“Solar Home” หรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) บนหลังคาบ้านพักอาศัย

“Solar Home” หรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) บนหลังคาบ้านพักอาศัย

เนื่องจากปัจจุบันมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น จึงควรต้องมีพลังงานทดแทน (Renewable Energy) เข้ามาเสริม อีกทั้งประเทศไทยมีศักยภาพของพลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่มีอย่างไม่จำกัด (ค่าอ้างอิง ชั่วโมงการรับแสงอาทิตย์ต่อวัน (ค่าเฉลี่ย) 5.0 ชั่วโมง/วัน อ้างอิงข้อมูลจากค่าความเข้มแสงเฉลี่ยของประเทศไทย)  รวมถึงช่วยลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการผลิตไฟฟ้าด้วยรูปแบบอื่นด้วย เช่น การผลิตไฟฟ้าจากน้ำมัน หรือถ่านหิน และการลงทุนในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่สามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าในอนาคต และลดค่าไฟฟ้าในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (On-Peak) จึงเป็นที่มาของโครงการ “Solar Home” หรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) บนหลังคาบ้านพักอาศัย โดยรูปที่ 1 แสดงหลักการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) โดยคร่าวๆ

รูปที่ 1 หลักการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop)
รูปที่ 1 หลักการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop)

โดยทั่วไปจะเป็นระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อกับระบบจำหน่าย (PV Grid connected system)  เป็นระบบที่ถูกออกแบบสำหรับผลิตไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าโดยตรง โดยระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะเริ่มต้นทำงานเมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบที่แผงเซลล์แสงอาทิตย์ และเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากนั้นพลังงานไฟฟ้าจะถูกส่งต่อผ่านสายไฟฟ้ากระแสตรง (PV Cable) ไปยังอุปกรณ์แปลงกำลังไฟฟ้า (Inverter) เพื่อทำการแปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แล้วจะถูกส่งผ่านสายไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Cable) มายังตู้ไฟฟ้าหลักของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (MDB) ซึ่งทำหน้าที่เป็นชุดตัดต่อวงจรระหว่างระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กับวงจรไฟฟ้าของสถานที่ติดตั้ง

รูปที่ 2 ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย (PV Grid connected system)

            สำหรับระบบ “Solar Home” หรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) บนหลังคาบ้านพักอาศัย ที่มีขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า 5-10 กิโลวัตต์ คิดเป็นจำนวนเงินที่ประหยัดได้ต่อปี 30,000-70,000 บาท/ปี (ผลการคำนวณขึ้นอยู่กับลักษณะพฤติกรรมการใช้พลังงานของแต่ละอาคารและขึ้นกับแสงแดดในแต่ละฤดูกาล) มีความคุ้มค่าแก่การลงทุน คืนทุนได้ภายใน 6-7 ปี โดยมีตัวอย่างการติดตั้งที่บ้านพักสวัสดิการทหาร ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

รูปที่ 3 งานติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ณ บ้านพักสวัสดิการทหาร จังหวัดเชียงใหม่
รูปที่ 4 งานติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ณ บ้านพักสวัสดิการทหาร จังหวัดเชียงใหม่
รูปที่ 4 งานติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ณ บ้านพักสวัสดิการทหาร จังหวัดเชียงใหม่

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีข้อดีมากมาย แต่การผลิตไฟฟ้าโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ก็อาจจะมีความไม่แน่นอนที่ปริมาณแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอต่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk) และความเสี่ยงจากการดำเนินการ (Operation Risks) ดังนั้น จึงต้องทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อนการตัดสินใจลงทุน เพื่อสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนหรือการลงทุนให้มีความเหมาะสมต่อไป

รวมถึงการบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคต เนื่องด้วยภาคเหนือเป็นพื้นที่ที่ก่อให้เกิดฝุ่นจำนวนมาก ซึ่งฝุ่นส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ แผงเซลล์แสงอาทิตย์โดยทั่วไปจะมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 20 ปี แต่หากอยากให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทำงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยควรสังเกตสิ่งสกปรกบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ การดูแลแผงจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการอยู่เสมอ โดยควรล้างทำความสะอาดแผงอย่างน้อย ปีละ 2-3 ครั้ง เพื่อกำจัดฝุ่นผง ขี้นกหรือวัสดุอื่นๆ ซึ่งมาลดทอนแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบตัวแผง ทำให้ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้น้อยลงเกือบ 20 เปอร์เซนต์

บทความ โดย นางสาวพรทิพย์ กันธิยาถา ตำแหน่ง วิศวกร ผู้ดูแลระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรื่องที่น่าสนใจ

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

รู้ไว้ไม่เสียหาย เมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้หลอด LED

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

การลดการใช้พลังงาน ช่วยลดคาร์บอนได้อย่างไร

กิจกรรมลดคาร์บอน

กิจกรรมลดคาร์บอน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่