4 ก๊าซพิษแฝงตัวอยู่ในหมอกควัน

4 ก๊าซพิษแฝงตัวอยู่ในหมอกควัน

การรายงานคุณภาพอากาศด้วยดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) นั้นจะต้องทำการวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 PM2.5 และค่าก๊าซพิษ NO2 SO2 O3 และ CO

เพราะก๊าซพิษ 4 ชนิดนี้ เป็นก๊าซพิษหลักที่แฝงตัวอยู่ในหมอกควันเข้ามาทำร้ายสุขภาพร่างกายของเรา วันนี้มารู้จักแหล่งที่มา กลไกการก่อโรค และผลข้างเคียงกันนะคะ


1.ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen Dioxide,NO2)

  • ลักษณะทางกายภาพ
                  เป็นแก๊สสีน้ำตาลแดง มีกลิ่นเหม็นฉุน
  • คุณสมบัติก่อมะเร็ง
                  ACGIH Carcinogenicity: A4
                  IARC: N/A (ไม่ได้ทำการประเมิน)
  • ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม
                  EPA NAAQS: 53 ppb (Annual), 100 ppb (1 hour)
  • แหล่งที่มา
                  เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ภาวะอุณหภูมิสูง (1000 องศาเซลเซียส) และมีออกซิเจนเพียงพอ
                  โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอุตสาหกรรมแยกหรือแปรรูปก๊าซธรรมชาติถลุงแร่ ปูนซีเมนต โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน เป็นต้น
  • กลไกการก่อโรค 
                  เมื่อหายใจนำไนโตรเจนไดออกไซด์เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะทำปฏิกิริยากับน้ำในทางเดินหายใจและปอด ได้เป็นกรดไนตริก (HNO3) และกรดไนตรัส (HNO2) และเกิดอนุมูลอิสระ ส่งผลทำลายเซลล์ปอด ทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจ เกิดภาวะหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ (pneumonitis)
                  ไนโตรเจนไดออกไซด์ยังมีความสามารถในการจับกับฮีโมโกลบิน ได้ดีกว่าคาร์บอนมอนอกไซด์หลายพันเท่า เมื่อเข้าสู่กระแสโลหิตจะถูกเปลี่ยนเป็นเมทฮีโมโกลบิน (methemoglobin ) ไนไตรต์ (nitrite ) และไนเตรต (nitrate ) ซึ่งขัดขวางการขนส่งออกซิเจนไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • อาการทางคลินิก
                  อาการเฉียบพลัน: ถ้าปริมาณปนเปื้อนในอากาศน้อย จะทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบนเพียงเล็กน้อย ส่วนในกรณีที่ปริมาณปนเปื้อนในอากาศมาก จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบน คือ แสบจมูก ไอ เจ็บคอ และมีอาการแสบตาร่วมด้วยได้
                  อาการสำคัญที่ต้องระวัง: การระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนล่าง เกิดหลังจากหายใจนำสารนี้เข้าไปแล้วประมาณ 24 ชั่วโมง ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)  และร่างกายขาดออกซิเจนรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ถ้ารักษาภาวะปอดบวมน้ำจนดีขึ้น อาจเกิดภาวะหลอดลมฝอยอุดกั้น (Bronchiolitis obliteran) จากการอักเสบเรื้อรังจนผังผืดในหลอดลมฝอย
                   อาการเรื้อรัง: ก่อให้เกิดโรคหอบหืด พังผืดในเนื้อปอด และถุงลมโป่งพองได้

2.ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide,SO2)

  • ลักษณะทางกายภาพ
                  แก๊สไม่มีสี มีกลิ่นแสบฉุน
  • คุณสมบัติก่อมะเร็ง
                  IARC = Group 3 (ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์หรือไม่)
                  ACGIH Carcinogenicity = A4 (ไม่สามารถจัดกลุ่มว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้)
  • ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม 
                  EPA NAAQS: Primary standard = 0.03 ppm (annual arithmetic mean), 0.14 ppm (24-hour), Secondary standard = 0.5 ppm (1,300 ug/m3) (3-hour)
  • แหล่งที่มา
                  อุตสาหกรรมฟอกสีหนังและขนสัตว์ ฆ่าเชื้อโรคในการถนอมอาหาร หมักเบียร์และไวน์ อุตสาหกรรมไม้ โลหะหนัก และการทำแบตเตอรี่ลิเทียม
  • กลไกการก่อโรค 
                  ออกฤทธิ์ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ และเกิดเป็นเนื้อเยื่อพังผืดของปอด ในการรับสัมผัสเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานทำให้เกิด ภาวะหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรังได้
  • อาการทางคลินิก
                  อาการเฉียบพลัน: เข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ หากได้รับเข้าไปปริมาณเล็กน้อยจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบหายใจ มีอาการไอมาก อาจมีภาวะปอดบวมน้ำตามมาได้ และออกฤทธิ์ระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ โดยเฉพาะดวงตา
                  อาการเรื้อรัง: ทำให้การดมกลิ่นเสียไป และทำลายหลอดลมและเนื้อเยื่อปอด เกิดภาวะหลอดลมอักเสบและปอดอักเสบเรื้อรัง

