ไบโอดีเซลจากกากไขมันในบ่อดักไขมัน  ณ ศูนย์บริหารจัดการขยะชีวมวลแบบครบวงจร  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ไบโอดีเซลจากกากไขมันในบ่อดักไขมัน ณ ศูนย์บริหารจัดการขยะชีวมวลแบบครบวงจร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จากการเพิ่มจำนวนนักศึกษาในแต่ละปีที่มากขึ้น ประกอบกับความจำเป็นของไขมันและน้ำมันในการประกอบอาหารของร้านค้าภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่งผลให้เกิดของเสียจำพวกกากไขมันที่เป็นขยะหรือของเสียเหลือทิ้ง มักถูกชะล้างละลายออกมาปนเปื้อนอยู่กับน้ำเสีย หรือลอยอยู่ในน้ำทิ้ง โดยในปัจจุบันทางหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการของเสียเหล่านี้ ได้มีมาตรการให้ร้านอาหารทุกที่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะต้องมีบ่อดักไขมันก่อนปล่อยน้ำทิ้งสู่สิ่งแวดล้อม  

วิจัยสังคม1

เนื่องจากอาจปนเปื้อนสู่ดินและแหล่งน้ำผิวดิน ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียตามมาได้ รวมทั้งกากไขมันที่ได้จากบ่อดักไขมัน หากไม่จัดการอย่างถูกหลักสุขาภิบาล อาจเป็นแหล่งก่อโรคที่สำคัญได้ ปัญหาที่พบในปัจจุบันของการจัดการกากไขมันซึ่งมีปริมาณวันละ 200 กิโลกรัม คือ รถเทศบาลไม่รับขนส่งไปยังหลุมฝังกลบ หากรับจะคิดค่าใช้จ่ายในการขนส่งค่อนข้างสูง จากการศึกษางานวิจัยต่างๆ ในการนำของเสียประเภทนี้มาใช้ประโยชน์ สามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ การผลิตเป็นของใช้ทั่วไปในครัวเรือน เช่น เทียนไข สบู่ล้างมือ เป็นต้น การแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ การแปรรูปเป็นปุ๋ย และการแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน โดยนำกากไขมันมาผลิตเป็นน้ำมันชีวภาพภายใต้สภาวะความดันและอุณหภูมิสูง พบว่ามีค่าความร้อน 32,551.33 กิโลจูลต่อกิโลกรัม โดยมีค่าใกล้เคียงกับน้ำมันเบนซิน ด้วยลักษณะสมบัติของกากไขมันที่มีโมเลกุลประกอบด้วยสารอินทรีย์โซ่ยาว มีปริมาณคาร์บอนสูง จึงมีนักวิจัยสนใจนำมาย่อยสลายด้วยกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ เพื่อเพิ่มปริมาณก๊าซมีเทน ได้ถึง 178% และ 317%  

แนวทางหรือรูปแบบการจัดการกากไขมันด้วยการผลิตไบโอดีเซล 

แนวทางการจัดการกากไขมันด้วยการผลิตไบโอดีเซล โดยทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสียค่ากำจัดกากไขมันแบบเหมาจ่ายเป็นรายปี ให้ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มช. โดยตรง โดยให้ทางสถาบันวิจัยฯ ดำเนินการเก็บและขนส่งวัตถุดิบเอง ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะต้องเตรียมกากไขมันไว้ ณ จุดเก็บ เพื่อนำกากไขมันแต่ละวันมาเตรียมวัตถุดิบสำหรับผลิตไบโอดีเซล ซึ่งไบโอดีเซลที่ผลิตได้ทางสถาบันฯ จะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มากที่สุด 

รูปแนวทางการจัดการกากไขมันด้วยการผลิตไบโอดีเซล 

ขั้นตอนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากกากไขมัน 

ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากกากไขมัน จะมีขั้นตอนในการผลิตอยู่หลายขั้นตอนเพื่อให้ได้น้ำมันไบโอดีเซลที่คุณภาพดีเทียบเท่าน้ำมันดีเซล ในการนี้เราจะใช้วัตถุดิบจากกากไขมัน มาเป็นวัตถุดิบในการทำน้ำมันไบโอดีเซล จะมีขั้นตอนในการทำอยู่  8 ขั้นตอนดังนี้ 

