‘ถุงพลาสติกจากมันสำปะหลัง’

‘ถุงพลาสติกจากมันสำปะหลัง’

‘ถุงพลาสติกจากมันสำปะหลัง’ ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ลดปัญหาขยะพลาสติก


ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เผยว่า ได้มีการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาผลิตเป็นถุงพลาสติกเพื่อให้ย่อยสลายได้ง่าย ลดปัญหาขยะพลาสติก เอ็มเทค สวทช.ร่วมกับบริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด และสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBiA) ศึกษาวิจัยการผลิต ด้วยการนำ ‘แป้งมันสำปะหลัง’ มาทำเป็น ‘ถุงพลาสติกชีวภาพ’ ที่ย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ในดิน


โดยขั้นตอนการผลิตถุงพลาสติกชีวภาพนื้ ใช้แป้งมันสำปะหลังในสภาพที่เป็นผลึก ทำให้สุกด้วยน้ำและความร้อน แล้วนำมาผสมกับพลาสติกชีวภาพชนิด PBAT และ PLA ปริมาณ 50% ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความเหนียว และสามารถย่อยสลายด้วยอินทรียวัตถุ เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดมาหลอมให้เข้ากันด้วยความร้อนนวดให้เข้ากันจากนั้นเข้ากระบวนการดึงฟิล์มขึ้นรูปทำถุงพลาสติก ซึ่งในขณะนี้มีการผลิตออกมา 2 ขนาด เป็นถุงหน้ากว้าง 18 นิ้ว หนา 35 ไมครอน ทดสอบรับน้ำหนักทรายได้ 10 กก. และขนาด 30 นิ้ว หนา 60 ไมครอน สำหรับสวมถังขนาดใหญ่ รับน้ำหนักได้ 15-20 กก.


และหากทิ้งถุงพลาสติกชีวภาพจากมันสำปะหลังนี้ไว้ในสภาพอากาศทั่วไป ตามโคนไม้จะสามารถย่อยสลายได้ภายใน 4 เดือน แต่หากอยู่ในพื้นที่อุณหภูมิสูงอย่างบ่อกักเก็บขยะที่มีขยะหนาแน่น ถุงดังกล่าวจะกลายเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ การย่อยสลายจะเร็วขึ้นเหลือเวลาแค่ 2 เดือน แตกต่างจากถุงพลาสติกย่อยสลายได้ทั่วไป ที่มักพบว่า ป่น กรอบ กลายเป็นพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ ถือเป็นการช่วยไม่ให้ก่อเกิดมลพิษหรือสารตกค้างเหมือนถุงพลาสติกทั่วไป


ข้อมูล : thairath

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่