3.โอโซน (Ozone,O3)

  • ลักษณะทางกายภาพ
                  แก๊สสีฟ้าอ่อน มีกลิ่นคล้ายคลอรีน

  • คุณสมบัติก่อมะเร็ง
                  IARC Group: N/A
                  ACGIH Carcinogenicity: N/A
  • ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม
                  EPA NAAQS: Primary and secondary standard levels to 0.070 parts per million (ppm)
  • แหล่งที่มา
                  เกิดจากการทำปฎิกิริยาเคมีในบรรยากาศระหว่างสารมลพิษทางอากาศเช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ และสารอินทรีย์ระเหยง่าย โดยมีแสงแดดเป็นแหล่งพลังงาน
  • กลไกการก่อโรค
                  ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจหดตัว หายใจลำบาก และหายใจมีเสียงดังจากหลอดลมตีบ เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มปอด ปอดติดเชื้อได้ง่าย และหากได้รับการสัมผัสต่อเนื่องและยาวนานจะทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองได้
  • อาการทางคลินิก
                  อาการเฉียบพลัน: เข้าสู่ทางกายทางการหายใจ ทำให้เกิดการระคายเคืองคอ เจ็บคอ และไอมาก ในเด็กเล็กส่งผลให้พัฒนาการปอดผิดปกติ กระตุ้นการเกิดภาวะหอบหืดเฉียบพลัน หลอดลมอักเสบ และถุงลมโป่งพอง
                  อาการเรื้อรัง: เกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง และอาจทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

4.คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide,CO)

  • ลักษณะทางกายภาพ
                  แก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น

  • คุณสมบัติก่อมะเร็ง
                  IARC Group: N/A (ไม่ได้ทำการประเมิน)
                  ACGIH Carcinogenicity: N/A (ไม่ได้ทำการประเมิน)
  • ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม
                  EPA NAAQS: 9 ppm (8 hours), 35 ppm (1 hour)
  • แหล่งที่พบในธรรมชาติ
                  ควันบุหรี่ และควันไฟไหม้ป่าที่เกิดจากการเผาไหม้สารอินทรีย์อย่างไม่สมบูรณ์
                  อุตสาหกรรมที่สังเคราะห์ทางอินทรีย์ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
                  ควันรถยนต์ รถจักรยานยนต์เครื่องยนต์และเครื่องจักรที่เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
  • กลไกการก่อโรค
                  คาร์บอนมอนอกไซด์จะจับกับสารที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงที่มีชื่อว่า Hemoglobin (Hb) ทำให้เกิดสารประกอบ Carboxyhemoglobin

                      คาร์บอนมอนอกไซด์สามารถจับกับ Hemoglobin ได้ดีกว่า Oxygen 200 – 300 เท่า) ซึ่งจะมีผลทำให้การนำพา Oxygen ไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายลดลง

  • อาการทางคลินิก
                 อาการเฉียบพลัน: หากได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์จากการหายใจในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ กระสับกระส่าย สับสน การมองเห็นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว และมีการหายใจที่เร็วขึ้น กรณีได้รับเป็นปริมาณมากๆ จะทำให้เกิดภาวะหมดสติ ชัก ภาวะช็อก กดการหายใจรวมทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะสมองบวม และอาจเสียชีวิตได้ ถ้าหากไม่เสียชีวิตหลังจากที่ได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ปริมาณมากๆ แล้วก็มักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบประสาทตามมา เช่น ภาวะหลงลืม (dementia) จิตเภท การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ภาวะอารมณ์ผิดปกติ บุคลิกภาพที่เปลี่ยนไป
                 อาการเรื้อรัง: การได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณต่ำๆ เป็นระยะเวลานานจะทำให้มีอาการอาเจียน ถ่ายเหลว ปวดท้อง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ใจสั่นได้ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง แยกได้ยากจากภาวะอาหารเป็นพิษหรือการติดเชื้อไวรัส

Cr. www.holismedicare.com

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่