ERDI CMU พัฒนาระบบติดตามการทำงานและโปรแกรมการทำนายพฤติกรรมระบบก๊าซชีวภาพอัจฉริยะแบบ Real time

ERDI CMU พัฒนาระบบติดตามการทำงานและโปรแกรมการทำนายพฤติกรรมระบบก๊าซชีวภาพอัจฉริยะแบบ Real time

โครงการพัฒนาระบบติดตามการทำงานและโปรแกรมการทำนายพฤติกรรมของระบบก๊าซชีวภาพอัจฉริยะแบบ Real Time เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเสถียรภาพของระบบก๊าซชีวภาพ ได้มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการติดตามการทำงานของระบบก๊าซชีวภาพให้มีความสะดวก รวดเร็ว เหมาะสมและเพิ่มเสถียรภาพของระบบก๊าซชีวภาพ

โดยการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามและตรวจสอบระบบก๊าซชีวภาพ ได้แก่ พีเอช ความดัน อุณหภูมิของก๊าซชีวภาพ และORP โดยอุปกรณ์ ORP นั้นจะใช้แทนการติดตามคำของกรดไขมันระเหยโดยอ้อม จากนั้นนำข้อมูลจากการติดตามการทำงานของระบบก๊าซชีวกาพในรูปแบบ Real Time Monitoring มาใช้ในการทำนายพฤติกรรมของระบบก๊าซชีวภาพเพื่อจะได้ทราบถึงประสิทธิภาพและความเสถียรของระบบก๊าซชีวภาพ พร้อมทั้งมีการแจ้งเตือนปัญหาของระบบก๊าซชีวภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยเป็นการแจ้งเตือนผ่านทางแอปพลิเคชัน (Application) แบบออนไลน์ (Online)ให้กับผู้ดูแลระบบ เพื่อให้สามารถประเมิน ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาต่างๆ ของระบบก๊าซชีวภาพได้ทันท่วงที ส่งผลให้ปริมาณก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มีความเสถียร (หรือสามารถลดความผันผวนของปริมาณก๊าซชีวภาพได้เมื่อเทียบกับระบบก๊าซชีวภาพแบบดั้งเดิม (ไม่มีการติดตั้งชุดติดตามการทำงานของระบบก๊าซชีวภาพ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดโครงการฯ โดยสามารถต่อเชื่อมเข้ากับระบบโครงการใช้พลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ในการรวบรวมข้อมูลการผลิต และใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อการบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าสำหรับเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในการจัดการด้านพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ที่มีความสามารถในการตรวจวัดและจัดการการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ส่งเสริมรูปแบบการผลิตไฟฟ้าจากผู้บริโภค (Consumer) และสามารถบริหารจัดการเพื่อตอบสนองความต้องการไฟฟ้า(Demand Respond) โดยระบบยังสามารถใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีเก็บสะสมพลังงาน (Energy Storage) ส่งผลให้การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพในโครงง่ายไฟฟ้าอัจฉริยะมีความมั่นคงและมีความเสถียร สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเทคโนโลยีสำหรับรองรับการขายไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพในรูปแบบ Hybrid Firm/Semi Firm ได้ จึงเป็นการสร้างความมั่งคงด้านพลังงานของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติ ที่มีเป้าหมายให้เกิดความมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

นอกจากนี้สามารถนำข้อมูลเทคนิคที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนาต่อยอดเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Arti-ficial Intelligence: AI)  สำหรับการทำนายการผลิตไฟฟ้าในโครงข่ายอัจฉริยะจากพลังงานทดแทนด้วยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพของประเทศไทยตามเวลาจริงได้

ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ:

มีการพัฒนาโปรแกรมการตรวจติดตามและการทำนายพฤติกรรมการทำงานของระบบก๊าซชีวภาพ พร้อมทั้งระบบแจ้งเตือนปัญหาของระบบก๊าซชีวภาพแบบทันท่วงทีในรูปแบบของแอปพลิเคชัน (Application) IUU Real time เพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบก๊าซชีวภาพ โดยระบบมีคำนวณความผิดพลาดในการทำนายในช่วงร้อยละ 1.60-2.65 อีกทั้งผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินของการเปรียบเทียบในกรณีมีการพัฒนาระบบติดตามการทำงานและโปรแกรมการทำนายพฤติกรรมของระบบผลิตก๊าซชีวภาพอัจฉริยะแบบ Real time ในการเพิ่มประสิทธิภาพและเสถียรภาพของระบบก๊าซชีวภาพ พบว่า สามารถช่วยลดความผันผวนของปริมาณก๊าซชีวภาพได้ โดยมีระยะเวลาคืนทุนระหว่าง 2.34ปี ถึง 0.45 ปี ที่ระดับความผันผวนของระบบก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้แบบไม่ติดตั้งชุดติดตามการทำงานเท่ากับร้อยละ 1-5ตามลำดับ และมีคำอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อตันทุนมากกว่า 1 ดังนั้น การติดตั้งชุดติดตามการทำงานของระบบก๊าซชีวภาพจึงมีความคุ้มค่าทางการเงิน นอกจากนั้น น้ำเสียจากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง 1 ลบ.ม. เมื่อนำไปผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ จะสามารถช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 0.28 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

นักวิจัยดำเนินงานโครงการ

นางสาวพิชยา สวยสม

หัวหน้าฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมและทีมงาน

เรื่องที่น่าสนใจ

ERDI-CMU พัฒนา”ระบบจัดการลิเธียมแบตเตอรีเพื่อการบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้า สำหรับภาคครัวเรือน และอุตสาหกรรม ลดการปล่อยก๊าคาร์บอน8.6 เมตริกตันต่อปี

ERDI-CMU พัฒนา”ระบบจัดการลิเธียมแบตเตอรีเพื่อการบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้า สำหรับภาคครัวเรือน และอุตสาหกรรม ลดการปล่อยก๊าคาร์บอน8.6 เมตริกตันต่อปี

การพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานรีดอกซ์แบตเตอรี่  by ERDI CMU

การพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานรีดอกซ์แบตเตอรี่ by ERDI CMU

มช.ผลิต“เครื่องทำน้ำแข็งอัจริยะ”  ขนาด 500 กิโลกรัม/วัน

มช.ผลิต“เครื่องทำน้ำแข็งอัจริยะ” ขนาด 500 กิโลกรัม/วัน

การประยุกต์ใช้เทคนิคการห่อหุ้มเซลล์จุลินทรีย์เพื่อการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพเป็นพลังงานทดแทน

การประยุกต์ใช้เทคนิคการห่อหุ้มเซลล์จุลินทรีย์เพื่อการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพเป็นพลังงานทดแทน

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่