อนาคตพลังงาน & พลังงานหมุนเวียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อนาคตพลังงาน & พลังงานหมุนเวียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความต้องการใช้ไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะโตในอัตรา 3.7% ต่อปี คิดเป็นสองเท่าของค่าเฉลี่ยโลกในช่วงปี 2559-2583 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ความเป็นชุมชนเมือง รายได้ที่เพิ่มขึ้นและการเข้าถึงไฟฟ้าที่ดียิ่งขึ้น เป็นที่คาดการณ์ว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศลาวจะเติบโตสูงสุดที่17% ต่อปีในช่วงปี 2557-2568 ตามมาด้วยอินโดนีเซียและกัมพูชาที่ 11% และเพื่อตอบสนองกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น คาดว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มมากกว่าสองเท่าจาก 241 จิกะวัตต์ ในปี 2559 เป็น 566 จิกะวัตต์ ในปี 2583

ภาพรวมพลังงานฟอสซิล
พลังงานแบบเดิมจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจะยังเป็นแหล่งพลังงานหลักอยู่ แม้ว่าสัดส่วนการใช้จะลดลงจาก 77% ในปี 2559 เป็น 63% ในปี 2583 การผลิตพลังงานจากถ่านหินจะยังคงเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าจากเดิม 66 จิกะวัตต์ ในปี 2559 เป็น 160 จิกะวัตต์ ในปี 2583 เนื่องจากเป็นแหล่งเชื้องเพลิงที่มีราคาต่ำ อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่ใช้ระบบ Supercritical และระบบ Ultra Super Critical จะมีสัดส่วนอยู่ที่ ~70% ของกำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ทั้งหมดเพื่อที่จะสามารถเข้ามาแทนที่โรงไฟฟ้าถ่านหินเดิมประมาณครึ่งหนึ่งของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ทั้งหมดในปี 2583

ภาพรวมพลังงานหมุนเวียน
พลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วนอยู่ที่ 24% ของกำลังการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2561 ซึ่งในสัดส่วนดังกล่าวประกอบด้วยพลังงานจากน้ำและส่วนมากจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนอยู่ที่ 74% ทั้งนี้ พลังงานหมุนเวียนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 37% ของกำลังการผลิตทั้งหมดในปี 2583 ซึ่งเป็นผลมาจากความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนที่ถูกกว่าและมีนโยบายสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน

แม้ว่าพลังงานน้ำจะเพิ่มขึ้น >150% ในช่วงปี 2559-2583 แต่น้ำก็จะยังคงเป็นพลังงานหลักของกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนพลังงานน้ำจะลดลงจาก 74% ในปี 2559 เหลือแค่ 50% ในปี 2583 เนื่องจากพลังงานลมและเซลล์แสงอาทิตย์จะมีความต้องการสูงขึ้น 14% และ 11% ต่อปีตามลำดับ ส่งผลให้เซลล์แสงอาทิตย์มีสัดส่วนอยู่ที่ 25% ของกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั้งหมดในปี 2583 จากเดิมอยู่ที่ 7% ในปี 2561 ซึ่งเป็นผลมาจากการสนับสนุนจากนโยบายของรัฐและต้นทุนการลงทุนธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ที่ถูกลง ทำให้เราสามารถเห็นกำไรและโอกาสในการลงทุนได้

เรื่องที่น่าสนใจ

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.พะเยา ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร มช.

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.พะเยา ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร มช.

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เยี่ยมชมระบบบริหารจัดการชีวมวลครบวงจร

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เยี่ยมชมระบบบริหารจัดการชีวมวลครบวงจร

คณะดูงานจากสาขาวิชาวิทยาศาตร์สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และThompson Rivers Unversity ประเทศแคนาดา ศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะดูงานจากสาขาวิชาวิทยาศาตร์สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และThompson Rivers Unversity ประเทศแคนาดา ศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.)และเจ้าหน้าที่กองทุน ศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.)และเจ้าหน้าที่กองทุน ศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่