‘คอนกรีตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์’

‘คอนกรีตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์’

‘คอนกรีตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์’ นวัตกรรมช่วยลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


ประเทศไทยมี ‘ขยะอิเล็กทรอนิกส์’ มากถึง 4 แสนตัน/ปี ส่วนหนึงรอคอยการกำจัด และส่งออกซากอิเล็กทรอนิกส์บางส่วนออกไปกำจัดในต่างประเทศ ซึ่งล่าสุด นักวิจัยไทย รศ.ดร.บุรฉัตร ฉัตรวีระ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ประสบความสำเร็จในการนำ ‘ขยะอิเล็กทรอนิกส์’ มาผลิตเป็น ‘คอนกรีตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์’ ที่ตอบโจทย์ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ ลด ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และลดฝุ่นละอองอย่างได้ผล
โดยนวัตกรรม ‘คอนกรีตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์’ เกิดจากการขยะเหลือใช้ แผงวงจรไฟฟ้าในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีองค์ประกอบของ ทองแดง เงิน ดีบุก ตะกั่ว เหล็ก ไฟเบอร์กลาส และพลาสติก มาบดย่อยเป็นผงลามิเนต แล้วผสมกับปูนซีเมนต์สัดส่วน 1 : 1 แล้วขึ้นรูปเป็นคอนกรีตตาม ทำให้ได้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา กันความร้อนได้ดี โดยสามารถทำรูปทรงได้หลากหลาย ตั้งแต่วัสดุก่อสร้าง เช่น บล็อกผนัง บล็อกทางเดิน เซรามิก แผ่นพื้น ไปจนถึงวัสดุอย่าง โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ แจกัน เป็นต้น และเตรียมต่อยอดไปใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีต้นทุนที่ต่ำกว่า หรือใกล้เคียงกับราคาอิฐมวลเบาที่มีขายอยู่ในท้องตลาด เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริโภค
ดังนั้น แนวคิดการสร้างนวัตกรรม “คอนกรีตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์” นับว่าเป็นความหวังในการจัดการกับปริมาณแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เหลือทิ้งจำนวนมากที่มาจากภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม โดยนำมาใช้เป็นส่วนผสมของคอนกรีตรูปแบบใหม่ ที่ช่วยลดสัดส่วนของปูนซีเมนต์ที่ได้จากการระเบิดภูเขาหินปูน ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาฝุ่นละอองและทำลายระบบนิเวศ
ข้อมูล : salika

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่