“สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่”
จากโซลาร์เซลล์ ก้าวสู่ CMU Smart City-Clean Energy ตอบโจทย์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด เดินหน้าสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำ ด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางการพัฒนาของโลกขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) เพื่อมุ่งสร้างสังคมที่ยั่งยืน
สถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) จากพลังงานโซลาร์เซลล์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ถูกออกแบบและติดตั้งให้สามารถรองรับรองรับยานยนต์ได้ทั้งรถแบบ Hybrid ที่มีการใช้ไฟฟ้าร่วมกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน Plugin Hybrid (PHEV) และรถไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้า 100% (All Electric Car)
เครื่องอัดประจุไฟฟ้าเป็นแบบที่มีหลายหัวจ่ายไฟฟ้าในชุดเดียว โดยมีหัวอัดประจุดแบบ CHAdeMO, CCS Combo2 และ AC Type2 ซึ่งรองรับทั้งการอัดประจุดแบบปกติ (Normal Charge และ Quick Charge) เป็นไปตามมาตรฐานนานาชาติ รองรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ติดตั้งหัวจ่ายกระแสไฟฟ้าตามมาตรฐานยุโรปและญี่ปุ่น ใช้เวลาในการชาร์จแต่ละครั้งประมาณ 30-40 นาที สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 5 ที่นั่ง วิ่งได้ระยะทางมากกว่า 150 กิโลเมตรต่อครั้ง ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึงร้อยละ 20 นับเป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานสีเขียวที่สำคัญ ที่จะช่วยผลักดันให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อยอดความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยการหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกการใช้พลังงาน ลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ก้าวสู่ CMU Smart City-Clean Energy มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ขอบคุณ : การสนับสนุนงบประมาณหลักในการดำเนินงานโครงการจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก บริษัท สากล เอนเนอยี่ จำกัด
#สถานีอัดประจุไฟฟ้าจากพลังงานโซลาร์เซลล์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#CMUSmartCityCleanEnergy
#ERDIที่นี่มีพลังงานสะอาด
#ERDICleanEnergy
#พลังงานทดแทน
#12ปีERDICMU
#สถานีชาร์จรถไฟฟ้าEV
#CMU #ChiangMaiUniversity #มช #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน #CMUSDGs
#พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ #AffordableAndCleanEnergy
#พลังงานทดแทน #พืชพลังงาน #พลังงานแสงอาทิตย์ #พลังงานจากขยะ #ชีวมวล #ก๊าซชีวภาพ #ขยะพลาสติก
#ไบโอแก๊ส #พลังงานสะอาด #โซล่าเซลล์ #ชีวมวล #หมอกควัน #PM2.5 #WastewaterManagementSolution #การประหยัดพลังงาน
#Biogas #CBG #Compressedbiomethanegas