การใช้น้อย/ใช้ซ้ำ(ที่ฉลาด)เป็นหัวใจสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อม
เดนมาร์กใช้วิธีศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อนที่ตัดสินใจ เพื่อเลือกใช้ถุงชนิดที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
รายงานของกระทรวงสิ่งแวดล้อมและอาหารแห่งเดนมาร์ก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 ชื่อ” Life Cycle Assessment of grocery bags” ได้รายงานการศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเลือกใช้ถุงชนิดต่างๆที่มีใช้กันในซุปเปอร์มาร์เก๊ต 8 ชนิดคือ ถุงที่ผลิตจาก LDPE (ลักษณะเหมือนถุงกัอปแก้ปของไทยที่ส่วนใหญ่ผลิตจากพลาสติกชนิด HDPE) ถุงสปันบอนด์/ ถุงPPสาน(ถุงปุ๋ย) /ถุงรีไซเคิลจากขวดPET /ถุงจากไบโอพลาสติก/ ถุงกระดาษ /และถุงผ้าcotton
ผลการศึกษาพบว่าถุงพลาสติกที่ผลิตจากพลาสติก LDPE สร้างคาร์บอนไดออกไซด์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Climate Change)น้อยกว่าการผลิตถุงชนิดอื่นๆมากแบบมีนัยยะสำคัญ แม้ว่าถุงLDPE จะถูกนำมาใช้ซ้ำเพียงครั้งเดียวด้วยการเอามาใส่ขยะและส่งไปกำจัดด้วยการเผาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า
ขณะที่ถุงชนิดอื่นๆแม้จะใช้ซ้ำได้หลายสิบครั้ง แต่เมื่อรวบรวมกับผลกระทบด้านอื่นๆด้วยเช่นผลกระทบต่อการทำลายชั้นโอโซน การใช้ทรัพยากรอื่นๆ การใช้น้ำ การใช้ทรัพยากรจากฟอสซิล ฯลฯ(ตามมาตรฐานยุโรปอีก 14 ประเภท) การใช้ถุง LDPE ยังเป็นทางเลือกที่ฉลาดที่สุด เพราะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นในรายงานยังทำการเปรียบเทียบจำนวนการใช้ซ้ำที่เหมาะสมสำหรับถุงชนิดต่างๆเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่ากับการใช้ถุง LDPE ซ้ำ 1 ครั้ง เช่นถุงสปันบอนด์ต้องใช้ซ้ำให้ได้ 52 ครั้ง ถุงกระดาษ 43 ครั้ง ถุงไบโอพลาสติก 42 ครั้ง
ที่มา:กระทรวงสิ่งแวดล้อมและอาหารประเทศเดนมาร์ก (Ministry of Environment and Food of Denmark)