วัน: 26 เมษายน 2021

พัฒนาการด้านมาตรฐาน        ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย

พัฒนาการด้านมาตรฐาน ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย

ประเทศไทยมีการใช้งานระบบเซลล์แสงอาทิตย์มาแล้วไม่น้อยกว่า 40 ปี ก่อนปี พ.ศ. 2548 ปริมาณติดตั้งใช้งานสะสมราว 6 เมกะวัตต์ แต่ปัจจุบันตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP2018) และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) (อ้างอิงข้อมูล สนพ.) กำหนดเป้าหมายปริมาณกำลังผลิตตามสัญญาสะสม 10 กิกะวัตต์ ในปี พ.ศ. 2580 ทั้งนี้กำลังผลิตติดตั้งสะสมราว 3 กิกะวัตต์ (ข้อมูล พพ. จนถึง พ.ศ.2561) ทิศทางเดียวกับทั่วโลกตามรายงานของ International Energy Agency (IEA-PVPS) ปริมาณการติดตั้งสะสมทั่วโลก 512.3 กิกะวัตต์ (ค.ศ.2018) เป็นสิ่งบ่งบอกถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย โดยรวมในช่วง 30 ปี มีการใช้งานเพิ่มขึ้นกว่า 1.6 พันเท่า ทั้งนี้ห่วงโซ่อุตสาหกรรมระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทยก็มีพัฒนาการไปตามการเติบโตของตลาด ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเซลล์หรือแผงเซลล์แสงอาทิตย์ งานวิศวกรรมการออกแบบติดตั้งและการบำรุงรักษา การตลาดและด้านการเงินการลงทุน ต้องมีการปรับตัวทั้งด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจ เพื่อให้ทันและรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

Read More
ทำไมแสงอาทิตย์ ถึงเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้

ทำไมแสงอาทิตย์ ถึงเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้

เซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง โซลาร์เซลล์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ ซึ่งดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยไฟฟ้าที่ได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง

Read More

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่