาไปใช้รีไซเคิลนำไปประยุกต์ใช้เป็นวัสดุอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ได้ต่อไป ดังนั้น แทนที่จะเอาไปฝังรวมกันหรือไปเผารวมกัน แล้วสร้างมลพิษให้ภายนอก ทำให้ลดการเอาไปฝังกลบ ไปเผาข้างนอกได้ ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์
หากท่านสนใจเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าจากขยะ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพแบบหมักแห้ง ติดต่อสอบถามและขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ 053-942007 ต่อ 310-311 ERDI-CMU ยินดีให้บริการค่ะ