CBG (Compressed Bio-Methan Gas) ก๊าซฮีโร่เพื่อภาคขนส่ง

CBG (Compressed Bio-Methan Gas) ก๊าซฮีโร่เพื่อภาคขนส่ง

เทคโนโลยีใหม่ที่สามารถนำก๊าซชีวภาพมาใช้ทดแทนก๊าซ NGV ในภาคขนส่ง โดยต้องนำก๊าซชีวภาพมาปรับปรุงคุณภาพโดยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และความชื้นออกจนมีปริมาณก๊าซมีเทน (CH4) ที่ใกล้เคียงกับก๊าซ NGV หรือ CNG ที่ใช้กับยานยนต์ จากนั้นนำมาอัดลงถังที่แรงดัน 200 บาร์เกจ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ หรือที่เรียกว่า CBG (Compressed Bio-Methane Gas) นั่นเอง

ต้นกำเนิดของ CBG ของไทยนั้นสืบเนื่องมาจากปัญหาต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติ(NGV)สำหรับยานยนต์ ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลแนวท่อนั้นมีราคาสูง รวมถึงปัญหาการขาดแคลนก๊าซ NGV ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน แต่ความต้องการใช้ก๊าซ NGV ในพื้นที่กลับสูงขึ้น ทำให้กระทรวงพลังงานต้องดำเนินนโยบายสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยมอบให้สำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) สนับสนุนโดยจัดตั้งงบประมาณมอบให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ในการทำวิจัยการผลิตไบโอมีเทน (Bio-Methane) โดยในปี 2553 ได้ทำการวิจัยการผลิตไบโอมีเทน ด้วยวิธีดูดซึมด้วยน้ำ หรือ วอเตอร์สครับบริ้ง(Water Scrubbing)  เป็นผลสำเร็จ โดยมีกำลังการผลิต 20 ลบ.ม. ต่อชั่วโมง เทียบเท่ากับการผลิตก๊าซ NGV จำนวน 16 ถัง ต่อวัน (ถังละ 15 กก.) และในปี 2555 ได้ทำการวิจัยกับบริษัทที่เลี้ยงโคนมในจังหวัดลำพูนโดยนำก๊าซชีวภาพที่ได้จากมูลโค จำนวน 3500 ตัว มาผลิตเป็น CBG เพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ และได้มีการทดสอบใช้งานจากรถยนต์จริง โดยทำการทดสอบกับรถเครื่องยนต์เบนซินขนาด 2,400 CC ที่เดิมใช้ NGV เป็นเชื้อเพลง พบว่า ระบบสามารถทำงานได้ปกติ และเครื่องยนต์เดินเรียบเมื่อเร่งความเร็ว โดยในปัจจุบัน 2556 ได้จัดสร้างอาคารศูนย์สาธิต ต้นแบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดสำหรับยานยนต์ ณ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยสามารถผลิตก๊าซได้ประมาณวันละ 1,700-2,000 ลบ.ม.

ปัจจุบันในต่างประเทศ เช่น ประเทศสวีเดนได้มีนโยบายสนับสนุนการใช้ก๊าซ CBG ประกอบด้วยการจัดทำมาตรฐานก๊าซชีวภาพสำหรับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ CBG ,การยกเว้นค่าจอดและค่าผ่านทางสำหรับรถที่ใช้ก๊าซ CBG จัดช่องทางพิเศษสำหรับรถแท็กซี่ที่ใช้ก๊าซ CBG,  ลดภาษีให้กับรถยนต์ขนส่งเชิงพาณิชย์ที่ใช้ก๊าซ CBG สนับสนุนเงินลงทุนสำหรับเจ้าของรถที่ต้องการดัดแปลงรถของตนเพื่อมาใช้ก๊าซ CBG และลดภาษี 40% 1สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการสนับสนุนให้พนักงานหันมาใช้ก๊าซ CBG แทน NGV ได้ โดยประเทศสวีเดนประสบความสำเร็จในการใช้ก๊าซ CBG ในภาคขนส่ง โดยมีสถานีบริการก๊าซ CBG สำหรับประชาชน และมีรถยนต์ที่ใช้ CBG แล้วมากกว่า 8,000 คัน

ก๊าซ CBG สามารถผลิตได้ในทุกที่ที่มีก๊าซชีวภาพ ผลิตได้เองในประเทศและเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่มีวันหมด เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนก๊าซ NGV จึงนับว่าเป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพที่หากในประเทศไทยเองได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและได้รับความสนใจจากประชาชนก๊าซ CBG จะเป็น “ฮีโร่” ในการช่วยแก้ไขวิกฤติการพลังงานได้อย่างแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูล

1. กระทรวงพลังงาน

2. สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)

3. สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4. http://www.dailynews.co.th

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่