มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แบบ Quick Charge ที่แรกในจังหวัดเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แบบ Quick Charge ที่แรกในจังหวัดเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แบบ Quick Charge ที่แรกในจังหวัดเชียงใหม่ หวังก้าวสู่มหาวิทยาลัยอัจฉริยะและพลังงานสะอาด

วันนี้ (2 ส.ค.61) เวลา 10.30 น. ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย พลอากาศเอกอำพล อิ่มบัว ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพอากาศและประธานกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ และ ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเปิดสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า จากพลังงานโซลาร์เซลล์แบบ Quick Charge แห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่ ตามโครงการจัดสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณหลักจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกองทัพอากาศ ในฐานะ Partner โครงการ CMU Smart City / RTAF Smart Wing ซึ่งได้จัดให้มีพิธีบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ระหว่างกองทัพอากาศ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกด้วย

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญด้านการบริหารจัดการระบบกายภาพและสิ่งแวดล้อม คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการจราจรและขนส่งมวลชน ด้วยการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในมหาวิทยาลัย ครอบคลุมถึงระบบรถไฟฟ้าและการพัฒนาสถานีรถไฟฟ้า โดยมีนโยบายในการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง ด้วยการจัดบริการรถไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ จำนวน 60 คัน คันละ 12 ที่นั่ง ออกวิ่งรับผู้โดยสาร วนรอบมหาวิทยาลัยทั้งหมด 5 สาย ทุกวันไม่เว้นวันหยุด คิดเป็นระยะทาง 6,660 กิโลเมตรต่อวัน หรือ 2,023,400 กิโลเมตรต่อปี รองรับผู้โดยสารได้จำนวนสูงสุด 16,700 ต่อวัน หรือ 5,097,024 คนต่อปี จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศได้มากถึง 3,034 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อวัน หรือ 601,500 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทำให้เห็นถึงความสำคัญในการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในรถยนต์ และหันมาให้ความสำคัญการเลือกใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น โดยการจัดสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ยานยนต์ไฟฟ้า และส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแทนรถยนต์แบบเดิมที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลง ซึ่งจะนำไปสู่การบริหารจัดการที่ดีและพัฒนาสู่ความเป็นสากลตามยุทธศาสตร์ Green and Clean; Sustainability University มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม CMU Smart City-Clean Energy มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ด้าน ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มตื่นตัวและมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) จากพลังงานโซลาร์เซลล์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ถูกออกแบบและติดตั้งให้สามารถรองรับรองรับยานยนต์ได้ทั้งรถแบบ Hybrid ที่มีการใช้ไฟฟ้าร่วมกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน และรถไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้า 100% โดยมีหัวอัดประจุดแบบปกติ (Normal Charge และ Quick Charge) เป็นไปตามมาตรฐานนานาชาติ รองรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ติดตั้งหัวจ่ายกระแสไฟฟ้าตามมาตรฐานยุโรปและญี่ปุ่น ใช้เวลาในการชาร์จแต่ละครั้งประมาณ 30 – 40 นาที ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าที่นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 5 ที่นั่ง จะวิ่งได้ระยะทางมากกว่า 150 กิโลเมตรต่อครั้ง นับเป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานสีเขียวที่สำคัญ ที่จะช่วยผลักดันให้ต่อยอดความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยการหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกการใช้พลังงาน ลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ก้าวสู่ CMU Smart City-Clean Energy มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เรื่องที่น่าสนใจ

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.พะเยา ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร มช.

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.พะเยา ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร มช.

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เยี่ยมชมระบบบริหารจัดการชีวมวลครบวงจร

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เยี่ยมชมระบบบริหารจัดการชีวมวลครบวงจร

คณะดูงานจากสาขาวิชาวิทยาศาตร์สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และThompson Rivers Unversity ประเทศแคนาดา ศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะดูงานจากสาขาวิชาวิทยาศาตร์สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และThompson Rivers Unversity ประเทศแคนาดา ศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.)และเจ้าหน้าที่กองทุน ศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.)และเจ้าหน้าที่กองทุน ศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่