  1. ขั้นตอนการเตรียมน้ำมันจากกากไขมัน ในการรวบรวมกากไขมันจากบ่อดักไขมันแหล่งต่างๆนำมากรองเศษอาหารที่ติดมากับกากไขมัน พักให้เกิดการแยกชั้นระหว่างกากไขมันกับน้ำ ทำการตักเฉพาะกากไขมันที่ลอยอยู่ด้านหน้าโดยการกรองจากตะแกรงเพื่อแยกเศษอาหารที่ติดมาด้วย เพื่อให้ได้กากไขมันที่สะอาดพอที่จะนำมาทำเป็นน้ำมันไบโอดีเซลได้ 
  1. ขั้นตอนการต้มไล่น้ำออกจากกากไขมัน เมื่อเรากรองเศษอาหารออกจากกากไขมัน ในขั้นตอนนี้เราจะใช้วิธีการต้มให้ความร้อนเพื่อให้น้ำละเหยแยกออกจากกากไขมันจนหมด สังเกตได้จากไอน้ำที่ระเหยออกจากกากไขมัน 
  1. ขั้นตอนการปรับสภาพกากไขมันก่อนทำปฏิกิริยา ขั้นตอนนี้เป็นการใช้สารเคมี (เมทานอล+กรดซัลฟูลิก) ในการปรับสภาพโมเลกุลที่แตกต่างกัน เพื่อให้พร้อมที่จะทำปฏิกิริยาในขั้นตอนต่อไป  
  1. ขั้นตอนการทำปฏิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น  ขั้นตอนนี้สำคัญมากซึ่งจะใช้สารเคมี (เมทานอล+โปรตัสเชียมไฮดอกไซย์) ในการทำปฏิกิริยาเพื่อให้เกิดไบโอดีเซลและกลีเซอรีน 
  1. ขั้นตอนการแยกกลีเซอรีน ในขั้นตอนนี้ก็จะใช้แสงไปส่องดูว่ามีการแยกชั้นของไบโอดีเซลกับกลีเซอรีนสังเกตดูกลีเซอรีนจะมีสีดำข้นๆเหนียวๆ ไบโอดีเซลจะออกสีเหลืองใส่ 
  1. ขั้นตอนการล้างน้ำ ในขั้นตอนนี้เราจะใช้น้ำในการล้างสารเคมีที่ตกค้างจาการทำปฏิกริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น  และล้างส่วนผสมที่ติดมากับน้ำมัน เช่น ซอส ซิอิ้ว ฯลฯ ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้สามารถละลายไปกับน้ำได้ 
  1. ขั้นตอนการไล่ความซื้นออกจากไบโอดีเซล ในขั้นตอนนี้เราใช้ลม ไล่ความซื่นหลังจากเราล้างไบโอดีเซลด้วยน้ำแล้ว ในขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลาในการไล่ความซื่นนาน 
  1. ขั้นตอนการกรองไบโอดีเซลก่อนการนำไปใช้งาน ขั้นตอนนี้จะใช้ผ้ากรองขนาดรู 1ไมคอล เพื่อกรองสิ่งสกปรกที่ติดมากับไบโอดีเซล 

การนำไบโอดีเซลไปใช้งาน 

  1. เครื่องยนต์ดีเซลรอบต่ำ เครื่องยนต์ดีเซลทางการเกษตร สามารถใช้ไบโอดีเซล ทดแทนน้ำมันดีเซลได้ โดยการผสมในอัตราส่วน เริ่มต้นได้ตั้งแต่ 5 เปอร์เซนต์ ถึงทดแทนน้ำมันดีเซลได้ 100 เปอร์เซนต์ ตามการใช้งานของเครื่องยนต์ 
  1. สามารถทดแทนกับเครื่องจักรที่ใช้น้ำมันดีเซลได้ 100 เปอร์เซนต์ เช่นหม้อต้มไอน้ำ เตาเผาต่างๆ 

เรื่องที่น่าสนใจ

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.พะเยา ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร มช.

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.พะเยา ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร มช.

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เยี่ยมชมระบบบริหารจัดการชีวมวลครบวงจร

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เยี่ยมชมระบบบริหารจัดการชีวมวลครบวงจร

คณะดูงานจากสาขาวิชาวิทยาศาตร์สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และThompson Rivers Unversity ประเทศแคนาดา ศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะดูงานจากสาขาวิชาวิทยาศาตร์สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และThompson Rivers Unversity ประเทศแคนาดา ศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.)และเจ้าหน้าที่กองทุน ศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.)และเจ้าหน้าที่กองทุน ศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่